November 15, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

นอสตร้า โลจิสติกส์เปิดตัว “นอสตร้า เทเลเมติกส์ โซลูชันใหม่เพื่อการขนส่งในยุค 4.0 แนะใช้ดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นบริหารธุรกิจธุรกิจขนส่งปรับตัว

นอสตร้า โลจิสติกส์ โซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่งและโลจิสติกส์ โดยบริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เปิดตัว "นอสตร้า เทเลเมติกส์" โซลูชันใหม่ที่ใช้ IoT (Internet of Things) ในการเชื่อมต่อและสื่อสารกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในรถที่เน้นเรื่องการตรวจสอบและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในระหว่างการขับรถ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน

โดยสามารถแจ้งเตือนคนขับได้แบบเรียลไทม์ และเก็บข้อมูลของระบบเครื่องยนต์ในการใช้รถตามการใช้งานจริง เพื่อประเมินสภาพรถขนส่งและวางแผนการบำรุงรักษารถ รวมทั้งแสดงรายงานผลในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับสรุปผลการวิ่งงานขนส่ง พร้อมรายงานประเมินคะแนนพฤติกรรมผู้ขับขี่ ตลอดจนคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้รถ มั่นใจในอนาคตเทเลเมติกส์จะกลายเป็นระบบพื้นฐานที่ประกอบมาพร้อมกับตัวรถจากโรงงานผลิต โดย Berg Insight คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนอุปกรณ์เทเลเมติกส์ติดตั้งในรถขนส่งมากถึง 100 ล้านชุดภายในปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 159 ล้านชุดในอีก 2 ปีข้างหน้า ชี้ความท้าทายของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง คือ การขนส่งได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด ในขณะที่มีความปลอดภัยตลอดทุกขั้นตอนของการขนส่งรวมทั้งการปรับตัวโดยการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่นในทุกส่วนของธุรกิจเพื่อบริหารและจัดการงานขนส่ง ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุค4.0 เผยการติดตั้งอุปกรณ์ GPS เพื่อติดตามรถเพียงอย่างเดียวในปัจจุบัน ไม่เพียงพอกับการแข่งขันในธุรกิจขนส่ง

นางสาวปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการยุค 4.0บริษัทฯ ได้มีการพัฒนาโซลูชัน ต่อยอดระบบ นอสตร้า โลจิสติกส์เดิม ให้มากกว่าระบบติดตามรถทั่วไป โดยได้เปิดตัว "นอสตร้า เทเลเมติกส์" โซลูชันใหม่ที่ใช้IoT (Internet of Things) ในการเชื่อมต่อและสื่อสารกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในรถที่เน้นเรื่องการตรวจสอบและป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายในระหว่างการขับรถ เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน โดยสามารถแจ้งเตือนคนขับได้แบบเรียลไทม์ และเก็บข้อมูลของระบบเครื่องยนต์ในการใช้รถตามการใช้งานจริง 

เพื่อประเมินสภาพรถขนส่งและวางแผนการบำรุงรักษารถ รวมทั้งแสดงรายงานผลในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับสรุปผลการวิ่งงานขนส่ง พร้อมรายงานประเมินคะแนนพฤติกรรมผู้ขับขี่ ตลอดจนคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้รถ 

โดยในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีเทเลเมติกส์จะเข้ามาสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญให้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่ง และเป็นเทรนด์ที่ต่อยอดนวัตกรรมการขนส่ง เป็นระบบหรืออุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบมาพร้อมกับตัวรถจากโรงงานผลิต โดยจากการคาดการณ์ของBerg Insight ได้มีการทำนายจะมีจำนวนอุปกรณ์เทเลเมติกส์ติดตั้งในรถขนส่งมากถึง 100 ล้านชุดภายในปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 159 ล้านชุดในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยล่าสุด บริษัทฯ บางส่วนได้ทำการติดตั้งระบบนอสตร้า เทเลเมติกส์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าภายในปีหน้า ฐานลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา มีความสนใจที่จะติดตั้งระบบนอสตร้า เทเลเมติกส์ เพิ่มเติมจำนวนกว่า 100%

"ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation ที่มีกระบวนการทำงานและการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลและนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเมินผล รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกันระหว่างระบบต่าง ๆ ได้ ทุกธุรกิจต่างต้องปรับตัว โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจการขนส่ง บริษัทฯ ในฐานะผู้ให้บริการระบบบริหารและติดตามรถ จึงนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ ผ่านการพัฒนาระบบนอสตร้า โลจิสติกส์ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สามารถรองรับงานขนส่งได้ดีขึ้น เช่น วางแผนเส้นทางจัดส่งให้รถวิ่งส่งของในบริเวณใกล้กันได้และจัดลำดับก่อน-หลังการส่งสินค้า ดูแลพฤติกรรมการขับรถให้ปลอดภัยและไม่เกิดการทุจริต เพิ่มความสามารถในการบริการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าจากข้อมูลการติดตามรถขนส่ง ตลอดจนด้านการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยล่าสุดมีการวางระบบไปแล้วกว่า 400 ราย ตั้งเป้าภายในปี 2561 รายได้รวมเพิ่มอีก 15%" นางสาวปิยวดี กล่าว

ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่า ธุรกิจขนส่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ตอบรับการปรับตัวเข้าสู่กระบวนการทำ Digital Transformation เป็นกลุ่มอันดับต้น ๆ และมีการลงทุนในเทคโนโลยีหลากหลายระบบ เนื่องจากกระบวนการขนส่งถือเป็นกระบวนการใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่ทำหน้าที่ควบคุมงานขนย้าย รวบรวม และกระจายสินค้าและบริการ จากต้นทางไปสู่ปลายทางซึ่งมีตัวแปรหลายส่วนเกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นลูกค้า สินค้า คลังสินค้า จุดกระจายสินค้า และรถขนส่งสินค้า ดังนั้น ภายใต้ระบบการบริหารงานที่มีความซับซ้อน จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนให้การจัดการเหล่านี้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

บริษัท จีไอเอส จำกัด ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยี GPS Tracking หรือ Fleet Management ยินดีอย่างยิ่งในการสนับสนุนเพื่อการพัฒนา และนำเสนอโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน เพื่อสอดรับกับข้อกำหนดด้านการติดตั้งระบบ GPS ภายใต้ "โครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS" ของกรมการขนส่งทางบกและกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย ยกระดับคุณภาพสังคมโดยรวม และเพื่อให้อุตสาหกรรมการขนส่งไทยได้พัฒนารุดหน้านานาประเทศ นางสาวปิยวดี กล่าวเสริม

อนึ่ง จากข้อกำหนดของกรมขนส่งทางบกในปี 2559 ที่กำหนดให้รถขนส่งทุกคันต้องติดจีพีเอส และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถ เพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการในการป้องกัน ดูแลความปลอดภัย และลดอุบัติเหตุ ซึ่งความท้าทายของผู้ให้บริการเทคโนโลยีโซลูชันสำหรับธุรกิจขนส่ง คือการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในด้านการขนส่งได้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด ในขณะที่ต้องมีความปลอดภัยตลอดทุกขั้นตอนของการขนส่ง

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 24 September 2020 07:19
สุเทพ ชื่นนาทกุล

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM