November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กรมเจ้าท่า ชูท่าเรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เร่งแก้วัชพืชกีดขวางทางน้ำ เตรียมแผนขุดลอกปี 64

กรมเจ้าท่า แถลงนโยบาย “ยุทธศาสตร์การพัฒนาท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยว” ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมจับมือ GISTDA เพื่อร่วมพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำ เร่งแก้ปัญหาผักตบและวัชพืชในแม่น้ำ ที่กีดขีดขวางทางน้ำและการสัญจรทางน้ำเพื่อให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก เริ่มดำเนินแผนขุดลอกปีงบประมาณ 2564

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า และ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการจิสด้า ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ และพัฒนานวัตกรรม ในการกำกับดูแล และพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า กรมเจ้าท่า มีแผนงานและนโยบายการพัฒนาท่าเรือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวทางน้ำในมิติต่าง ๆ อาทิ การยกระดับท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นสถานีเรือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ สามารถเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง รถ ราง เรือ ระบบรถไฟฟ้า และระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายคมนาคมแบบไร้รอยต่อ ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนและช่วยลดการแออัดของการจราจร

กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันจากเชื้อไวรัส Covid-19 พร้อมรับมือการท่องเที่ยวหลังโควิด ตามนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวของชาติ

โดยจะส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการเรือไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นอีกทางเลือกของการใช้พลังงานที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มทดลองให้บริการแล้วตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือโดยสารทางทะเลให้มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวทางทะเล โดยร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจในแม่น้ำเจ้าพระยา และธุรกิจด้านเรือสำราญ เพื่อเตรียมพร้อมในการส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวทางแม่น้ำและทางทะเล ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ภาพรวมการท่องเที่ยวทางแม่น้ำ และทางทะเลในปัจจุบัน และคาดการณ์ถึงประโยชน์ที่ภาคการท่องเที่ยวจะได้รับจากแผนพัฒนาท่าเรือของกรมเจ้าท่าในอนาคต

การท่องเที่ยวทางน้ำของประเทศ สามารถสร้างรายได้หลายหมื่นล้านบาทต่อปี ภารกิจของกรมเจ้าท่าในการพัฒนาและปรับปรุงท่าเรือ จึงเป็นปัจจัยหลักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำ

 “โดยกรมเจ้าท่า พร้อมเดินหน้าภารกิจ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านการท่องเที่ยวของประเทศ และเป็นการสนับสนุนตามแนวทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ในด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายวิทยา กล่าว

ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ลงนามร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า GISTDA ทั้งนี้เป็นการร่วมมือด้านวิชาการ และพัฒนานวัตกรรม ในการกำกับดูแล และพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางน้ำ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ 

"การลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ ระหว่างกรมเจ้าท่า และ จิสด้า ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากสองหน่วยงานมีความประสงค์จะร่วมมือในการศึกษา วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการข้อมูล และ การมีส่วนร่วมตามภารกิจของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งจะมีการสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ข้อมูลการกำกับดูแลด้านการขนส่งทางน้ำ พร้อมนำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการบริหารจัดการขยะและมลพิษทางทะเล ด้านการริหารการกัดเซาะชายฝั่ง ด้านการกำกับดูแลการรุกล้ำลำน้ำ ด้านการบริการจัดการผักตบชวา และภารกิจอื่น ๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมภารกิจทางด้านการกำกับและดูแลระบบขนส่งทางน้ำ และสร้างทักษะองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นการผลักดัน ขับเคลื่อนและ กำกับการดำเนินงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม"  อธิบดีกรมเจ้าท่ากล่าว

ด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ทาง GISTDA ได้ร่วมมือกับกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการ และพัฒนานวัตกรรมในการกํากับดูแล และพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อร่วมมือกันในการศึกษา พัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการกำกับดูแลและพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ ณ ท่าเทียบเรือกรมเจ้าท่า กรมเจ้าท่า

 

การร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ GISTDA และกรมเจ้าท่า จะมีความร่วมมือกัน โดยได้นำเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศมาใช้เพื่อการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการขยะและมลพิษทางน้ำ ด้านการบริหารการกัดเซาะชายฝั่ง ด้านการกำกับดูแลการรุกล้ำลำน้ำ ด้านการบริหารจัดการผักตบชวา เป็นต้น ซึ่งทั้งสองหน่วยงานเห็นตรงกันว่าภารกิจดังกล่าวจะเป็นการส่งเสริมภารกิจทางด้านการกำกับและดูแลระบบขนส่งทางน้ำ และสร้างทักษะองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของการทำงาน และเล็งเห็นถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ยั่งยืน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้แก่ประเทศ

“ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ นอกจาก GISTDA จะสนับสนุนข้อมูลจากดาวเทียม ภูมิสารสนเทศ และบุคลากรร่วมกันแล้ว เรายังมุ่งเน้นการผลักดัน ขับเคลื่อน และร่วมกันทำงานเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะทำให้ทั้งสองหน่วยงานเกิดการทำงานร่วมกันมากขึ้น” ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าว

ด้านแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำนั้น นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านปฏิบัติการ ได้เข้ารายงานผลการปฏิบัติงานกำจัดผักตบชวาในส่วนของกรมเจ้าท่า จากภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจดาวเทียมเป็นจำนวน 128 จุด เป็นพื้นที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่า 13 จุด มีปริมาณผักตบชวาประมาณ 81,440 ตัน และดำเนินจัดเก็บไปแล้วประมาณ 60,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 73.70 แต่ปริมาณผักตบชวายังคงมีเพิ่มเติมปริมาณเรื่อยๆ กรมเจ้าท่า ได้เร่งการจัดเก็บผักตบชวาในพื้นที่รับผิดชอบ และได้ประสานการร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเน้นให้ทาง อปท.จัดเก็บในคลองสาขาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ด้วย

ผักตบชวาสร้างปัญหามากที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง ทั้งนี้ กรมเจ้าท่า มีรับผิดชอบพื้นที่ในการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำสายหลัก 6 สาย ประกอบด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำน้อย, แม่น้ำลพบุรี, แม่น้ำป่าสัก, แม่น้ำสะแกกรัง และแม่น้ำท่าจีนสายเก่า ตลอดจนลำคลองธรรมชาติสาขาในเขตความรับผิดชอบรวม 13 จุดรวมระยะทางยาวกว่า 550 กิโลเมตร โดยปริมาณผักตบชวาในแต่ละปีมีปริมาณประมาณ 909,300 ตัน ซึ่งกรมเจ้าท่ามีแผนในการดำเนินการกำจัดผักตบชวา แต่กรมเจ้าท่ามีความพร้อมทั้งในเครื่องจักรกลและกำลังคนที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการจัดเก็บได้ประมาณ 465,000 ตันต่อปี ซึ่งนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่าได้สั่งการให้สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ (สพบ) จัดทำแผนงานกำจัดผักตบชวาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งให้เร่งเสนอแผนงานการกำจัดผักตบชวาอย่างยั่งยืนต่อไป

ในเรื่องการขุดลอกคูคลองเพื่อเตรียมการรับมือภัยแล้งปี 2564 นั้น ทางกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการจัดประชาสัมพันธ์รับฟังความคิดเห็นในแม่น้ำหลายแห่งทั่วประเทศ ตามแผนงานขุดลอกดำเนินการเองปีงบประมาณ 2564 เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย, ภัยแล้ง พร้อมทั้งรณรงค์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ดำเนินการขุดลอกต่างตอบแทน โดยได้นำเสนอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการขุดลอก ตามแผนงานขุดลอกดำเนินการเองปีงบประมาณ 2564 เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย, ภัยแล้ง พร้อมทั้งร่วมรณรงค์ให้ช่วยกัน ลด ละ เลิก การทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ทะเล โดยขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น พร้อมร่วมตอบแบบสอบถาม โดยมติในที่ประชุม

นายวินัย ช่างชำนาญหล่อ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขานครพนม มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ปฎิการรักษาความปลอดภัยทางน้ำแก่ผู้โดยสาร ณ ท่าเรือที่สำคัญในพื้นที่รับผิดชอบ

กรมเจ้าท่ามีภารกิจเกี่ยวกับการกํากับดูแล การส่งเสริม การพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์นาวี ให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่นๆ ทั้งการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ท่าเรือ อู่เรือ กองเรือไทยและกิจการเกี่ยวเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็ว ทั่วถึง และปลอดภัย ตลอดจนการสนับสนุนภาคการส่งออกให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งการลงนามร่วมกันในครั้งนี้ กรมเจ้าท่าได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาบูรณาการร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภารกิจ พร้อมทั้งจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและการบริการด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ ส่งเสริมองค์ความรู้ตลอดจนทักษะทางด้านการบริหารจัดการน่านน้ำได้อย่างเหมาะสม ควบคู่กับการยกระดับความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีของประเทศไทยต่อไปในอนาคต



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Wednesday, 04 November 2020 07:20
อนุทิพย์ ก่อเกิดทรัพย์ทวี

Author : เกาะติด รวบรวมข่าวและองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตร สาระน่ารู้เรื่องเกษตรทุกด้าน นับตั้งแต่ด้านพันธุ์ เทคโนโลยีการผลิต การอารักขา เครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดถึงด้านการแปรรูป

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM