November 23, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

เชิดชู 10 นักวิจัยเด่น รองนายกฝากโจทย์สร้าง ‘หัวหอก’ ที่มีพลัง

สกว. จับมือ สกอ. มอบรางวัลเชิดชู 10 นักวิจัยผลงานโดดเด่น รองนายกฯ ชี้ โจทย์สำคัญคือจากนี้ไปต้องมี 'หัวหอก' ทำงานวิจัยหลักให้เกิดโอกาสและผลกระทบ มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับจำนวนประชากร-ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

9 มกราคม 2562 อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม “นักวิจัยรุ่นใหม่… พบ…เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ครั้งที่ 18 ซึ่งจัดโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พร้อมมอบรางวัล 2019 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award และ 2019 TRF-OHEC-Scopus Researcher Award เพื่อเชิดชูเกียรติแก่วุฒิเมธีวิจัย สกว. ตลอดจนนักวิจัยรุ่นกลางและนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีผลงานวิจัยจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สกว. ดีเยี่ยม ทั้งคุณภาพของงานวิจัย ผลกระทบต่อวงวิชาการ และสังคม เพื่อให้เป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพสูงต่อไป

พลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรีกล่าวระหว่างปาฐกถานำเรื่อง “ปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมอย่างไร…ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ” ว่าในอุตสาหกรรม 4.0 ไทยมีความเข้มแข็งอยู่แล้วบางส่วน โดยต้องเสริมเรื่องดิจิทัล การแพทย์ และสิ่งที่บังคับแน่นอนในปัจจุบันคือ หุ่นยนต์ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การบริการท่องเที่ยว การบินและโลจิสติกส์ เราต้องลงมาดูว่าในแต่ละสาขาสอดคล้องกับแผนแม่บทส่วนใด มีบุคลากร เครือข่าย ผู้สนับสนุนและเงินทุนหรือไม่และอยู่ที่ใดบ้าง

รัฐบาลเตรียมความพร้อมให้นักวิจัยมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติอย่างแน่นอน โดยการหลอมรวมงานวิจัยเข้ากับนวัตกรรมที่มีกฎหมายเข้ามาเป็นเรื่องเดียวกันยังเดินหน้าต่อและใหญ่ขึ้น แต่องค์กรขับเคลื่อนจะเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการต่อยอด เชื่อมโยงกับหน่วยภายในและภายนอก

รวมถึงร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยในเชิงพาณิชย์มากขึ้น เป้าหมายที่ สกว.ได้เสนอไว้อยากจะทำตามนโยบายในการเร่งขับเคลื่อนให้บรรลุไทยแลนด์ 4.0 ในทุกภาคส่วนโดยเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ส่วนที่พร้อมแล้วจะเป็นเหมือนหอกหรือหัวธนู ขึ้นกับว่าใครจะเป็นผู้ง้างธนูออกไปสู่เป้าหมายด้วยพลังที่เพียงพอและการคำนวณที่ถูกต้อง เป็นทั้งผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ กล้าหาญในการกำหนดกลยุทธ์และนำการเปลี่ยนแปลง รวมถึงเป็นผู้ประสานงานให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีพลัง ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดผลสัมฤทธิ์

“อยากจะเชิญชวนให้นักวิจัยร่วมให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่ได้เกิดแรงบันดาลใจในการเข้าสู่เครือข่ายวิจัยให้มากขึ้น เรากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายใน 2 ด้าน คือ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีงบประมาณวิจัยใกล้เคียงกับร้อยละ 1 ขึ้นไปของจีดีพี และจะทำอย่างไรให้ขยับเป็นร้อยละ 1.5 ภายใต้ความท้าทายว่างานวิจัยต้องมีผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดการต่อยอด บรรลุแผนแม่บทใน 5 - 10 ปีข้างหน้า โจทย์สำคัญคือจากนี้ไปต้องทำงานวิจัยหลักให้เกิดโอกาสและผลกระทบโดยบูรณาการความรู้ความสามารถ ทำงานเป็นทีม โดยต้องวางแผนวิจัยให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตีบทให้แตกและมองให้ออกว่าจะส่งธนูไปสู่เป้าหมายอย่างไรให้คนของเรามีสมรรถนะสูงและจัดการกับปัญหาโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว.

ด้าน ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. เปิดเผยว่า งานประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักวิจัยรุ่นใหม่และนักวิจัยรุ่นกลางได้นำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยที่ได้รับทุน ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่จะนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยในโครงการ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างประชาคมวิจัยเพื่อนำไปสู่การบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยในปีนี้มีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลในสาขาต่างๆ รวม 10 คน จาก 7 สถาบัน ได้แก่ รางวัล 2019 TRF-OHEC-Clarivate Analytics Research Excellence Award โดยนักวิจัยที่มีผลการวิจัยโดดเด่น และมีคุณูปการรวมถึงผลกระทบเชิงบวกที่มีต่อสาธารณชนในประเทศไทย ได้แก่ รศ. ดร.ศิริพร จึงสุทธิวงษ์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้วยผลงานการพัฒนาออกแบบจำลองโมเลกุลและคำนวณโครงสร้างด้วยวิธีทางเคมีคำนวณที่มีความแม่นยำสูง เพื่อคัดกรองและคัดเลือกตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีศักยภาพสูงไปสังเคราะห์จริงในห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยออกแบบพัฒนาวัสดุดูดซับในการกำจัดสารที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการนำไปใช้ในภาคสนาม เช่น สารพิษจำพวกไอปรอทจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง รวมถึงใช้เป็นข้อมูลให้หน่วยงานในประเทศ เช่น กรมควบคุมมลพิษ

รางวัล 2019 TRF-OHEC-Scopus Researcher Awards

ได้รับการสนับสนุนจากสำนักพิมพ์ Elsevier ประกอบด้วย นักวิจัยรุ่นกลาง 5 คน ได้แก่

  • รศ. ภก. ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลงานการควบคุมเซลล์มะเร็งต้นกำเนิดเพื่อพัฒนายาจากกล้วยไม้-ฟองน้ำทะเลสีน้ำเงินซึ่งพบในทะเลอ่าวไทย
  • รศ. ดร.วุฒิชัย เอื้อวิทยาศุภร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวัสดุอัจฉริยะเพื่อการตรวจวัดทางเคมีเซนเซอร์สำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งนักวิจัยและคณะได้ประยุกต์ใช้เป็นนวัตกรรมเซนเซอร์ตรวจวัดการปนเปื้อนของไอออนฟลูออไรด์หรือไอออนชนิดอื่นๆ เช่น ไซยาไนด์ ฟอสเฟส เป็นครั้งแรกของโลก
  • ผศ. ดร.ประสิทธิ์ ทองใบ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมวัสดุนาโนเพื่อพลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงานตัวเก็บประจุไฟฟ้าขนาดจิ๋วประสิทธิภาพสูงจากวัสดุไทเทเนียมไดออกไซด์ ให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน และไม่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  • รศ. ดร.ธงไทย วิฑูรย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานการแปรรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นเงิน โดยพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความว่องไวและมีเสถียรภาพในการแปรรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นเป็นสารเคมีที่มีมูลค่า เช่น โอเลฟินส์เบา ซึ่งดำเนินการร่วมกับสถาบันนวัตกรรม ปตท. สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเส้นลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ข้อเข่าเทียม ฟันปลอม เสื้อเกราะกันกระสุนแบบอ่อน กระดูกเทียม และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
  • รศ. ดร.ศากุน บุญอิต สาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวชี้วัดความสามารถของกระบวนการบริหารซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมบริการ 7 ประเภท

รางวัล 2019 TRF-OHEC-Scopus Young Researcher Awards 

ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Clarivate Analytics สำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ 4 คน ได้แก่

  • ผศ. ดร.บูรภัทร์ อินทรีย์สังวร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงานตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสงสำหรับการย่อยสลายสารอินทรีย์มลพิษ และการสังเคราะห์สารอินทรีย์ที่มีมูลค่า โดยเฉพาะสารกลุ่มอิมมีนที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ทั้งยังเป็นสารตัวกลางสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตยาพื้นฐานที่มีการบริโภคและจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมาก รวมถึงช่วยเพิ่มมูลค่าของสารอินทรีย์ตั้งต้นได้มากถึงประมาณ 40 เท่า
  • ผศ. ดร.ศิรินาฏ คำฟู หัวหน้าหน่วยชีววิทยาระดับโมเลกุล ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงานการศึกษาภาวะหัวใจล้มเหลวจากภาวะเหล็กเกินในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เพื่อต่อยอดในการคิดค้นและพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยต่อไป
  • ผศ. ดร.ศิวพล ศรีสนพันธุ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานการพัฒนาเครื่องกำเนิดพลาสมาเย็นที่สามารถทำงานได้ที่บรรยากาศปกติ ราคาถูกตั้งแต่หลัก 2-3 หมื่นบาทสำหรับเครื่องขนาดเล็ก จนถึงหลักแสนบาทในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสีเขียวสำหรับการรักษา ปรับปรุง หรือเพิ่มคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรของไทยได้รับการยอมรับและเป็นจุดแข็งที่สามารถตีตลาดโลกได้
  • ผศ. ดร.ธันยพร จันทร์กระจ่าง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการแบ่งปันสิทธิในการใช้และดูแลป่าไม้ระหว่างรัฐและชุมชน: การศึกษาจากป่าชุมชนในประเทศไทย โดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีและศึกษากลไกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่าการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนเงินทุนในการบริหารดูแลป่า และความช่วยเหลือด้านความเชี่ยวชาญจากเจ้าหน้าที่ อาจเป็นส่วนช่วยในการทำให้ป่าชุมชนในเขตป่าสงวนของไทยประสบความสำเร็จในการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 12 January 2019 15:35
ปองภพ เจนกิจโสภณ

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยีและอิเลคทรอนิกส์, ทุกเรื่องราว IT, Software และ Gadget, IoT, AI, EV, วิทยาศาสตร์, โทรคมนาคม, Artificial Intelligence, Machine Learning ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM