IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา CPF มีผลงานที่โดดเด่นทั้งสามมิติหลักของความยั่งยืน ด้านเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทมีคะแนนเต็ม 100 ด้านการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) สุขภาพและโภชนาการ (Health and Nutrition) บรรจุภัณฑ์ (Packaging) การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management) และ ความปลอดภัยของข้อมูล/ความปลอดภัยทางไซเบอร์และความพร้อมใช้งานของระบบ(Information Security/Cyber Security and System Availability) สะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจด้วยความรับผิดชอบเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ผู้บริโภค พันธมิตรคู่ค้าและพนักงาน
การได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI มาตลอด 8 ปี สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ตลอดห่วงโซ่อุปทานในทุกกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตามมาตรฐานสากล
ด้านมิติสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ ยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ในการบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อสร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมถึงการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบของไบโอแก๊ส (Biogas) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ทุกรูปแบบทั้งโซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rootop) โซล่าร์ฟาร์ม (Solar Farm) และโซล่าร์บนทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating) ขณะที่มิติด้านสังคม บริษัทมีความโดดเด่นในหัวข้อการปฏิบัติดูแลแรงงานที่ดี รวมไปถึงหัวข้อด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมาจากความตั้งใจและเป้าหมายของบริษัทฯ ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งองค์กรและถ่ายทอดให้แก่คู่ค้าและพันธมิตร ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงานอย่างไม่หยุดยั้งสู่มาตรฐานความเป็นเลิศระดับโลก
“การได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI มาตลอด 8 ปี สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ตลอดห่วงโซ่อุปทานในทุกกลุ่มธุรกิจ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตามมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนและขับเคลื่อนธุรกิจสู่เป้าหมาย ครัวของโลกที่ยั่งยืน” นายประสิทธิ์ กล่าว
ผลคะแนนที่ซีพีเอฟได้รับในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงและความพยายามของทุกหน่วยงานที่จะร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายความยั่งยืน CPF Sustainability in Action 2030 อย่างแท้จริง รวมถึงการมีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งนับเป็นความท้าทายและความจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งบริษัทฯ มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 โดยส่งเสริมให้ธุรกิจของบริษัทฯ ดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) และความสำเร็จตามเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินในปีที่ผ่านมา เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับประชาคมโลกปกป้องพื้นที่ทางบกและทางทะเลของโลกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่ในปี 2030
สำหรับแผนการลงทุน บริษัทฯ ได้เดินหน้าลงทุนโดยเตรียมงบประมาณ 25,000 ล้านบาท สำหรับปรับปรุงกำลังการผลิตและขยายการลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่ให้ครบวงจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และโปรแลนด์ ปัจจุบันบริษัทฯมีฐานการผลิตกว่า 17 ประเทศทั่วโลก ซึ่งฐานการผลิตที่สำคัญคือ ประเทศไทย เวียดนามและจีน ทั้งนี้การลงทุนเพิ่มดังกล่าวบริษัทฯมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการการผลิต รวมถึงเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจ จึงทำให้มั่นใจว่าผลประกอบการของ CPF จะเติบโตอย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้
ทั้งนี้ CPF ได้ประกาศขับเคลื่อนภารกิจมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2050 ชูโรดแม็ป Smart Sourcing Smart Production และ Smart Consumption เดินหน้านโยบายจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบจากแหล่งไม่ตัดไม้ทำลายป่า นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต และมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเป็นบริษัทแรกที่ประกาศยกเลิกใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในประเทศไทย
ด้าน นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผูู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางกลยุุทธ์เชิงรุกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรด้วยความรับผิดชอบ จากแหล่งที่ไม่บุกรุกป่าและไม่ตัดไม้ทำลายป่า (Smart Sourcing) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ประกาศนโยบายต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า (Deforestation) ร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) การพัฒนาการผลิตให้เป็นระบบอัตโนมัติ ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัล (Smart Production) เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดค่าใช้จ่ายการผลิต และในด้านการบริโภคอย่างยั่งยืน (Smart Consumption) บริษัทฯ มุ่งมั่นผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ โดยมีเป้าหมายในปี 2030 มีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียวมากกว่า 40 % ของรายได้ทั้งหมด
นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผูู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
โดยสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียวอยู่ที่ประมาณ 34 % ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 1.483 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ซีพีเอฟมีเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับบรรจุอาหารที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ หรือสามารถย่อยสลายได้ 100% และได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ทำให้ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซีพีเอฟ อยู่ในกลุ่มผู้นำ 5 บริษัทที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนมากที่สุดที่ 27 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด แบ่งเป็น พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) พลังงานชีวมวล (Biomass) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) ช่วยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 680,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 73 ล้านต้น หรือ 360,000 ไร่ บริษัทฯ มีการใช้พลังงานชีวมวลจากไม้สับที่ผลิตจากไม้โตเร็ว ทดแทนการใช้ถ่านหินโดยตั้งเป้าหมายในปี 2022 จะยกเลิกการใช้ถ่านหินทั้งหมด ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 190,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
อีกส่วนสำคัญที่มีผลต่อการมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ซีพีเอฟเน้นนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต อาทิ การใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) ในคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 70 % และในฟาร์มสุกรของซีพีเอฟ 50-60 % การเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมดจากการใช้ถ่านหินมาเป็นการใช้พลังงานชีวมวล และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบัน ได้ดำเนินการทำสัญญาติดตั้งโซลาร์เซลล์ไปแล้วรวม 65 เมกะวัตต์ มีแผนจะติดตั้งให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ รวมทั้งวางเป้าหมายติดตั้งให้ได้ถึง 100 เมกะวัตต์ ภายในปี 2025 (พ.ศ. 2568) นอกจากการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาวิธีการผลิตและวิธีสำรวจการนำ “Green Hydrogen” มาใช้ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในอนาคตที่เป็นพลังงานสะอาด 100% มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และพลังงานในกระบวนการผลิตของโรงงาน ซึ่งไฮโดรเจนสีเขียวกรีนไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงในอนาคตที่สำคัญในการช่วยให้ CPF บรรลุเป้าหมาย Net – Zero ได้
CPF มีความมุ่งมั่นชัดเจนในการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) โดยได้ตั้งคณะทำงานบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ โดยบริษัทฯได้รวบรวมข้อมูลปี 2020 (พ.ศ 2563) มาสำหรับใช้เป็นปีฐาน และทำงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาในการวางแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจซีพีเอฟทั่วโลก หลังจากที่ทำแผนแล้วเสร็จ จะนำข้อมูลทั้งหมดยื่นส่งองค์กร Science Based Target Initiatives ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประกาศเป็นเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของซีพีเอฟต่อไป
"การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่เชื่อว่าในปัจจุบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งซีพีเอฟได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้เข้ามาใช้ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยที่เรายังมีความมุ่งมั่นและเชื่อมั่นว่าจะมุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero ในปี 2050 ได้" นายพีรพงศ์ กล่าว
"CEO ประสิทธิ์" ชี้ ปี 2023 เป็นโอกาสของไทยด้านเกษตรและอาหาร"
CEO ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ร่วมสัมมนา "Thailand Next Move 2023 : The Nation Recharge" เติมพลังให้ประเทศไทย ก้าวสู่บริบทใหม่ จัดโดย วารสารการเงินธนาคาร ในโอกาสก้าวขึ้นสู่ทศวรรษที่ 5 ในรูปแบบ Virtual Seminar สะท้อนมุมมองการเกษตรยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี หรือ Pioneer the Next Generation of Foodtech & Agritech 2023
CEO ประสิทธิ์ กล่าวถึง แนวโน้มและบริบทใหม่ด้านการเกษตรและอาหารว่า ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ คือ ต้องเป็น Fully Integrated System กระบวนการผลิต (Process) ที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เริ่มจากพืช เช่น เราใช้ข้าวโพด ข้าวโพดมาสู่ Feed Mill จาก Feed Mill ไปเชื่อมธุรกิจการเลี้ยงสัตว์ สู่โรงชำแหละ โรงแปรรูป ไปสู่อาหาร การขาย ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ต้องเชื่อมโยงโดยเฉพาะช่วงเวลากับปริมาณ ถ้าไม่สอดคล้องกัน การที่จะทำให้เกิด Ecosystem ที่ดี เกิดความยั่งยืนของอาหารก็จะยากลำบาก หรืออาจจะทำให้ส่วนหนึ่งของ Value Chain ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น จะทำให้สมบูรณ์จริงๆ ต้องเป็น Fully Integration System ให้ได้ตลอดห่วงโซ่ ซึ่ง CPF ทำเรื่อง Fully Integration มานานแล้วและทำได้ดี แต่สิ่งที่พยายามทำเพิ่มเติม คือ การทำให้ซัพพลายเชนของเราเข้มแข็งและเติบโตไปพร้อมๆ กัน
CPF นำเทคโนโลยีมาใช้ในห่วงโซ่คุณค่าและในห่วงโซ่อุปทาน เปรียบเสมือนการบริหารธุรกิจของเราว่ามีความต้องการในเรื่องอะไรบ้าง เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านการเงิน ระบบการจ่ายเงิน สนับสนุนให้ซัพพลายเชนของเรา มีระบบเงินทุนหมุนเวียนเงินที่ดีขึ้น ซึ่ง CPF ดำเนินโครงการร่วมกับ ธ.กรุงเทพ ช่วยซัพพลายเออร์ ภายใต้โครงการ "CPF x BBL เสริมสภาพคล่อง...เคียงข้างคู่ค้า" สนับสนุนให้คู่ค้าของ CPF มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำ นำวงเงินไปกู้กับธนาคารได้ 90% ของวงเงินที่เราซื้อ ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อช่วยเหลือซัพพลายเออร์ของเรา ในปีหน้าจะเริ่มโครงการ Engineering Consulting ให้กับซัพพลายเออร์เพื่อไปดูว่าจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากนั้นเราก็จะแชร์เทคโนโลยีของเราไปให้ซัพพลายเออร์ด้วย เพื่อความสมบูรณ์ของ Value Chain ทั้งหมด
จากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งการขาดแคลนอาหาร การระบาดของโควิด-19 เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับ CPF ปัญหาวัตถุดิบที่เกิดจากความไม่สงบระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นวิกฤต เราต้องการของบางอย่างมา ถ้าไม่มีเราก็ต้องหาตัวอื่นทดแทนให้ได้ ต้นทุนอาจจะขึ้น เราก็ต้องเร่งเรื่องไอที ซอฟท์แวร์ เรื่องการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงตรงนี้ได้ ขณะเดียวกัน ในอีกมุมหนึ่งที่เกิดเหตุก็ทำให้เราเข้าไปสนับสนุนลูกค้าเราในหลายประเทศได้ดียิ่งขึ้น การส่งออกไปในประเทศยุโรปถือว่าดีขึ้น เพราะยุโรปเองอาจจะมีข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องวัตถุดิบ แรงงาน และราคาพลังงาน เพราะฉะนั้นต้นทุนก็อาจจะค่อนข้างสูง ถือเป็นโอกาสอันหนึ่งที่เราจะช่วยส่งอาหารไปสนับสนุนลูกค้าเราในต่างประเทศ
สำหรับเรื่อง Foodtech & Agritech คุณประสิทธิ์ กล่าวว่า Food Tech เป็นเรื่องของเทคโนโลยี ซอฟท์แวร์ เรามีทีมวิศวกร ไอที ถ้าเป็นเรื่อง Biotech ต่างๆ เป็นทีม R&D ซึ่งมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น R&D ที่เกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ของสิ่งมีชีวิต กับ R&D ที่เกี่ยวกับ Food เราก็จะมีทีมต่างๆ หลากหลาย เพื่อร่วมกันพัฒนาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับเรา ทีมงานทั้งหมดมีจำนวนหนึ่งเป็นคนของ CPF ที่เราส่งเสริมพนักงานให้ไปศึกษาต่อปริญญาโท ปริญญาเอกเฉพาะทางเฉพาะด้าน อย่างทีมที่ดูแล Genetics เราส่งไปเรียนปริญญาเอกด้านนี้โดยเฉพาะ พอเค้าไปอยู่ในเวทีมหาวิทยาลัยระดับโลกก็จะมีคอนเน็กชั่นของโปรเฟสเซอร์ระดับโลกเข้ามาร่วมงานกับเรา เพราะฉะนั้นเรื่องไบโอเทค และ Genetics เป็นเรื่องที่เราทำมาไกลมาก
ด้านพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค CPF มองถึงความท้าทายความต้องการต่างๆ ของลูกค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อหมู เราพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ คือ ให้สายพันธุ์ของหมูที่มีไขมันแทรกอยู่ เก็บไขมันพวกโอเมก้า 3 ใส่สูตรที่มี Flex Seed เข้าไปในอาหารสัตว์ ทำให้มีโอเมก้า 3 อยู่ในอาหาร และทำให้โอเมก้า 3 ที่หมูกินไปเก็บอยู่ในไขมันหมู เมื่อลูกค้าทานหมูและมีไขมันจึงไม่ต้องกังวล เช่นเดียวกับความต้องการของผู้บริโภคในเวทีโลก เราดูว่าอะไรที่เป็นจุดอ่อนหรืออะไรที่เป็นการเพิ่มมูลค่าที่เราอยากจะให้กับลูกค้า ตอนนี้ก็มีเทรนด์ Future Food Plant Based ที่เราใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาเนื้อจากพืชภายใต้แบรนด์ Meat Zero ซึ่งพัฒนาได้ดีมาก
CEO ประสิทธิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ปี 2023 เป็นโอกาสที่ดีสำหรับไทย หากมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและหาโซลูชั่นต่างๆ ไว้ล่วงหน้า เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตอาหารและมีความสมบูรณ์ในตัวเอง อาทิ วัตถุดิบค่อนข้างเยอะ ไม่ได้ขาดแคลนมากนัก อาจจะขาดแคลนแค่บางส่วน แต่เราก็บริหารจัดการได้ดีกว่าประเทศอื่น พร้อมทั้งมีข้อแนะนำให้กับผู้ประกอบการและภาคธุรกิจว่า เราอยู่ในไทยด้วยกัน ต้องพยายามร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน ผลิตสินค้าและบริการต่างๆออกไปในเวทีโลก เพราะไทยเป็นประเทศเปิด โดยเฉพาะการส่งออก ต้องช่วยกันทำให้สินค้าและบริการกับลูกค้า คอมมิทเมนท์ต่างๆ ที่เรามีกับลูกค้าทั่วโลกต้องรักษาไว้เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับแบรนนิ่ง ไม่ใช่แค่ของบริษัทอย่างเดียว เพราะถ้าเราทำได้ดีเป็นแบรนนิ่งของไทย ทำให้ลูกค้าทั่วโลกมีความมั่นใจของความเป็นไทยแลนด์ ประเทศที่สามารถผลิตอาหาร ให้บริการและส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นคง
ส่วนปัจจัยท้าทาย คิดว่าเรื่องภาวะเศรษฐกิจข้างนอก เป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เราก็ต้องดูว่าธุรกิจอะไรที่เราควบคุมได้ อะไรที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องจัดการ สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ทำอย่างไรให้ต้นทุนของเราและต้นทุนของซัพพลายเออร์ใน Value Chain รวมพลังกันเป็นทีมเดียว ดูแลให้ซัพพลายเชน เติบโตไปพร้อมกับเราอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทีมของเราส่วนหนึ่งไปช่วยด้านการเงิน ด้านเอนจิเนียริ่ง ซอฟท์แวร์ เพื่อให้ซัพพลายเชนของเรามีประสิทธิภาพ ทำให้ต้นทุนเรามีประสิทธิภาพ เป็นต้นทุนที่แข่งขันได้ และไม่ใช่เราแข่งคนเดียว ต้องดึงทุกคนให้ไปเติบโตเพื่อไปแข่งในเวทีโลกร่วมกัน