IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (Office of Atoms for Peace : OAP) หรือ ปส. เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมการจัดทำความเสี่ยงโครงการและการบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และการบริหารความเสียงองค์กร ให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ผู้รับผิดชอบโครงการที่จะเสนอของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และที่เกี่ยวข้อง จำนวน 76 คน โดยมี รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะ จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคาร 1 ปส.
รศ.ดร. อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี ขณะบรรยายเรื่อง "การแปลงนโยบายยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ"
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นหน่วยงานกลางให้การเสนอแนะนโยบาย แนวทางและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติ กำกับให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน โดยการบริหารจัดการด้านพลังงานปรมาณู กำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี กำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู เพื่อให้มีนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานปรมาณูในทางสันติให้เป็นไปตามพันธกรณีและมาตรฐานสากล สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนและให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานปรมาณูให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้และประชาชน ซึ่งพลังงานนิวเคลียร์และรังสีของประเทศ มีแนวโน้มการใช้พลังงานด้านนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาง ปส. ได้พัฒนาสมรรถนะและศักยภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานมาโดยตลอด โดยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ทุก 5 ปี เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้และสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ
สำหรับแผนยุทธศาสตร์ปี 2564 ได้นำแนวคิดและทฤษฎีในการจัดทำแผนแบบต่างๆ มาผสมผสาน ปรับปรุง และวิเคราะห์ เพื่อให้ได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ตอบสนองต่อความต้องการของทุกฝ่าย และขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
ปส. มุ่งเน้นนโยบายเพื่อเป็นผู้นำด้านนิวเคลียร์ใน AEC ดังวิสัยทัศน์ “สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสีในกลุ่มประเทศอาเซียน”
รายละเอียดยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาความพร้อมด้านการกำกับดูแลการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยพัฒนาศักยภาพในการวิจัยเป็นสำคัญ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้ประชาชนได้ทราบ รวมถึงร่วมพัฒนากฎหมายอีกทางหนึ่งโดยการ ร่าง พรบ.พลังงานนิวเคลียร์ฉบับใหม่ เนื่องจากเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงาน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีทั้งภายในและต่างประเทศ ด้วยการสร้างพันธกรณีกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การสร้างเครือข่ายในเชิงของการทำ MOU การสร้างความร่วมมือด้านการเฝ้าระวังภัยทางนิวเคลียร์และรังสีกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างพันธกรณีการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี การปฎิบัติตามกฎของทบวงการพลังงานนิวเคลียร์และรังสีระหว่างประเทศ
- ยุทธศาสตร์การเผยแพร่และการถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานนิวเคลียร์ เช่นการเผยแพร่ให้แก่บุคลากรในสถานพยาบาล และ Outside in คือการนำความรู้จากภายนอกมาเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายใน คือ “การสื่อสารสาธารณะ” ให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย เนื่องจากตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์น้อยมาก การประชาสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ปส. เป็นหน่วยงานบังคับใช้พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พศ.2559 และที่แก้ใขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นกฎหมายในการกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังส่งผลให้ไทยเข้าเป็นภาคีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านนิวเคลียร์ที่สำคัญหลายพันธกรณี อาทิ สนธิสัญญาห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทนำของไทยด้านการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประชาคมโลก
โดยปัจจุบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ได้เข้ามามีบทบาทในงานด้านต่างๆ หลายแขนง เช่น ด้านการแพทย์ ใช้ในการปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ตรวจการทำงานของอวัยวะในร่างการ รวมถึงใข้ในการตรวจวินิจฉัน ตลอดจนบำบัดรักษาโรค
ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังช่วยผู้เชี่ยวชาญในประเทศคอสตาริกา โดยใช้รังสีเพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อแมลงวันที่เหลือออกมาจากดักแด้จะเป็นหมันและไม่สามารถสืบพันธุ์ได้
ด้านการเกษตร ใช้ในการการกำจัดศัตรูพืช ด้านการผลิตใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า หรือในอุตสาหกรรมอัญมณีก็สามารถใช้รังสีเปลี่ยนสีของอัญมณีให้เป็นที่ต้องการของตลาด และด้านการศึกษา ใช้ในการศึกษาทางธรณีวิทยา ใช้ในการสำรวจทรัพยากรด้านโบราณคดี หาอายุของโบราณสถาน โบราณวัตถุ
ทุกวันนี้เทคโนโลยีอยู่รอบตัวเราและขยับเข้ามาใกล้กับชีวิตทุกคนมากขึ้นทุกที ในบางครั้งอยู่ใกล้จนไม่รู้ตัวว่า กำลังใช้ประโยชน์จากพลังงานงานนิวเคลียร์อยู่ และเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทางปส. จึงมุ่งมั่นกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและคุ้มครองให้ประชาชนไม่อยู่บนความเสี่ยงที่จะได้รับรังสีนอกเหนือจากได้รับตามธรรมชาติ
การกำกับดูแลความปลอดภัยจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นภารกิจหลักของ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติที่มุ่งกำกับดูแลความปลอดภัยดังกล่าวมากกว่า 58 ปี ตั้งแต่ออกใบอนุญาตฯ ควบคุมดูแลตรวจสอบการใช้จนกระทั่งที่เลิกใช้ ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและข้อกำหนดของทบวงการพลังงานงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency : IAEA)
ทั้งนี้ ปส.พร้อมขับเคลื่อนองค์กรภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบาย Thailand 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาพัฒนางานกำกับดูแลความปลอดภัย ตอบสนองความคาดหวังของผู้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมก้าวสู่วิสัยทัศน์ใหม่คู่สังคมไทย
อนึ่ง ปส. มุ่งมั่นในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในภาระกิจขององค์กร ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้ารับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณหน่วยงานที่ผ่านการประเมินโครงการ “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” จากนายยุทธพล อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
“ปส. ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้การจัดการน้ำเสียจากอาคารและระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม และขอร่วมเป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อไป”