November 15, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

บริษัทผลิตชิ้นส่วนในญี่ปุ่น ตั้งเป้าใช้ 3D Printer แทนแม่พิมพ์ เปิดสายการผลิตสำหรับอากาศยานภายในปี 2022

การใช้ 3D Printer ในอุตสาหกรรมการผลิตจะมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่นบริษัทผลิต Precision Parts ในประเทศญี่ปุ่น  “Ifuku Seimitsu” ตั้งเป้า “เลิกใช้แม่พิมพ์” และเปิดสายการผลิตที่ใช้ 3D Printer ผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับอากาศยานภายในปี 2022

เพื่อที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลาย และทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วนจำนวนน้อยได้มากขึ้น ทำให้บริษัทฯ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเติบโตของธุรกิจด้านอากาศยานได้

เดิมทีแล้ว Ifuku Seimitsu เป็นผู้ผลิต Precision Parts สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และเซมิคอนดัคเตอร์ด้วยเครื่อง Machining Center, Wire Cut EDM และอื่น ๆ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักคือชิ้นส่วนเครื่องยนต์ แผงวงจร รวมไปถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์

ส่วนชิ้นส่วนอากาศยานนั้นมอบหมายให้บริษัทลูกในประเทศจีนเป็นผู้ผลิต ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการผลิตเข็มขัดนิรภัยสำหรับเครื่องบินมาก่อน

เมื่อปี 2016 Ifuku Seimitsu ได้เข่าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “Kobe Aero Network” องค์กรซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันในการรับออเดอร์ชิ้นส่วนอากาศยาน ทำให้บริษัทมียอดขายสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยแนวทางที่เปลี่ยนไปเป็นการเน้นขยายตลาดไปยังภาคอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มเติม

กรรมการผู้จัดการบริษัท Mr. Kouji Matsuda กล่าวว่า “การตัดสินใจเข้าร่วมกับ Kobe Aero Network ทำให้บริษัทเราค้นพบเป้าหมายใหม่ คือการเข้าสู่อุตสาหกรรมอากาศยานอย่างจริงจัง” และเกิดแนวคิดการใช้ 3D Printer ในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ซึ่งมีกำหนดการพัฒนากระบวนการผลิตและการตรวจสอบในอนาคต โดยเหตุผลที่ตัดสินใจใช้ 3D Printer คือ “การผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องจักรแบบที่แล้วมาสิ้นเปลืองวัสดุและเวลามากเกินไป”

ในช่วงเวลา 3 ปีนับจากนี้ ทางบริษัทมีนโยบายจัดหา 3D Printer เพื่อติดตั้งในโรงงานจำนวน 4 เครื่อง เพื่อให้มีกำลังผลิตชิ้นส่วนครั้งละ 500 – 1,000 ชิ้นต่อล็อต และหลังลงทุนแล้วเสร็จ จึงจะทำการจัดหา 3D Printer เพิ่มเติมให้กับโรงงานในประเทศจีน และเริ่มผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา : mreport

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 13:16
ชุติมา ธรรมเที่ยง

Author : เกาะติดข่าวขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการและวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ การควบคุม และศุลกากร

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM