November 19, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

SUPER เดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง ก้าวสู่เป้าหมายกำลังการผลิต 2,500 เมกะวัตต์ในปี 67

บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER  เดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง เตรียมเข้าร่วมประมูลหลายโครงการ PDP พร้อมชูแผนขยายโรงไฟฟ้าเต็มพิกัด รวมถึงหาโอกาสลงทุนใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เสริมโรงงานไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ในพอร์ตทั้งพลังงานแสงอาทิตย์-ลมและขยะ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม สู่เป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าแตะระดับ 2,000-2,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567

นายจอมทรัพย์  โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SUPER เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมลงทุนอย่างเนื่อง โดยเตรียมเข้าร่วมประมูลหลายโครงการ อาทิ โครงการ PDP ของไทย ซึ่งจะเปิดให้ประมูลขนาดกว่า 5,203 เมกะวัตต์ ทั้งโครงการพลังงานลม.โซลาร์เซลล์,ก๊าซชีวภาพ และคาดว่าจะมีโอกาสได้รับงานแน่นอนจากการดำเนินงานด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ซึ่งล่าสุด บจก.หนองคายน่าอยู่ ซึ่งเป็นบริษัทฯย่อย ได้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้วจำนวน 6 เมกะวัตต์ ซึ่งจะสนับสนุนการดำเนินและผลประกอบการของบริษัทฯให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยบริษัทฯได้เดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าและเร่งหาโอกาสการลงทุนใหม่ เพื่อผลักดันรายได้และกำไร ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าแตะระดับ 2,000-2,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567

ฟาร์มกังหันลมแห่งแรกของ SUPER มีขนาด 50 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่จังหวัด Gia Lai ประเทศเวียดนาม เสร็จสมบูรณ์แล้วหลังจาการดําเนินงานมาเป็นปี

ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าของบริษัทอยู่ที่ 1,652 เมกะวัตต์ จึงมีแผนขยายโรงไฟฟ้าเต็มพิกัด รวมถึงหาโอกาสลงทุนใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เสริมโรงงานไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่ในพอร์ตทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ลมและขยะ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ทั้งนี้แผนการลงทุนเพิ่มของบริษัทฯ อยู่ระหว่างการรอประกาศแผนพัฒนาพลังงานฉบับใหม่ของไทยและเวียดนาม โดยกำลังการผลิตต่างประเทศของบริษัทฯ เน้นที่เวียดนาม เนื่องจากประเทศเวียดนามจะเปิดประมูลพลังงานลมอีก 2,000 เมกะวัตต์ ในอีก 5 ปีข้างหน้า เป็นตลาดพลังงานที่บริษัทฯมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว อีกทั้งบริษัทฯมีฐานธุรกิจและมีพนักงานประจำอยู่แล้วกว่า 200 คน จึงยังคงเน้นกำลังการผลิตในส่วนนี้ต่อไป

โดยบริษัทฯได้เดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าและเร่งหาโอกาสการลงทุนใหม่ เพื่อผลักดันรายได้และกำไร ควบคู่ไปกับการบรรลุเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าแตะระดับ 2,000-2,500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567

สำหรับโครงการพลังงานลมดังกล่าวเป็นไปตามแผนพัฒนาแห่งชาติเวียดนามฉบับที่ 8 (Power Development Plan VIII – PDP8) โดยพลังงานลม 20,000 เมกกะวัตต์จะติดตั้งและขายไฟในประเทศเวียดนามและคาดว่าในปี 2566 จะเห็นภาพชัดเจนถึงจำนวนกำลังการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้เงินลงทุนโครงการนี้จะจับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ คือ AC Ennergy Vietnam Investments Pte. ทำการซื้อขายหุ้นประมาณ 5,5 พันล้านบาทเพื่อถือหุ้นร่วมกัน สำหรับดำเนินกิจการโครงการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

โรงไฟฟ้าขยะ บจ. หนองคายน่าอยู่ 8 เมกะวัตต์ หนึ่งในบริษัทลูกของ Super Earth Energy ได้ทดลองจุดเตาตลอดจนเริ่มกระบวนการกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้า เมื่อปลายปี 2565 ที่ผ่านมา

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ทางคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุน 34 โครงการ จำนวน 282.98 เมกกะวัตต์ เริ่มจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ในปี 2568-2569 โดยบริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าขยะ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาด 20 เมกะวัตต์ และนนทบุรี 20 เมกะวัตต์ ทำประชาพิจารณ์ครบถ้วนทั้ง 2 โครงการ และเซ็นสัญญากำจัดขยะ 20 ปี กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และจะเริ่มก่อสร้างใช้ระยะเวลาประมาณ 18-20 เดือน เพื่อเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ต่อไป

ล่าสุด บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) เพื่อร่วมพัฒนาการซื้อขายแลกเปลี่ยนใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificafe : REC) และคาร์บอนเครดิต ซึ่งบจก.ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซื ตั้งเป้าส่งออก REC จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้กลุ่ม SUPER เป็นจำนวน 1,000,000 RECsต่อปี จากปัจจุบัน 700,000 RECsต่อปี  เป้าหมายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมาจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ อาทิ โรงไฟฟ้าพลังงานลม-ขยะ ทั้งในและต่างประเทศ

“ทั้งนี้ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ให้บริษัทฯสามารถขยายงานด้านพลังงานทดแทนเพื่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นการสร้างพันธกิจของ SUPER เพื่อช่วยเหลือประเทศทไทยในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกได้ จากกรณีที่การส่งสินค้าไปสหภาพยุโรป จะมีการจัดเก็บภาษีก๊าซเรือนกระจกก่อนข้ามพรมแดนสินค้าขาเข้า ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำ REC หรือคาร์บอนเครดิตไปชดเชย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตสินค้าได้” นายจอมทรัพย์กล่าว

ปัจจุบัน บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ มีความสามารถในการออก REC จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้กลุ่มบริษัทย่อยของ SUPER เป็นจำนวน 700,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าที่จะออก REC เป็น 1,000,000 RECs ต่อปี จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนกับ The International REC Standard Foundation นอกจาก REC แล้ว บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ ยังสามารถจัดหาคาร์บอนเครดิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพและโรงไฟฟ้าก๊าซชีวมวล ให้แก่ผู้ที่มีความต้องการการชดเชยคาร์บอน หรือ Carbon Offset กว่า 300,000 ตันคาร์บอนเทียบเท่า (tCO2e)

อนึ่ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ตกลงซื้อ REC ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (Vintage 2022) จากบริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ จำกัด โดยได้มีการส่งมอบ REC ให้บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด แล้วบางส่วน และจะจัดส่งส่วนที่เหลือภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566

โรงไฟฟ้าซูเปอร์โซล่าร์ไฮบริด 16 เมกะวัตต์ ขายความจุให้กับ EGAT พร้อมติดตั้งพื้น PV โซล่าร์ 49 เมกะวัตต์ พร้อม Tracking ด้วย BESS 137 เมกะวัตต์ ผสานกับก๊าซชีวภาพ 0.99 เมกะวัตต์ ที่ จ.สระแก้ว

ด้านนายอธิป ตันติวรวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ กฟผ. กล่าวว่า INNOPOWER เป็นผู้ให้บริการขึ้นทะเบียนโครงการพลังงานหมุนเวียน การขอใบรับรอง และการซื้อขายใบรับรองแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อเพิ่มรายได้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และอำนวยความสะดวกให้บริษัทที่มีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) ในการบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานสะอาดได้ตามมาตรฐานสากล



ด้วยความร่วมมือกับ SUPER และซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ สนับสนุนให้ INNOPOWER สามารถพัฒนาตลาดซื้อขายใบรับรองที่พร้อมรองรับทุกความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ บริษัท INNOPOWER มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจนวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีด้วยการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ (Venture Capital) การลงทุนร่วมสร้าง (Venture Builder) และการร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างการเติบโตให้อุตสาหกรรมพลังงานและเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยพร้อมเปิดรับพันธมิตรเข้าร่วมขับเคลื่อนไทยก้าวสู่ประเทศแห่งนวัตกรรมไปด้วยกัน

ทั้งนี้ SUPER เป็นบริษัทสัมปทานขายไฟฟ้าให้รัฐบาลไทยและเวียดนาม ในแง่กำลังการผลิตไฟฟ้าสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ และรัฐบาลรับซื้อไฟฟ้า 100% จึงยังไม่มีสถานการณ์ใดที่จะเข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก และบริษัทฯยังคงเดินหน้าขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพลังงานสะอาดให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเคียงข้างผู้ประกอบการและคนไทยอย่างยั่งยืน



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 11 January 2023 10:28
นลิน โรจนวัชร์

Author : เกาะติดข่าวจีน

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM