November 17, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

CPF จับมือ ศธ. สร้างโครงการ โรงเรียนร่วมพัฒนา รุกการศึกษา 4.0

การปลดล็อกกฎระเบียบเพื่อเดินหน้าแผนพัฒนาด้านการศึกษาสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อรองรับอนาคตที่มีความผันผวนในด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ โดยโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Parnership School Project)

ปิดโมเดลโรงเรียนชุมชนบ้านวัด จ.นครราชสีมา ที่ยกระดับความร่วมมือในการขับเคลื่อนระบบการศึกษา ซึ่งภาคเอกชนเข้าร่วมกับรัฐเพื่อบริหารจัดการโรงเรียน

“นพ.อุดม คชินทร” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า

หลักสำคัญในการขับเคลื่อนคุณภาพชีวิต เพื่อยกระดับด้านการศึกษา พัฒนาการเรียนรู้ เสริมทักษะอาชีพ ขยายโอกาสสร้างความยั่งยืน สู่สากลควบคู่กับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้เท่าเทียมกัน เราตั้งเป้าผลักดันโรงเรียนให้มีคุณภาพในทุกพื้นที่เฉลี่ย 70-80% ในระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี

 

ภายใต้กรอบการดำเนินงานอิสระ 3 ส่วน

  • อิสระการออกแบบหลักสูตรเอง 30% ของเวลาเรียน การปรับหลักสูตรเอง อันส่งผลดีต่อโรงเรียนและชุมชนในการร่วมแก้ปัญหายังเขตพื้นที่ เพื่อตอบโจทย์ของปัญหาและหาแนวทางแก้ไขอย่างตรงจุด
  • อิสระการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นการวิเคราะห์ ฝึกการตั้งคำถาม ปรับทัศนะครู บุคลากรและองค์กร สร้างการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติและประสบการณ์การทำงานจริง
  • อิสระการบริหารจัดการเอง ใช้กระบวนการจัดการบริหารพิเศษ โดยขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง มีการปลดล็อกระเบียบเดิมเพื่ออำนวยอิสระในการดำเนินงาน ทั้งขยายการทำงานของ ผอ.เพิ่มขึ้นอีก 4 ปี เพื่อวางรากฐานระบบการศึกษาให้มั่นคงต่ออนาคต

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรงเรียนที่ร่วมโครงการกว่า 50 แห่ง ใน 30 จังหวัด มีภาคเอกชนชั้นนำ 12 หน่วยงาน เข้าร่วมและสนับสนุน “มีชัย วีระไวทยะ” ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิมีชัยวีระไวทยะ กล่าวในประเด็นนี้ว่า การพัฒนาโรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่สร้างความรู้โดยไม่มีวันสิ้นสุดของทุกช่วงอายุ จะสะท้อนคุณภาพสังคม ชุมชนที่อยู่ร่วมกันผ่านกระบวนการปฏิบัติงาน พร้อมกับแนะแผนพัฒนาโรงเรียนเพื่อลดปัญหาการว่างงานกว่า 70%

“ทั้งนี้ เพื่อเน้นการส่งเสริมด้านทักษะอาชีพต่อบริบทพื้นที่ในการดำเนินงาน โดยเป้าหมายหลักในการร่วมมือกับกลุ่ม CPF มี 3 ด้าน ได้แก่ การเปิดสอนเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อสร้างเชฟออฟเดอะเวิลด์ในด้านอาหารไทย, การเปิดสอนการบริหารธุรกิจร้านค้า เพื่อมีร้านค้าในหมู่บ้านหรือชุมชน และการเปิดสอนเกษตรกรแบบสมาร์ทฟาร์มเมอร์เพื่อรองรับนวัตกรรมใหม่ เข้ามาปรับใช้ก่อประโยชน์อย่างสูงสุด”

“เพราะการขับเคลื่อนการศึกษาจะก่อประโยชน์แก่ประเทศ ส่งผลให้โรงเรียนที่ร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดผ่านกิจกรรม โครงการที่โรงเรียนเรียนรู้พัฒนาตามนโยบายของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ในเรื่องการศึกษา ทั้งนี้ โรงเรียนที่ร่วมโครงการเปิดบ้านเยี่ยมชมการทำงานของโรงเรียนที่ร่วมกับชุมชนในการเสริมสร้างทักษะอาชีพที่นำไปใช้ได้จริง”

“ทวีสิน คุณากรพิทักษ์กุล” รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF กล่าวเสริมว่า การร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และรัฐผ่านโครงการจะใช้แนวทางในการสร้างนวัตกรรมแก่สถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เกิดการบริหารจัดการ และตอบโจทย์การลงมือทำในด้านสังคม พัฒนาระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ

“ด้วยการสนับสนุนจากภาคเอกชน อาทิ บุคลากร งบประมาณ และสถานที่ฝึกงาน เพื่อสร้างสรรค์ศักยภาพ และเพิ่มทักษะ ประสบการณ์การทำงานในรูปแบบของสถานศึกษาในการปรับภูมิทัศน์ สื่อการสอน เครื่องมือที่ทันสมัยต่าง ๆทั้งเพิ่มประสิทธิภาพครู และชุมชน เชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้อยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ”

“โดยกำหนดแผนระยะสั้น 5 ปี นับจากปี 2561-2565 ซึ่งจะพัฒนาทั้งนักเรียน โรงเรียน บุคลากรในองค์กร และชุมชนรอบข้าง เพื่อตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้ง CPF ยังแนะชุมชนรอบข้างให้เข้ามามีส่วนร่วมกับฐานอาชีพที่ทำในโรงเรียนอยู่แล้ว เช่น โครงการเลี้ยงไก่เพื่ออาหารกลางวัน”

ส่วนเรื่องพื้นฐานของระบบการศึกษาที่ดี จะถูกปลูกฝังผ่านสถานศึกษา ซึ่ง “ธนยศ ปะเสทะกัง” ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านวัด ผู้ร่วมโครงการกล่าวเสริมว่า ในส่วนของการเสริมกิจกรรมของโรงเรียนมีด้านการอ่าน เขียน คิดเลข และการสื่อสารด้านภาษา ทั้งหมด 7 กิจกรรม ประกอบด้วย ด้านวิชาการ 3 กิจกรรม และด้านสายอาชีพ 4 กิจกรรมที่จัดขึ้นผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดระยะเวลาในการร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา

“ส่งผลให้นักเรียนค้นหาความถนัดตนเอง ผ่านการเรียนรู้ การทำงานจริง การแก้ปัญหาที่สร้างการเรียนรู้ เสริมศักยภาพ ขยายขอบเขตการตั้งเป้าหมายของอนาคต ที่ตนเองเป็นคนเลือกเส้นทางในการใช้ชีวิต ดังนั้น การเกิดขึ้นของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา จึงถือเป็นการวางนโยบายที่ภาครัฐร่วมมือกับภาคเอกชนดำเนินการขับเคลื่อนประเทศ เพื่อยกระดับการศึกษาให้มีแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ในการวางรากฐานระบบศึกษาที่ยั่งยืน และมั่นคง ทั้งยังเป็นตัวรองรับฐานการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจอันถือเป็นกลไกสำคัญที่สร้างจุดแข็ง เพื่อเป็นตัวกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต”

เพราะกระทรวงศึกษาธิการมองเห็นความสำคัญในด้านการศึกษา ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงฐานเศรษฐกิจ สังคม ของคนในประเทศ อันเป็นหัวใจในการปฏิรูป เดินหน้าประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือไทยแลนด์ 4.0 โดยการเกิดขึ้นของโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาที่เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้น

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 14:27
ปุณพจน์ ปัญญามหาสกุล

Author : เกาะติดข่าวในวงการการตลาด, Brands, Marketing, ธุรกิจ,การบริหารงาน, ธุรกิจ SMEs, ธุรกิจ สตาร์ทอัพ, การอบรม, งานสัมมนา, การสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM