November 17, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

JNA Awards พบปะนักออกแบบเครื่องประดับชาวไทย

JNA Awards พบปะนักออกแบบเครื่องประดับชาวไทยในกรุงเทพฯ ร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมงานนี้

ฮ่องกง : JNA Awards งานประกาศรางวัลอันทรงเกียรติของผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลก ที่จัดขึ้นเป็นประจำที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้มานำเสนอและประชาสัมพันธ์การจัดงานเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมของสมาชิกอุตสาหกรรมอัญมณีไทยและเครื่องประดับให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการประชาสัมพันธ์งานครั้งนี้ได้ร่วมมือกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ จึงมีนักออกแบบเครื่องประดับจากประเทศไทยเข้าร่วมเกือบ 30 คน ซึ่งทุกคนได้รับข้อมูลและความเข้าใจในเชิงลึกถึงประโยชน์หลักของการเข้าร่วม JNA Awards

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ เนื่องจากใช้ความประณีตและหัตถศิลป์แบบดั้งเดิมในการผลิต ซึ่งสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาทางการค้า

ดังนั้น เพื่อให้บริษัทและบุคคลทั่วไปสนใจเข้าร่วมงานประกาศรางวัลอันทรงเกียรติมากขึ้น ทาง JNA Awards จึงได้มีการจัดงานนำเสนอและประชาสัมพันธ์ครั้งนี้

ดร.บุญกิต จิตรงามปลั่ง (ภาพปกคนที่ 2 จากขวา) นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า "สมาคมฯ ยินดีที่ได้มาร่วมงาน JNA Awards การได้รับรางวัล JNA Awards ถือเป็นเกียรติสำหรับผู้ประกอบการนานาชาติ ทางสมาคมฯ มั่นใจว่าผู้ประกอบการชาวไทยจะใช้บรรทัดฐานนี้ในการพัฒนาศักยภาพต่อไป"

Kent Wong กรรมการผู้จัดการบริษัท Chow Tai Fook Jewellery Group และ Kenneth Scarratt ประธานบริหารบริษัท DANAT ตัวแทนพันธมิตรหลักของ JNA Awards ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ถึงประโยชน์ที่เคยได้รับหลังเข้าร่วมงาน JNA Awards และกล่าวถึง JNA Awards ว่าจะทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐานสำหรับองค์กรผู้นำทางการค้าระดับโลกได้อย่างไร

James Courage อดีตประธานบริหารของ Platinum Guild International และ Albert Cheng ที่ปรึกษาจาก World Gold Councilประจำภูมิภาคตะวันออก ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ในการตัดสินรางวัลตลอดเจ็ดปีที่ผ่านมา และเคล็ดลับการเตรียมตัวเป็นผู้เข้าแข่งขันที่น่าประทับใจ

Li Chongjie (คนขวา)

ตัวแทนจากประเทศไทยที่เคยได้รับรางวัล JNA Awards ได้แก่ Li Chongjie (ภาพปกคนขวาสุด) ประธานบริหารบริษัท China Stone Co Ltd และนายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานบริษัท Pranda Jewelry Public Co Ltd – PRANDA Group ได้เข้าร่วมแบ่งปันถึงประโยชน์และความเข้าใจในเชิงลึก

นายปรีดา เตียสุวรรณ์ (ภาพปกคนซ้ายสุด) กล่าวว่า "ช่างฝีมือและผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยนั้น มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก การเข้าร่วมJNA Awards จะเป็นโอกาสให้เราได้แสดงถึงศักยภาพ และประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับนั้นจะทำให้ธุรกิจมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น"

Li กล่าวว่าการเข้าร่วม JNA Awards ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมและช่วยให้ไทยมีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางเครื่องประดับและอัญมณีในระดับโลกมากขึ้น "เช่นเดียวกับ JNA Awards เราใช้ประโยชน์หลักของนวัตกรรมและความเป็นเลิศในทางปฏิบัติ เราภูมิใจที่ได้รางวัลติดต่อกันสี่ปีในห้าสาขา เราได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยได้รับในฐานะประเทศผู้นำทางการค้า"

Chow กล่าวเสริมว่า "เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นพันธมิตรกับสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และได้สร้างสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดที่มีบทบาทสำคัญในการค้าระดับโลก งานหัตถศิลป์ไทยอยู่อันดับต้นๆ ของโลก นักออกแบบเครื่องประดับชาวไทยทั้งสร้างสรรค์และช่วยให้อุตสาหกรรมขับเคลื่อนไป"

JNA Awards งานประกาศรางวัลอันทรงเกียรติ จัดขึ้นเป็นครั้งที่แปดในปี พ.ศ. 2562 โดยบริษัท UBM Asia

โดยงานในปี พ.ศ. 2562 นี้ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลัก Chow Tai Fook, Shanghai Diamond Exchange และ DANATที่ร่วมมือกับพันธมิตรกิตติมศักดิ์ KGK Group, Shanghai Gems and Jade Exchange และ Guangdong Land Holdings Limited

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 27 February 2019 17:30
จิราพร เดชปัญญา

Author : เกาะติดและเขียนข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร ต่างประเทศ สุขภาพ เครื่องสำอาง แฟชั่น เครื่องประดับ จิวเวลรี่ สินค้าและอุปกรณ์ประเภทของใช้ในครัวเรือน ฯลฯ

Latest from จิราพร เดชปัญญา

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM