November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

“ซีแพค กรีน โซลูชัน” โชว์เคส “สะพานเฉลิมพระเกียรติ” สะพานคอนกรีตบางที่สุดแห่งแรกในเมืองไทยที่ใช้นวัตกรรม “CPAC ULTRACRETE SOLUTION”

ซีแพค กรีน โซลูชัน โชว์เคส “สะพานเฉลิมพระเกียรติ” สะพานที่บางที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย และอาเซียน ซึ่งตั้งอยู่ ณ หน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในบริเวณสำนักงานใหญ่เอสซีจี บางซื่อ ชูความโดดเด่นด้านนวัตกรรม “CPAC ULTRACRETE SOLUTION ที่ใช้เทคโนโลยี UHPC (Ultra High Performance Concrete) ด้วยการออกแบบโครงสร้างและใช้วัสดุคอนกรีตสมรรถนะสูง ซึ่งเป็นเทรนด์การก่อสร้างสะพานยุคใหม่ของโลก คาดจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สามารถพลิกโฉมและยกระดับวงการอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยสู่ระดับสากล ที่สำคัญยังคงยึดหลักกลยุทธ์ Green Construction หรือการก่อสร้างสีเขียว ตอบโจทย์ด้าน Low Carbon Construction เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการก่อสร้างเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน 

นายชนะ ภูมี Vice President  Cement and Green Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เปิดเผยว่า ซีแพค กรีน โซลูชัน ได้ร่วมก่อสร้าง สะพานเฉลิมพระเกียรติ’ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่าง ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับถนนภายในบริเวณสำนักงานใหญ่เอสซีจี บางซื่อ โดยการก่อสร้างครั้งนี้ยังคงเป็นไปตามหลัก Green Construction หรือการก่อสร้างสีเขียว โดยใช้ระบบ Prefabrication และเทคโนโลยีดิจิทัล จึงช่วยลดจำนวนคน ลดเวลาการทำงาน ควบคุมงบประมาณได้ สำหรับโซลูชันหลักที่นำเข้ามาในงานนี้คือ CPAC ULTRACRETE SOLUTION โดยใช้เทคโนโลยี UHPC (Ultra High Performance Concrete) ซึ่งเป็นคอนกรีตสมรรถนะสูงร่วมกับเทคโนโลยีการออกแบบโครงสร้างแบบใหม่ ทำให้สามารถลดขนาดโครงสร้าง เหมาะกับการใช้งานก่อสร้างโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักสูง และยังสามารถลดการปล่อย  ก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นไปตามแนวทางด้าน Low Carbon Construction  

โดยการก่อสร้างครั้งนี้ยังคงเป็นไปตามหลัก Green Construction หรือการก่อสร้างสีเขียว โดยใช้ระบบ Prefabrication และเทคโนโลยีดิจิทัล จึงช่วยลดจำนวนคน ลดเวลาการทำงาน ควบคุมงบประมาณได้ 

“ความพิเศษของการนำเทคโนโลยี UHPC (Ultra High Performance Concrete) มาใช้ เพราะสามารถนำมาปิดจุดอ่อนของเทคโนโลยีแบบเดิมได้ เนื่องจาก UHPCใช้แรงอัดได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไปถึง เท่า และยังรับแรงดึง ได้เสมือนเหล็ก โดยเรามีวิธีการจัดการเรื่องการบ่ม ที่เป็นระบบบ่มไอน้ำ เพื่อให้การพัฒนากำลังอัดเพิ่มขึ้นได้เร็ว นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ยังช่วยลดขนาดหน้าตัดของโครงสร้างสะพานบางลงได้ไม่น้อยกว่า 30% ช่วยให้ การทำงานรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม รวมถึงลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดกระบวนการก่อสร้างได้มากกว่า 20% เมื่อเทียบกับการก่อสร้างในไซต์งานปกติ และอีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่นคือ เบา ทนทาน และงดงาม” 

สำหรับ “สะพานเฉลิมพระเกียรติ” มีความยาว 30 เมตร ใช้ระยะเวลาการก่อสร้าง 9 เดือน โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมกราคม 2564 แล้วเสร็จเดือนกันยายน 2564 โครงสร้างของสะพานเป็นการวางฐานราก 2 ฝั่ง โดยไม่มีเสาค้ำกลางน้ำหรือเสาคานกลางสะพาน และด้วยนวัตกรรมคอนกรีตดังกล่าวที่ไม่ต้องเสริมเหล็ก ทำให้ตัวสะพานมีความบางมาก โดยคานสะพานช่วงที่บางที่สุดหนาเพียง 30 เซนติเมตร ส่วนพื้นของสะพานเฉพาะงานโครงสร้างไม่รวม งานสถาปัตย์หนาเพียง 2.5 เซนติเมตร ซึ่งนับเป็นที่แรกในประเทศไทย

ทั้งนี้การออกแบบและการผลิตดำเนินการภายในประเทศทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังใช้ระบบ Digitization จัดการและบริหารการก่อสร้างด้วย CPAC BIM ที่นำข้อมูลการก่อสร้างใส่ไว้ในรูปแบบโมเดล 3 มิติ ตั้งแต่การออกแบบ ก่อสร้าง ตลอดจนการจัดการหลังการก่อสร้าง และ CPAC Drone Solution โดรนบินสำรวจและติดตามความคืบหน้าได้อย่างแม่นยำ โดยนวัตกรรมทั้งหมดช่วยให้การก่อสร้างได้เร็วกว่าแผน 15% ลดของเสียจากงานก่อสร้างได้ 10% และใช้แรงงานเพียงครึ่งหนึ่งของการก่อสร้างปกติ  

สะพานเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นแลนด์มาร์คในแง่ของการก่อสร้างอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการ  อัปเดตเทรนด์เทคโนโลยีการก่อสร้าง สามารถเข้ามาเยี่ยมชมและปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีการก่อสร้าง เพราะถือเป็นสะพานแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้วัสดุที่มีความพิเศษ และใช้นวัตกรรมการก่อสร้างสมัยใหม่ที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยสู่ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG 4 Plus ของเอสซีจี (มุ่ง Net Zero  Go Green  Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ภายใต้ความเป็นธรรม โปร่งใส) ซึ่งจะทำให้วงการก่อสร้างของประเทศไทยสามารถทัดเทียมในระดับสากล นับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของ ซีแพค กรีน โซลูชัน กับการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสู่ Green Construction Solution นายชนะ กล่าวสรุป 

ภาพ “สะพานเฉลิมพระเกียรติ”  ขณะดำเนินการก่อสร้าง

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชม สะพานเฉลิมพระเกียรติ” และปรึกษานวัตกรรม “CPAC ULTRACRETE SOLUTION” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02-555-5555   

#ซีแพค #CPAC #CPACGREENSOLUTION #CPACUltraConcrete #UHPC #GreenConstructionSolution 



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Tuesday, 29 November 2022 06:57
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM