November 16, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

สนข. จัดประกวดแบบฯ สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน จัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งรองรับสังคมสูงวัย

สนข.ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบบริการขนส่ง ตัวแทนกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรม สนข.จัดประกวดแบบสิ่งอำนวยความสะดวกระบบ ขนส่งสาธารณะเพื่อคนทุกคน แนวคิด "We can make the best for all."

เป็นการสร้างเครือข่ายและ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนแม่บท "โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน"

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า กิจกรรม สนข.จัดประกวดแบบสิ่งอำนวยความสะดวกระบบขนส่งสาธารณะเพื่อคนทุกคน เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านคมนาคมขนส่งสำหรับคนทุกคน ที่มีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ การสร้างเครือข่าย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณอาคารและสถานที่โดยรอบ ทั้งยังเป็น การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ ผู้สูงอายุ และ คนทุกคน ผ่านกลุ่มผู้สมัครเข้าประกวดแบบฯ ผู้ที่สนใจ เพื่อชิงโล่รางวัล ใบเกียรติบัตร และเงินรางวัล รวมทั้งสิ้นกว่า 300,000 บาท จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม

สำหรับรายละเอียดพื้นที่ในการประกวดผลงานด้านการออกแบบอาคารสถานที่สำหรับการขนส่งสาธารณะ มี 4 ประเภท ได้แก่ ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสาร และท่าเรือ

ซึ่งในแต่ละอาคารประกอบด้วยพื้นที่ใช้งานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อาทิ พื้นที่รับส่ง (Drop Off) พื้นที่จำหน่าย บัตรโดยสาร พื้นที่พักคอย พื้นที่ชานชาลา พื้นที่ห้องน้ำ และพื้นที่ค้าขาย เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่หรือระหว่างทางเดินภายในอาคาร ก็อาจมีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ต้องการได้รับ ความช่วยเหลือ หากแต่ในหลายกรณีมักพบว่าการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้เป็นการแบ่งแยก ผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือเหล่านั้นออกจากกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป

การออกแบบที่ดีจะต้องคำนึงถึงบริบทการใช้งานจริงร่วมกัน ระหว่างผู้ใช้งานทั่วไปและผู้ใช้งานที่ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ การออกแบบเน้นความสำคัญการใช้พื้นที่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม และเหมาะสม มีประสิทธิภาพและต่อเนื่องในเชิงการใช้งาน สุนทรียศาสตร์ กฎหมาย มาตรฐานการออกแบบ และเชิงพฤติกรรมที่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่เป็นภาระแก่สังคมได้อย่างเท่าเทียม อาทิ พื้นที่พักคอย ซึ่งผู้ใช้วีลแชร์สามารถนั่งร่วมกลุ่มกับผู้ใช้งานอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม สามารถมีปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ผู้ใช้วีลแชร์ คนพิการทางการเห็น คนพิการทางการได้ยิน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ แม่และเด็ก และผู้ใช้งานทั่วไป "การใช้งานร่วมกัน" และ "ความต่อเนื่องของพฤติกรรมการใช้งาน" เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้ งานออกแบบ ก่อสร้าง และปรับปรุง สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในบริบท การใช้งานจริง สิ่งอำนวยความสะดวกต้องได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและ เกิดความต่อเนื่องในการใช้งาน และไม่ขัดขวางหรือลดทอนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือและผู้ใช้งานทั่วไป

กิจกรรมการประกวดแบบฯ ที่จะจัดขึ้น ได้กำหนดพื้นที่ต้นแบบในการประกวดแบบแนวความคิดพัฒนาหรือปรับปรุงอาคารสถานที่หรือสถานีขนส่งผู้โดยสาร 4 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 1 แห่ง ดังนี้ ภาคเหนือ ได้แก่ สถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดเชียงรายแห่งที่2, ภาคใต้และภาคตะวันตก ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติ จังหวัดภูเก็ต, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สถานีรถไฟ จังหวัดขอนแก่น, ภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ท่าเรือศรีราชา (ท่าเรือเกาะลอย) จังหวัดชลบุรี

ขอเชิญชวน นิสิต/นักศึกษาทุกสาขาวิชาในสถาบันอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี และบุคคลทั่วไป สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ด้วยตนเอง ได้ที่ http://otptransportforall.org/designcontest หรือสอบถามรายละเอียดเงื่อนไขงานประกวดเพิ่มเติมได้ทาง ศูนย์ประสานงานกิจกรรมฯ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Thursday, 24 September 2020 07:16
สุเทพ ชื่นนาทกุล

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM