Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

Merck รับสิทธิบัตรสหรัฐ วิธีการปรับแต่งจีโนมเทคโนโลยี CRISPR

เมอร์ค (Merck)ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐฉบับแรกสำหรับวิธีการปรับแต่งจีโนม (Genome) ด้วยเทคโนโลยี CRISPR แบบปรับปรุงใหม่

  • เทคโนโลยี proxy-CRISPR ปรับปรุงวิธีการปรับแต่งจีโนมให้ดียิ่งขึ้น และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ สำหรับการวิจัย

  • ช่วยปรับแต่งจีโนมในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของจีโนม

ดาร์มสตัดท์เยอรมนี : เมอร์ค (Merckบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ประกาศในวันนี้ว่า สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office) ได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการเพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิบัตรของเมอร์คที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี proxy-CRISPR ของบริษัท

Udit Batra, member of the Merck Executive Board and CEO

นี่คือสิทธิบัตรสหรัฐฉบับแรกที่มอบให้กับเทคโนโลยี CRISPR ของเรา และในฐานะผู้นำการคิดค้นเทคโนโลยี CRISPR เราจะทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพนี้จะทำงานได้เต็มศักยภาพอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม” อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว 

นี่ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักวิจัยในสหรัฐ เนื่องจากตอนนี้พวกเขาจะมีตัวเลือกมากขึ้นในด้านการปรับแต่งยีน ซึ่งจะช่วยเร่งการพัฒนายาให้เร็วขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ proxy-CRISPR ของเมอร์คคือเทคนิคการปรับแต่งจีโนมแบบใหม่ที่ทำให้ CRISPR มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น และเจาะจงมากขึ้น ด้วยการเปิดจีโนมเพื่อการดัดแปลงดีเอ็นเอ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดัดแปลงจีโนมในส่วนที่เข้าถึงได้ยาก

https://www.merckgroup.com/content/dam/web/corporate/images/pr/2019/feb/global/CRISPR-Patent-Graphic-EN.jpg

สิทธิบัตรสหรัฐฉบับนี้นับเป็นสิทธิบัตร CRISPR ใบที่ 13 ของเมอร์คที่ได้รับจากทั่วโลก รายการสิทธิบัตร CRISPR ของบริษัทประกอบด้วยสิทธิบัตรในออสเตรเลีย แคนาดา ยุโรป สิงคโปร์ จีน อิสราเอล และเกาหลีใต้ ซึ่งล้วนเป็นสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR ครอบคลุมวิธีการปรับแต่งจีโนมระดับพื้นฐานและแบบทางเลือก

 

สำหรับการปรับแต่งจีโนมโดยวิธี proxy-CRISPR นั้น เป็นการใช้ CRISPR สองระบบที่พุ่งเป้าไปยังจีโนมที่มีความใกล้เคียงกันและทำงานร่วมกัน โดย CRISPR ระบบแรกจะทำหน้าที่เปิด “ประตู” เพื่อผลักโปรตีนโครมาตินที่กีดขวางอยู่ออกไป ขณะที่ CRISPR อีกระบบจะตรงเข้าไปยังตำแหน่งที่แน่นอนเพื่อทำการดัดแปลงแก้ไข ทั้งนี้ เนื่องจากการดัดแปลงที่เห็นผล จะต้องมีการเชื่อมโยง CRISPR ทั้งสองส่วน ดังนั้น วิธีการproxy-CRISPR จะเปิดทางให้สามารถใช้ CRISPR แต่ละระบบได้อย่างจำเพาะเจาะจงถึงสองครั้ง

เมอร์คได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR Nickase ชนิดคู่ (การแยกสายโครโมโซมตรงข้ามเพื่อตัดสายทั้งสองของดีเอ็นเอให้ขาดในออสเตรเลีย แคนาดา และยุโรป และได้รับสิทธิบัตรเทคโนโลยีรวมระบบ CRISPR (การตัดโครโมโซมของลำดับเซลล์ยูคาริโอตและการแทรกลำดับดีเอ็นเอ) ในออสเตรเลีย แคนาดา ยุโรป สิงคโปร์ จีน อิสราเอล และเกาหลีใต้ โดยขณะนี้ เมอร์คอยู่ระหว่างดำเนินการออกใบอนุญาตสำหรับการนำสิทธิบัตรทั้งหมดนี้ไปใช้งานในทุกขอบข่าย

เทคโนโลยี CRISPR ถือเป็นจุดแข็งสำคัญของเมอร์ค ซึ่งมีประสบการณ์ 15 ปีในด้านการปรับแต่งจีโนม ตั้งแต่ในขั้นตอนการค้นคว้าวิจัยไปจนถึงการผลิต เมอร์คตระหนักดีว่า การปรับแต่งจีโนมได้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านการวิจัยทางชีวภาพและยารักษาโรค แต่ในขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมก็ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ กฎหมาย และสังคม ดังนั้น บริษัทจึงสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม (Bioethics Advisory Panelขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม ตลอดจนกำหนดจุดยืนการดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม สู่แนวทางการรักษาโรคที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ

ติดตามเมอร์คได้ทาง Twitter @Merckgroup, Facebook @merckgroup และ LinkedIn

 

เกี่ยวกับ เมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง โดยมีการดำเนินงานครอบคลุมด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียล พนักงานประมาณ 51,000 คนของบริษัทต่างทุ่มเทในการสร้างความแตกต่างที่ดีต่อชีวิตของผู้คนหลายล้านคนในทุก ๆ วัน ด้วยการนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตที่มีความสุขและยั่งยืนยิ่งขึ้น เมอร์ค เป็นทั้งผู้พัฒนาเทคโนโลยีตัดต่อยีน ไปจนถึงการเสาะหากลวิธีใหม่ ๆ ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ท้าทายที่สุด ตลอดจนการคิดค้นอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยในปี 2560 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.53 หมื่นล้านยูโร ใน 66ประเทศ

การสำรวจในทางวิทยาศาสตร์และการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คือหัวใจหลักในความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเมอร์ค ทั้งยังเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของเมอร์คนับตั้งแต่ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2211 ปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์คทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี เซโรโน ในวงการดูแลสุขภาพมิลลิพอร์ซิกมา ในวงการชีววิทยาศาสตร์ และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แมนซ์ แมททีเรียลส์

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 07 March 2019 12:56
กนิษฐา กาญจนกวี

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยี  IT Business, Social Media, Gadget review, Marketing, Startup, Blockchain และ Cryptocurrency, Tech Startup และ Business Innovations, ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM