IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ได้รายงานผลการดำเนินงานปี 2565 โดยเผยตัวเลขผลประกอบการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันท์ 2566 ที่ผ่านมาว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมในปี 2565 เป็นจำนวน 30,572.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เป็นจำนวน 2,544.96 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9.08% เนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเริ่มคลี่คลายส่งผลทำให้รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
โดยรายได้หลักที่สำคัญ ได้แก่ รายได้จากสัญญาก่อสร้างจำนวน 30,264.77 ล้านบาท รายได้ค่าเช่า 60.82 ล้านบาท ผลกำไรจากการตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นมูลค่ายุติธรรมจำนวน 36.46 ล้านบาท และรายได้เงินปันผลจำนวน 104.08 ล้านบาท
คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ และคุณจารุณัฐ จิรรัตน์สถิต บริษัท ซิโน-ไทย โฮลดิ้ง จำกัด และคุณณัฐพล มณีเนตร และคุณสราวุท สุระพะกิจ บริษัท ไซเท็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามร่วมทุนจัดตั้งบริษัท ไซเท็ม เอสที เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด พร้อมด้วย คุณกฤษณ ไทยดำรงค์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ไซท์ เพรพพาเรชั่น แมเนจเมนท์ จำกัด เข้าร่วมพิธีลงนามฯ ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 30 อาคารซิโน-ไทยฯ ทาวเวอร์ อโศก กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ STEC ได้ปรับกลยุทธ์เพื่อความครอบคลุมและยั่งยืน โดยจะเปิดรับงานภาคเอกชนมากขึ้น พร้อมทั้งรับงานที่ครอบคลุมและหลากหลายมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา(28 ธันวาคม 2565) ก็ได้มีการลงนามสัญญาร่วมทุน ระหว่าง บริษัท ซิโน-ไทย โฮลดิ้ง จำกัด กับ บริษัท ไซเท็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อจัดตั้งบริษัท ไซเท็ม เอสที เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจ บำรุงรักษา บริหารจัดการระบบประกอบอาคาร และงานระบบพิเศษต่างๆ โดยมีทุนเริ่มต้น 5,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท โครงสร้างการถือหุ้นคือ บริษัท ซิโน-ไทย โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 30 (1,500,000 บาท) ส่วนบริษัท ไซเท็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 70 (3,500,000 บาท) โดยจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อเป็นการขยายกิจการไปในประเภทธุรกิจบำรุงรักษา บริหารจัดการระบบ ประกอบอาคารและงานระบบพิเศษ ทั้งนี้เป็นการผนึกกำลังของทั้ง 2 บริษัทที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพทางธุรกิจ ที่มุ่งเป้านำพาบริษัทไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการเริ่มต้นความสำเร็จในอนาคต
ก่อนหน้านี้ นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เปิดเผยว่าปี 2565 บริษัทฯ สามารถเข้าพื้นที่งานก่อสร้างในโครงการต่างๆ ได้มากขึ้น หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด – 19 คลี่คลาย ทำให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีงานในมือ (Backlog) ยังคงอยู่ในระดับ 1.1 แสนล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ 3-4 ปี ระหว่างปี 2566-2570 และจาก Backlog ที่มีอยู่ในจำนวนมากนี้ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ จะมีรายได้เติบโตมากกว่าปี 2565 อย่างแน่นอน
งานก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน สัญญาที่ 2 ช่วงหนองปลาไหล-หัวหิน ความคืบหน้าอยู่ที่ 95.80%
ทั้งนี้แม้ภาพรวมรายได้ปีนี้จะมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น แต่ต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 10-20% นั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อกำไรปีนี้ รวมทั้งตอนนี้ภาวะการขาดแคลนแรงงานเป็นอีกผลกระทบหนึ่งที่กำลังแก้ปัญหา ซึ่งบริษัทฯ จะพยายามนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าจะผ่อนปรนได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงมีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งในอนาคตก็ต้องเพิ่มเครื่องจักร และการเปิดทำงานล่วงเวลา เพื่อชดเชยการขาดแคลนแรงงาน โดยบริษัทจะมีการเข้าไปรับงานภาคเอกชนมากขึ้น อาทิ งานก่อสร้างอาคาร งานขยายโรงงาน ซึ่งจะมีออกมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการเจรจาที่จะรับงานเอกชนขนาดใหญ่อยู่ด้วย หากได้รับงานดังกล่าวก็จะสนับสนุนงานในมือให้เพิ่มขึ้น และเป็นกลุ่มงานที่มาร์จิ้นสูงอีกด้วย
โครงการเมกะโปรเจคในปี 2566 ของภาครัฐนั้น เรามองว่าต้องติดตามการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่อาจจะส่งผลต่อการประกวดราคาโครงการให้ล่าช้าออกไปบ้าง แต่เชื่อว่ารัฐยังคงต้องใช้เรื่องการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
“มีความล่าช้าไปบ้างในหลายโครงการตามสัญญาสืบเนื่องจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา แต่ตอนนี้คลี่คลายแล้ว บริษัทสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง เชื่อว่าการรับรู้จะทำได้อย่างน้อยตามเป้าหมายการรับรู้รายได้ เพื่อรักษาระดับงานในมือด้วย แต่การรับงานของบริษัทจะเน้นงานที่มีคุณภาพมากขึ้น การรับงานที่มีมาร์จิ้นสูง ที่ผ่านมาบริษัทก็เดินหน้าเรื่องนี้ และพยายามที่จะหาธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมด้วย เพื่อกระจายฐานรายได้ เพราะธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีความผันผวน มีปัจจัยกดดันบ้าง” นายภาคภูมิ กล่าว
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดย คุณจารุณัฐ จิรรัตน์สถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานปฏิบัติการ 2 และคุณอมรเทพ ลัทธิ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ 2 เข้าร่วมพิธีปิดหลังคาโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซน C ซึ่งก่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือแค่เพียงงานปิดเปลือกอาคาร งานด้านสถาปัตยกรรมภายใน งานตกแต่งภายใน และงานครุภัณฑ์ลอยตัว
สำหรับการประมูลงานในปี 2565 นี้ทั้งงานส่วนของภาครัฐ และเอกชน ปัจจุบันมีงานที่บริษัทฯ ชนะการประมูลและได้ลงนามในสัญญางานก่อสร้างเข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ส่งผลให้มูลค่างานในมือ (Backlog) เพิ่มขึ้นโดยงานในมือแตะที่ 110,000 ล้านบาทในตอนนี้ โดยบริษัทฯพยายามที่จะปรับตัว ทั้งการลดต้นทุน การใช้อุปกรณ์ที่สำเร็จรูปมากขึ้น การเจรจากับภาคเอกชนถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เข้าใจถึงต้นทุนส่วนเพิ่ม ส่วนงานภาครัฐอยากให้มีการพิจารณาในเรื่องของค่า K เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทก็จะไม่ได้เข้าไปแข่งขันด้านราคามีการเลือกรับงานที่มีคุณภาพมากขึ้น เน้นงานที่มีมาร์จิ้นสูง และเชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น ตั้งเป้าอัตรากำไรขั้นต้นที่ระดับ 7% ภายใน 1-2 ปีนี้ รวมไปถึงการหากธุรกิจใหม่เข้ามาเสริมอีกด้วย
ส่วนการประมูลงานโครงการของภาครัฐต้องยอมรับว่าขณะนี้มีความล่าช้าไปบ้าง แต่บริษัทยังสนใจติดตามอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการสัมปทานต่างๆ ของภาครัฐ ทั้ง กรมทางหลวง การทางพิเศษ การประมูลโครงการก่อสร้างระดับใหญ่ของราชการ และการประมูลโครงการรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ เป็นต้น แต่ทั้งนี้การเข้าไปรับงานของบริษัทจะพยายามเข้าไปรับการในส่วนของการบำรุงรักษา (Maintenance) การดูและระบบ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ที่เป็นรายได้ประจำ (Recurring Income) ด้วย เพราะต้องยอมรับว่างานก่อสร้างค่อนข้างมีความผันผวน ทั้งการประมูลโครงการ ต้นทุนการก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมไปถึงต้นทุนค่าแรงงาน ที่ขณะนี้มีการปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำในอัตรา 5-8% ซึ่งบริษัทมีแรงงานที่รับอัตราค่าแรงขั้นต่ำกว่า 70% ทำให้ได้รับผลกระทบในส่วนนี้บ้าง แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้ไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย ปรับขึ้นในอัตราที่ยอมรับได้ และก็เข้าในถึงสถานการณ์เรื่องของค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ที่ปรับเพิ่มขึ้นในขณะนี้
“โครงการเมกะโปรเจคในปี 2566 ของภาครัฐนั้น เรามองว่าต้องติดตามการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ว่าพรรคใดจะได้เป็นรัฐบาล ซึ่งการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่อาจจะส่งผลต่อการประกวดราคาโครงการให้ล่าช้าออกไปบ้าง แต่เชื่อว่ารัฐยังคงต้องใช้เรื่องการลงทุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตนเชื่อว่ามูลค่าโครงการที่ภาครัฐจะออกมาประกวดราคาในปีหน้าจะไม่น้อยไปกว่าปีนี้ และโดยปกติภาครัฐจะประกาศลงทุนอยู่ในระดับ 5-6 แสนล้านบาทต่อปี” นายภาคภูมิ กล่าวทิ้งทาย
ด้าน บล.คิงส์ฟอร์ด ประเมินหุ้น STEC โดยให้คำแนะนำ “ซื้อ ” ให้ราคาเป้าปี66 ที่ 15.60 บาท (Up-Side = 15%) โดยรวมปี 2565 STEC มีกําไรสุทธิ 857 ล้านบาท เติบโต 21%YoY มุมมองธุรกิจปี 2566 สดใสมากขึ้นหลัง ปัจจัยกดดันเริ่มผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแรงงานขาดแคลน และราคาเหล็กที่ปรับตัวลงต่ำกว่าราคา เฉลี่ยในปีก่อนพื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง ทั้งในมิติของ Backlog ที่มีมากกว่า 1 แสนล้านบาท รองรับ การสร้าง รายได้ 3 ปีข้างหน้า บวกกับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ความน่าสนใจ เพราะซื้อขายที่ระดับ PBV ตํ่ากว่า ค่าเฉลี่ยในอดีตมาก ประเมิน Fair Value อิง PBV 1.4 เท่า
STEC กำไรงวด 4Q65 ที่314 ลบ. (+127%QoQ, -16%YoY). กําไรสุทธิงวด 4Q22 อยู่ที่314ลบ. (-16%YoY,+127%QoQ) ถ้าไม่รวมรายการพิเศษอย่างกําไรจากการวัดมูลค่ายุติธรรมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 36 ลบ. (4Q21 มีมูลค่า 141 ลบ.)จะมีกําไรปกติ 278 ลบ. (-18%YoY,+101%QoQ) สาเหตุหลักมาจากกําไรขั้นต้นที่ปรับตัวดีขึ้น แสดงให้เห็นถึงธุรกิจเริ่มฟื้นตัวจากแรงกดดันของราคาวัสดุก่อสร้างที่เริ่มผ่อนคลาย ซึ่งน่าจะทําให้ 1Q66 มีทิศทางรายได้ที่ดีขึ้นจากแนวโน้มของ ราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลงจากราคาเหล็กที่ปรับตัวลดลง
กำไรปี 65 STEC มีกำไรสุทธิ 858 ล้านบาท เติบโต 21%YoY มุมมองธุรกิจปี 2566 สดใส มากขึ้นหลังปัจจัยกดดันเริ่มผ่อนคลาย มุมมองธุรกิจปี 2566 สดใสมากขึ้นจากปัจจัยกดดันที่ผ่อนคลายลง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านแรงงาน หลัง STEC สามารถนําเข้าแรงงานเข้ามาทดแทนในส่วนที่ขาดแคลนได้ รวมไปถึงราคาเหล็กปัจจุบันที่ปรับตัว ลดลงช่วยลดแรงกดดันด้านต้นทุน โดยการรับรู้รายได้ก่อสร้างปีนี้ น่าจะเห็นการเติบโตได้ไม่ตํ่ากว่า 10%YoY จาก Backlog ที่มีกว่า 1.1 แสนล้านบาท ซึ่งหลายโครงการจะเข้าสู่ช่วงของการรับรู้รายได้มากขึ้น อย่างเช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ นอกจากนี้ด้านการเติบโตของรายได้ก่อสร้างยังต้องต้อดูความคืบหน้าโครงการก่อสร้าง อาคารผู้โดยสารสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งมีมูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท ว่าจะสามารถเริ่มงานได้เมื่อใด เนื่องจาก บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด ยังคงอยู่ระหว่างการเจรจากับสํานักงาน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เกี่ยวกับการจ่ายผลตอบแทนให้ภาครัฐและ มีประเด็นเชื่อมโยงกับการเริ่มดําเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่มซีพี ที่ยังมี ความล่าช้า
คำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าปี 66 ที่15.60 บาท (Up-Side = 15%) ซึ่งปี 65 STEC มีกําไรสุทธิ 857 ล้านบาท เติบโต 21%YoY มุมมองธุรกิจปี 2566 สดใสมากขึ้นหลัง ปัจจัยกดดันเริ่มผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแรงงานขาดแคลน และราคาเหล็กที่ปรับตัวลงต่ํากว่าราคา เฉลี่ยในปีก่อน พื้นฐานธุรกิจแข็งแกร่ง ทั้งในมิติของ Backlog ที่มีมากกว่า 1 แสนล้านบาท รองรับการสร้างรายได้ 3 ปีข้างหน้า บวกกับฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ความน่าสนใจ เพราะซื้อขายที่ระดับ PBV ตํ่ากว่า ค่าเฉลี่ยในอดีตมาก ประเมิน Fair Value อิง PBV 1.4 เท่า ให้ราคาเหมาะสม 15.60 บาท
สภาวิศวกรเยี่ยมชมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมี คุณวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร ประธานกรรมการบริหาร และในฐานะกรรมการสภาวิศวกร พร้อมด้วย คุณวรัช กุศลมโนมัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานปฏิบัติการ คณะผู้บริหาร และทีมงานวิศวกร ให้การต้อนรับ คณะผู้เยี่ยมชมจากสภาวิศวกร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร ร่วมด้วย คณะกรรมการสภาวิศวกร และวิศวกร ร่วมเยี่ยมชมและเข้ารับฟังบรรยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รวมทั้งขึ้นทดสอบการเดินรถ จากสถานีศรีเอี่ยม (YL17) ไปยังสถานีศรีนครินทร์ 38 (YL14)
ในการเยี่ยมชมโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ ในครั้งนี้ ทางสภาวิศวกร ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีข้อซักถามในเรื่องของการก่อสร้าง ซึ่งรถไฟฟ้าโมโนเรล เป็นรถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยว อาศัยการเคลื่อนที่ของล้อยางคร่อมบนคานทางวิ่ง เสียงจึงเบากว่าการขับเคลื่อนด้วยล้อเหล็ก และให้ความสำคัญในมาตรฐานความปลอดภัย ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองฯ จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรยกระดับการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และช่วยบรรเทาปัญหาจราจร รวมถึงเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ซิโน-ไทย คืนกำไรสู่สังคม
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดย คุณประเสริฐ คงเคารพธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการส่วนงานการตลาด เป็นตัวแทน คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ เข้ารับประกาศเกียรติคุณ ในโครงการจ้างงานบัณฑิตพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2564 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัชด ชมภูนิช รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นผู้มอบ เพื่อเป็นการขอบคุณที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมในครั้งนี้ โดยทาง สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถาบันพัฒนาระบบบริการสุขภาพองค์รวม (สพบ.) ดำเนินการภายใต้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสธ.) ระหว่างเดือนมีนาคม - กันยายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตพิเศษมีงานทำ เนื่องจากอัตราการว่างงานในปัจจุบันสูงขึ้นจากหลายปัจจัย รวมถึงสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งบัณฑิตพิเศษได้รับผลกระทบด้วยข้อจำกัดด้านร่างกายหรือการเรียนรู้ ทำให้โอกาสในการได้งานทำน้อยกว่าบัณฑิตทั่วไป
ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เข้าร่วมออกบูธรับสมัครงาน ในงาน KU Job Fair & Education 2023 มหกรรมจัดหางานครั้งยิ่งใหญ่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย คุณลัดดา สัจพันโรจน์ ผู้จัดการแผนกบริหารงานบุคคล พร้อมด้วย วิศวกร และพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล ระหว่างวันที่ 15 - 16 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 17.00 น. โดยมีตำแหน่งงานจำนวนมากที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้าร่วมสมัครงาน ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ บมจ. ซิโน-ไทยฯ มีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตพิเศษ และเปิดโอกาสให้มีงานทำจนมีคุณภาพชีวิตอยู่ในสังคมได้เต็มศักยภาพ