IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
คุณประสิทธิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลกที่ยั่งยืน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลิตอาหารที่ดีต่อสุขภาพและดีต่อใจ เป็นที่มาของโครงการ “ไก่ไทยจะไปอวกาศ” ที่มุ่งมั่นยกระดับเนื้อไก่ไทยสู่มาตรฐานความปลอดภัยระดับอวกาศ (Space Food Safety Standard) โดยวิจัยร่วมกับสองพันธมิตรจากสหรัฐอเมริกา NANORACKS LLC และ MU Space ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอวกาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค นับเป็นครั้งแรกที่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยก้าวสู่มาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูงที่ไม่ใช่แค่ระดับโลก แต่เป็นมาตรฐานความปลอดภัยระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศทานได้
“ซีพีเอฟ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับรางวัลพระราชทานในครั้งนี้ สะท้อนความมุ่งมั่นและความสำเร็จที่แสดงถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อนำเสนอสินค้าที่ดีภายใต้แบรนด์ CP สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของเรา เกินกว่าความคาดหมายของลูกค้าในเรื่องของคุณภาพของสินค้าและบริการ เป็นอีกภารกิจที่พิสูจน์ว่าเนื้อไก่ CP เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด ช่วยยืนยันว่าคนไทยทุกคนได้ทานไก่ปลอดภัยในระดับเดียวกับนักบินอวกาศทาน” คุณประสิทธิ์ กล่าว
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย ทุกคำที่บริโภคต้องมีคุณค่าทางโภชนาการในราคาเหมาะสม โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัย ได้แก่ นวัตกรรม (Innovation) สุขภาพ (Wellness) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Planet) ควบคู่กับการศึกษาความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำมาต่อยอดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงออกแบบการสื่อสาร สร้างสรรค์แคมเปญที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และเทรนด์ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพอาหาร เปิดประสบการณ์การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของคนไทย
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่กระบวนการการเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพแข็งแรง ด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์ การเลี้ยงในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ที่มีระบบการจัดการฟาร์มที่ดี สะอาด มีระบบป้องกันโรค การพัฒนาอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยของสัตว์ คิดค้นสูตรอาหารสัตว์จากนวัตกรรมโปรไบโอติก ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่ทำให้ลำไส้สัตว์แข็งแรง โดยร่วมกับสถาบันวิจัยระดับโลก คัดเลือกโปรไบโอติกจาก 125,000 สายพันธุ์ จนได้โปรไบโอติกแข็งแรงที่สุดเพียง 10 สายพันธุ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ทำให้ไก่แข็งแรงตามธรรมชาติ ไม่ป่วย จึงไม่ต้องใช้ยา ทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปลอดภัย และปลอดสารตกค้าง 100%
ภายใต้ความมุ่งมั่นเป็นครัวของโลก ซีพีเอฟ ยึดมั่นใน “ปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” ตามดำริของประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท สอดรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) สนับสนุนเป้าหมายระดับโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) สะท้อนความตั้งใจจริงของบริษัทที่มีมาอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยการสร้างคุณค่าที่ดีให้กับสังคม ชุมชน และโลก
CPF รับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำด้านการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) ประเภทโดดเด่น ตอกย้ำระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์มาตรฐานระดับสากล
นายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ องค์กรผู้นำด้านการจัดการ ก๊าซเรือนกระจก (Climate Action Leading Organization: CALO) ประเภทโดดเด่น จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. โดยมี คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) รับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในงานพิธีปิดการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand Climate Action Conference: TCAC 2023) ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ผ่านมา
“ซีพีเอฟรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับรางวัลนี้ โดยเครือซีพีและทุกบริษัทในเครือร่วมกันมุ่งมั่นที่จะช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวันนี้เครือฯ ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 3 รางวัล โดยได้รับรางวัลในระดับทอง 2 รางวัล คือ การตรวจวัด (Measure) และการลด (Reduce) และได้รับรางวัลในระดับเงิน 1 รางวัล ด้านการชดเชย (Contribute) รางวัลแรกคือการวัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมทั้ง Scope 1 และ 2 ซึ่งเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดภายในการดำเนินงานของเรา”
สนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มาร่วมลดก๊าซเรือนกระจกไปด้วยกัน ซึ่งเป็น 3 ส่วนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในวันนี้ นับเป็นการประสบความสำเร็จในก้าวแรก และเครือฯ จะมุ่งมั่นที่จะร่วมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 3 คือตลอดห่วงโซ่คุณค่าของซีพีเอฟ ในส่วนรางวัลที่ 2 เป็นเรื่องของการลด ซึ่งเกณฑ์การที่จะได้รางวัลในระดับเหรียญทองนั้น ต้องมีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้ได้อย่างน้อย 2.5% จากปีก่อนหน้า ส่วนรางวัลที่ 3 ในเรื่องของการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยคาร์บอนเครดิต ต้องมีการสนับสนุนซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชยส่วนหนึ่ง และสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มาร่วมลดก๊าซเรือนกระจกไปด้วยกัน ซึ่งเป็น 3 ส่วนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในวันนี้ นับเป็นการประสบความสำเร็จในก้าวแรก และเครือฯ จะมุ่งมั่นที่จะร่วมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อโลกที่ยั่งยืนต่อไป
ด้าน นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ ธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ได้รับใบรับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่โรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์และโรงฟัก ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และโรงงานแปรรูปอาหาร รวมทั้งสิ้น 117 แห่ง โดยมี นายอุดมศักดิ์ สันทิฐิกวงศ์ ผู้จัดการประเทศ บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด เป็นตัวแทนมอบ พร้อมกันนี้ ผู้บริหารธุรกิจไก่เนื้อ-เป็ดเนื้อครบวงจรรับใบรับรองระบบบริหารคุณภาพ (ISO 9001:2015) ใบรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยอาหาร (ISO 22000:2018) ใบรับรองการปฏิบัติทางสุขลักษณะที่ดีและระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (GHPs & HACCP) และในโอกาสนี้ มร.ท็อด เรดวู๊ด Managing Director, Global Food and Retail ได้ร่วมแสดงความยินดี ในฐานะพันธมิตรที่เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของซีพีเอฟในการร่วมสร้างความยั่งยืน
“การที่ซีพีเอฟได้รับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ใบรับรอง ISO 9001:2015 และใบรับรอง ISO 22000:2018 สะท้อนการบริหารงานที่มีมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง และเป็นบริษัทแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมาตรฐานของตนเอง (Private Standard) ภายใต้คำแนะนำและการสนับสนุนโดย BSI เพื่อมุ่งมั่นส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีสู่ผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ สร้างความเชื่อมั่นต่อลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งความร่วมมือกับพันธมิตร BSI UK ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการสร้างมาตรฐานระดับโลกที่มุ่งเน้นสร้างมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ”
ถือเป็นการยกระดับระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวทั่วโลก (One Standard for All) ภายใต้วิสัยทัศน์เป็น “ครัวของโลก” ซีพีเอฟร่วมกับสถาบันมาตรฐานอังกฤษ (British Standards Institution: BSI) ริเริ่มโครงการมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ พัฒนามาตรฐานอาหารของบริษัทในด้านระบบบริหารคุณภาพ ความปลอดภัยอาหาร และความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยนำร่องใช้ในธุรกิจไก่เนื้อครบวงจรโคราช (Korat Model) ที่บรรลุเป้าหมายในการตรวจรับรองจากหน่วยงานอิสระภายนอก และขยายผลครอบคลุมธุรกิจไก่เนื้อและเป็ดเนื้อ ซึ่งบริษัทฯ ยังมีเป้าหมายในการขยายผลการรับรองไปยังธุรกิจอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนและครบวงจร
“การได้รับรองมาตรฐานอาหารซีพีเอฟ PS 7818:2018 ตอกย้ำความมั่นใจว่าซีพีเอฟมีการควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ครอบคลุมธุรกิจอาหารสัตว์ ธุรกิจเลี้ยงสัตว์ และธุรกิจอาหาร (Feed Farm Food) เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ” นายสิริพงศ์กล่าว
ทั้งนี้ มาตรฐานอาหารซีพีเอฟ (CPF Food Standard) เป็นการบูรณาการมาตรฐานต่างๆ เช่น GHPs HACCP/CODEX , ISO 9001, ISO 22000 กฎระเบียบอาหารภายในและต่างประเทศ หลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และข้อกำหนดของลูกค้า เช่น BRC สร้างการยอมรับจากลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ส่งมอบคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่ดีสม่ำเสมอตลอดห่วงโซ่การผลิต
และซีพีเอฟยังเดินหน้าพัฒนาศักยภาพคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง โดย บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับกลุ่ม SMEs เป็นลำดับแรก ผ่านการดำเนินโครงการ “SMEs PLUS” ระดมสรรพกำลังกับหน่วยงานในบริษัทฯ ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอย่างรอบด้านให้กับคู่ค้า SMEs ประมาณ 6,500 ราย โดยในปีนี้ดำเนินรวม 6 โครงการ อาทิ การพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อยที่มีศักยภาพนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ การสนับสนุนให้คู่ค้ามีความรู้การผลิตสินค้าคาร์บอนต่ำ การยกระดับความปลอดภัยของสินค้า เป็นต้น ซึ่งสนับสนุนการดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ตามหลักการ ESG (Environmental, Social, Governance) เพื่อสร้างความสำเร็จและการเติบโตไปด้วยกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงด้านอาหารอีกด้วย
สภาธุรกิจโลก หรือ WBCSD ได้เปิด 11 รายชื่อบริษัทระดับโลกเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำรายงานความยั่งยืน โดยเครือซีพีจากประเทศไทยติดอันดับต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ชี้มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน- สร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน
สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council on Sustainable Development - WBCSD) องค์กรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดย CEO ของธุรกิจชั้นนำมีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 250 องค์กร ได้เผยแพร่รายงาน Reporting Matters ประจำปี 2023 วิเคราะห์และประเมินผลการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัทเอกชนจากทั่วโลกที่เป็นสมาชิก WBCSD โดยในปีนี้ได้เปิดรายชื่อ 11 บริษัทชั้นนำที่จัดรายงานความยั่งยืนดีเด่น โดยมีเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี จากประเทศไทย ติด 1 ใน 11 บริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุดเนื่องจากมีความโดดเด่นในการจัดทำประเด็นสำคัญและมียุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยซีพีได้รับการประเมินในระดับ Top Performer ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทั้งนี้ในส่วนของ 11 บริษัทที่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้จัดทำรายงานความยั่งยืนดีเด่นระดับโลกประจำปี 2566 ประกอบด้วย
- บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด - ประเทศไทย
- DSM - บริษัทข้ามชาติของเนเธอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพ โภชนาการ
- EDP - Energias de Portugal - บริษัทสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าของโปรตุเกส
- Enel S.p.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากอิตาลี
- Eni S.p.A. บริษัทสัญชาติอิตาลีในธุรกิจน้ำมันและแก๊ส
- ERM ที่ปรึกษาด้านธุรกิจและบริการด้านความยั่งยืนจากสหราชอาณาจักร
- Mondi Group บริษัทกระดาษและบรรจุภัณฑ์จากออสเตรีย
- Novartis บริษัทยาชั้นนำของสวิตเซอร์แลนด์
- Philip Morris International SA บริษัทผลิตบุหรี่และยาสูบสัญชาติอเมริกัน
- Solvay S.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และพลาสติกของเบลเยี่ยม
- Stora Enso Oyj ผู้ผลิตเยื่อกระดาษของฟินแลนด์
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่ารายงานความยั่งยืนถือเป็นเสาหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการสร้างความตระหนักรู้วางเป้าหมายกำหนดตัวชี้วัด การสื่อสารขององค์กรและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ นับเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะจะนำไปสู่การเปรียบเทียบผมการดำเนินการปีต่อปี ทั้งของตัวเองและกับผู้อื่นเกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดการตรวจสอบติดตามผล ลดความเสี่ยงของ Green Washing หรือการสร้างภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืนเพื่อกลบเกลื่อนการประกอบธุรกิจที่ส่งผลในเชิงลบ ขาดความรับผิดชอบ และสุดท้ายกลไกของความโปร่งใสจะก่อให้เกิดการแข่งขันการทำความดีหรือ Race to the Top
รายงานความยั่งยืนถือเป็นเสาหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง อันเป็นผลมาจากการสร้างความตระหนักรู้วางเป้าหมายกำหนดตัวชี้วัด การสื่อสารขององค์กรและการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ นับเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
โดยเรื่องนี้ นายสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) เปิดเผยว่า เครือซีพีมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ WBCSD ยกย่องให้เครือฯเป็นแบบอย่างที่ดีติดท็อปองค์กรธุรกิจชั้นนำระดับโลกในการการจัดรายงานความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยการคัดเลือกรายงานด้านความยั่งยืนทาง WBCSD ได้กำหนดเกณฑ์การประเมิน 3 ด้านหลักคือ Principles Content และ Effectiveness โดยเครือซีพีได้รับการประเมินว่ามีการปรับปรุงและพัฒนาการจัดทำรายงานด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลมาอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดขอบเขตของรายงานที่ครอบคลุมทุกมิติด้านความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และได้มีการระบุรายละเอียดของมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในการจัดทำรายงาน
นายสมเจตนา กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้เครือฯ ได้รับการประเมินผลภาพรวมรายงานความยั่งยืนของเครือฯประจำปี 2022 ที่เป็นแบบอย่างที่ดีมีความโดดเด่นใน 3 ด้านสำคัญคือ
- มีกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment) ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Double และ Dynamic มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยให้เครือฯ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนและเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นตามสถานการณ์และช่วงเวลา
- เครือฯ มียุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจน รวมถึงแผนการดำเนินงาน มีการแสดงผลกระทบด้านการเงินและหลักฐานการดำเนินงานสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกาศเป้าหมายนำองค์กรสู่ Net Zero ในปี 2050 ที่ชัดเจน โดยได้มีการจัดทำแผนกำหนดขอบเขตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุม 3 ขอบเขตสำคัญทั้งระยะสั้นและยาว ถือเป็นสิ่งแสดงความมุ่งมั่นขององค์กรพร้อมสะท้อนความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะชนในวงกว้าง
- เครือฯมีการกระบวนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเครือฯ ดำเนินการสำรวจความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจำทุกปีเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลเชิงลึกจากผู้มีส่วนได้เสียของเราโดยตรง อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
สำหรับปีนี้เครือฯ ได้เปิดตัวรายงานความยั่งยืนประจำปี 2022 ภายใต้แนวคิด “ผู้นำด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” เพื่อเปิดเผยผลการดำเนินงานที่มุ่งมั่นและตั้งใจในการขับเคลื่อนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนสู่ปี 2030 ของเครือฯ รวมทั้งสิ้น 15 เป้าหมาย ภายใต้กรอบการทำงาน 3 เสาหลัก คือ Heart - Health - Home ที่ครอบคลุมทุกมิติของความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยนำเสนอผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมทั้งในแง่ของความสำเร็จ และในด้านของความท้าทายที่เครือฯ และบริษัทในเครือฯ ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแผนงานเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต โดยในรายงานฉบับนี้เน้นย้ำไปที่การพัฒนาใหม่ ๆ ของเครือซีพี และความก้าวหน้าในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์
รายงานฉบับนี้ยังเปิดเผยผลการวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับบริบทการดำเนินงาน และผลกระทบภายนอกที่อาจมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงจัดการความเสี่ยงขององค์กร โดยผลจากการวิเคราะห์ได้รวมเข้าไปในกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนแบบ Double และ Dynamic ซึ่งจะช่วยให้เครือฯ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหัวข้อความยั่งยืนที่มีความสำคัญ ทำให้การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียมีประสิทธิภาพดีขึ้น สามารถจัดการความเสี่ยง ระบุโอกาส ปรับปรุงการรายงาน และสร้างมูลค่าระยะยาวได้ดีขึ้น แนวทางนี้ทำให้บริษัทเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบทั้งต่อการดำเนินงานและสังคมในวงกว้าง
นอกจากนี้ เครือซีพี ได้จัดทำรายงานเฉพาะเรื่องเพิ่มเติมอีก 6 ฉบับ ได้แก่
- Double and Dynamic Materiality Assessment Report 2022
- Stakeholder Engagement Report 2022
- Sustainability Performance Report 2022
- Sustainable Development Goals (SDGs) Report 2022
- Task Force on Climate-related Financial Disclosure (TCFD) Report 2022
- Biodiversity (TNFD) Report 2022 โดยปีนี้ถือเป็นปีแรกที่เครือซีพีได้จัดทำ Biodiversity (TNFD) Report 2022 ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของเครือซีพี
“คุณศุภชัย เจียรวนนท์” ซีอีโอเครือซีพี ร่วมแสดงวิสัยทัศน์บนเวที “TSCN CEO PANEL: ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2023
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือ C.P. Group ร่วมแสดงวิสัยทัศน์บนเวทีเสวนา “TSCN CEO PANEL: ปรับตัวอย่างไร ให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2023 (SX2023) พร้อมผู้บริหารองค์กรชั้นนำ คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี โดยมี คุณสุทธิชัย หยุ่น เป็นผู้ดำเนินรายการ เพื่อนำเสนอแนวทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมาปรับใช้ในการบริหารธุรกิจ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์จากการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน หวังพัฒนาขีดความสามารถของผู้นำองค์กรภาคธุรกิจอื่นๆ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ทั้งนี้ภายในงานมีผู้บริหารองค์กรชั้นนำ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายหลายสาขาให้ความสนใจเข้าร่วมฟังกว่า 1,000 คน ณ SX GRAND PLENARY HALL ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า แม้ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายเรื่อง แต่เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญและมีการขับเคลื่อนเพิ่มขึ้น โดยทาง UN มองว่าประเทศไทยมีศักยภาพเรื่องของความยั่งยืนและเป็นตัวอย่างที่ดีในอาเซียน เพราะแม้จะเจอผลกระทบของโลกในหลายด้าน แต่ก็มีการปรับตัว โดยเฉพาะการให้ความสำคัญในเรื่องของการลดคาร์บอน ซึ่งนโยบายภาครัฐจะต้องสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV การใช้พลังงานสะอาด การทำโซลาร์ฟาร์ม การให้อินเซนทีฟกับผู้ประกอบการในเรื่องความรู้และนวัตกรรม เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เครือซีพีได้มีประกาศเป้าหมายและยุทธศาสตร์ความยั่งยืนที่ชัดเจน และได้ประกาศเป้าหมายนำองค์กรสู่ Carbon Neutral ในปี 2030 ซึ่งเครือซีพีได้ดำเนินการลดคาร์บอนไปแล้ว 70% โดยได้ดำเนินการใน scope 1 และ scope 2 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในองค์กรแล้ว ขณะเดียวกันก็เริ่มดำเนินการใน scope 3 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ใหญ่และท้าทายอย่างมาก แต่เครือซีพีจะไม่ละความพยายามที่จะต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าและภาคส่วนอื่นๆ ด้วย
คุณศุภชัย ได้ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับความยั่งยืนจำเป็นต้องมีการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจน และต้องมองกลไกการตลาดควบคู่ไปด้วย ในขณะเดียวกันต้องมองความท้าท้ายใน 3 เรื่องใหญ่คือ 1.Inclusive capital ลดความเหลื่อมล้ำ 2.ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และ 3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมองว่าจะต้องให้ความสำคัญใน 2 ประเด็นคือ 1.ในภาคธุรกิจ ทุกบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องรีพอรต์เป้าหมายความยั่งยืน เช่น รีพอร์ตการลดคาร์บอน และ 2.ในภาคสังคมต้องให้ความสำคัญเรื่องระบบการศึกษา ที่จะต้องมีการเพิ่มเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในหลักสูตร ปรับการเรียนการสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลางให้เขาได้เกิดการเรียนรู้จากการได้ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง (Action Base Learning) เรียนรู้จากปัญหา ตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ พัฒนาร่วมกัน รวมไปถึงต้องให้ความสำคัญในเรื่อง Computer Science และการใช้เอไอ ซึ่งจะต้องปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีควบคู่กันไป
ซีอีโอเครือซีพี มองว่าการปรับองค์กรต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนา “คน” โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ต้องมีการทำงานข้ามบียู ข้ามองค์กร ซึ่งซีพีทำ 100% เพื่อให้พนักงานกล้าออกจากคอมฟอร์ทโซนมาเรียนรู้สิ่งใหม่นอกเหนือจากงานที่ทำอยู่ประจำ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน และจะทำให้พวกเขาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้องค์กรเพิ่มขึ้น เพราะถ้าให้คนรุ่นใหม่ทำงานเหมือนเดิม 3 ปีจากคนอัจฉริยะกลายเป็นคนธรรมดา จะต้องให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
“การปรับตัวให้อยู่รอดในยุคที่มีความท้าทายมากมายต้องให้ empowerment คนรุ่นใหม่ เพราะตอนนี้คือยุคของพวกเขา และต้องสร้างความร่วมมือในแบบ Chick to Click to Collaborate สร้างความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เราไม่จำเป็นต้องแข่งทุกเรื่อง แต่ต้องสร้างร่วมมือกันมากขึ้นทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประะชาสังคม เรื่องของความร่วมมือจึงเป็นประเด็นใหญ่และสำคัญในการตอบโจทย์การขับเคลื่อนความยั่งยืนให้ไปถึงเป้าหมาย ถ้าร่วมมือกันก็หักโค้งได้ทัน”
พร้อมเน้นย้ำปิดท้ายว่า ในยุคนี้ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ภาครัฐจะต้องเอาจริงเอาจังกับการวางโครงสร้างด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น และต้องมีการวางเป้าหมายความยั่งยืนที่ชัดเจนโปร่งใส มี action plan และเปิดเผยข้อมูลนำเสนอต่อสาธารณะ โดยในยุคนี้ต้องให้คนทำสื่อไม่ว่าจะเป็นสื่อหลัก สื่อออนไลน์ ต้องมาเป็น facilitator ในการร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วย