IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ประโยชน์สูงสุดในการผสมผสานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่าง IOT กับการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง ก็คือ ประสิทธิภาพความแม่นยำ และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น
ปัญหาขาดแคลนแรงงานยังเป็นความท้าทาย ที่ผู้รับเหมาต้องก้าวข้ามไปให้ได้
ปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาพลิกโฉมธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง ก็คือ ปัญหาด้านประสิทธิภาพในการดำเนินการ การขาดแคลนแรงงานและต้นทุน ค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น
ในปี 2561 นี้ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างไทยยังคงต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาคการก่อสร้างถึงราว 50,000 -20,000 คนต่อปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้าจากแผนการดำเนินโครงการ ก่อสร้างภาครัฐ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุนแรงงานที่ปรับตัวสูงขึ้นราว 5 % โดยล่าสุดอัตราค่าจ้างแรงงานในกรุงเทพฯ ได้ปรับตัวสูงขึ้น อยู่ที่ 325 บาทต่อคนต่อวัน
จับตาเทคโนโลยี 3 กลุ่มหลัก ที่จะพริกโฉมวงการก่อสร้าง
สำหรับเทคโนโลยีการก่อสร้างที่จะเข้ามาสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆได้แก่
1.Software Platform เช่น Building Information Modeling (BIM)
2.Equipment and system เช่น Prefabricated Building Components (PREFABS) และ Construction Robotic
3.User Inter-face เช่น Virtual Reality (VR) เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างที่น่าสนใจ อาทิเช่น เทคโนโลยี 3D Printing และ Big Data Analytics ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นในอนาคต
BIM ยังเป็นเทคโนโลยีตัวเต็ง มีดีที่ต้นทุนต่ำ คุ้มค่า บูรณาการได้ทุกขั้นตอน
BIM นั้นเป็นเทคโนโลยีหรือ Software Platform สำหรับสร้างจำลองข้อมูลอาคาร ในรูปแบบ 3 มิติ ที่สามารถถอดปริมาณ BOQ (Bill of Quantities) ได้อย่างแม่นยำ ต่างจากการเขียนแบบ CAD (Computer Aided Desing) แบบดั้งเดิม
ข้อดีของ BIM คือ ต้นทุนต่ำ มีความคุ้มค่าและยังช่วยบูรณาการการทำงานในทุกขั้นตอน
แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้การใช้งาน BIM ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ปัญหาด้านทักษะของบุคลากรยังต้องอาศัยการฝึกอบรมพนักงาน และต้องเปลี่ยนจากระบบการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษมาเป็นแบบดิจิทัล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย
Prefabs ยังมาแรง ลดต้นทุนด้านแรงงาน และ SME จับต้องได้
Prefabricated Building Components หรือ prefabs คือ ชิ้นส่วนอาคารสำเร็จรูป เช่น ผนังสำเร็จรูป เสาสำเร็จรูป การใช้ prefabs ช่วยประหยัดทั้งต้นทุน และเวลาในการก่อสร้าง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยบางรายทีมีการใช้ prefabs แล้วพบว่าช่วยลดต้นทุนแรงงานได้ถึง 5 – 20 %
หุ่นยนต์ก่อสร้าง…เทคโนโลยีที่ไม่ไกลเกินเอื้อม
Construction Robotics หรือหุ่นยนต์ที่ใช้ในการก่อสร้าง หุ่นยนต์ที่ใช้ในการก่อสร่างที่น่าจับตามองคือ
หุ่นยนต์ผูกลวดเหล็กที่ใช้ในงานฐานราก ช่วยให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้นถึง 10 เท่า ลดต้นทุนได้ถึง 50 %
หุ่นยนต์เรียงอิฐ ช่วยให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้นถึง 5 เท่า ลดต้นทุนแรงงานได้ถึง 30 %
ผู้รับเหมาต้องเร่งปรับตัว
นอกจากนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ และผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างต้องปรับตัวเพื่อรองรับการรุกคืบของเทคโนโลยี IOT เช่นกัน
การติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน Pervasive Network และระบบเชื่อมต่อไร้สายครอบคลุมทุกพื้นที่นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมในการติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทย
และทั้งหมดนี้คงสะท้อนให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้างได้พลิกโฉมรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจมีความสำคัญมากพอๆ กับการรู้และเท่าทันต่อการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่ให้การดำเนินการก่อสร้างในโครงการต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั่นเอง
ขอบคุณ เนื้อหา: นิตยสารข่าวช่าง Contractors’ นิตยสารของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์