November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
THUMMA-Oil & Gas-Strip-Head

สถานการณ์น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป สัปดาห์ที่ 19-23 พ.ย. 61 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 26-30 พ.ย. 61 โดยทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

สถานการณ์น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป สัปดาห์ที่ 19-23 พ.ย. 61 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 26-30 พ.ย. 61

ราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงทุกชนิด โดยน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 4.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 62.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 3.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 53.92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 3.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 63.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 2.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 67.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซล ลดลง 5.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 79.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • นักลงทุนลดการถือสินทรัพย์เสี่ยงย้ายเงินจาก ตลาดหลักทรัพย์ และน้ำมันเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า อาทิ พันธบัตรรัฐบาล จากความกังวลต่อภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดและไม่มั่นใจว่า OPEC กับประเทศพันธมิตรจะลดปริมาณการผลิตน้ำมันลงตามที่ส่งสัญญาณไว้หรือไม่ ประกอบกับสงครามการค้ามีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตลดลง
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 18-19 ธ.ค. 61 ซึ่ง Capital Economics ประเมินว่า FED Fund Rate จะเพิ่มสู่ระดับ 2.75-3.00 % ช่วงกลางปี พ.ศ. 2562
  • Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 446.9 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบเกือบปี
  • Joint Organization Data Initiative (JODI) รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบียเดือน ก.ย. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 210,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 7.43 ล้านบาร์เรลต่อวัน 
  • อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบสู่ตลาดโลก หลังสหรัฐฯ ผ่อนผันให้ 8 ประเทศนำเข้าน้ำมันอิหร่านได้จนถึงเดือน พ.ค. 62 ล่าสุด โรงกลั่นญี่ปุ่นของ บริษัท Fuji Oil มีแผนนำเข้าเดือน ธ.ค. 61 และ JXTG Holding นำเข้าเดือน ม.ค. 62 ทั้งนี้โรงกลั่นในญี่ปุ่นไม่นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านตั้งแต่เดือน ก.ย. 2561

 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • การประชุมของผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน OPEC นำโดยซาอุดิอาระเบีย และพันธมิตรนอกกลุ่ม (Non OPEC) นำโดยรัสเซีย วันที่ 6 ธ.ค. 61 ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย อาจบรรลุข้อตกลงร่วมกันลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรวม 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 1.5 % ของอุปทานน้ำมันโลก โดยรายละเอียดของข้อตกลงจะเป็นหนึ่งในวาระการประชุม ทั้งนี้รัสเซียมีเป้าหมายให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีกลไกการปรับปริมาณการผลิตให้ตลาดมีดุลยภาพ
  • Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 พ.ย. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 3 แท่น มาอยู่ที่ 885 แท่น ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ อนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา Baker Hughes ออกรายงานเร็วกว่ากำหนด 2 วัน เนื่องจากมีการหยุดเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลขอบคุณพระเจ้าช่วงสุดสัปดาห์
  • Korea National Oil Corp. (KNOC) ของเกาหลีใต้รายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของเกาหลีใต้ เดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 140,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 3.12 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้เกาหลีใต้นำเข้าน้ำมันดิบจากแหล่งอื่น แทนที่อิหร่าน อาทิจากสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 144, 000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 311,000 บาร์เรลต่อวัน

 

แนวโน้มราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบกว่าปี ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับอุปทานที่มีแนวโน้มล้นตลาด แม้ว่ากลุ่ม OPEC จะอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อปรับลดปริมาณการผลิต แต่นักลงทุนกลับไม่เชื่อมั่นว่ากลุ่ม OPECและกลุ่มชาติพันธมิตรจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 6 ธ.ค. 61 ประกอบกับ แนวโน้มการผลิตน้ำมันของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ สหรัฐฯ และรัสเซีย ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาด อีกทั้งนักลงทุนยังวิตกต่อสภาพเศรษฐกิจซึ่งสัมพันธ์กับความต้องการใช้น้ำมัน ด้วยไม่เชื่อมั่นว่าจีนกับสหรัฐฯ จะสามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ในการหารือนอกรอบระหว่างการประชุม G20 ในวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 61 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังถูกดึงจากหุ้นของกลุ่มบริษัทพลังงานในตลาดหุ้น Wall Street ของสหรัฐฯ ที่ลดลงรุนแรงเช่นกัน อาทิ หุ้นบริษัทผลิตน้ำมัน Exxon Mobil Corp. และ Chevron Corp รวมถึงหุ้นบริษัทให้บริการขุดเจาะน้ำมันดิบ Schlumberger NV และ Halliburton Co. ที่ลดลงราว 3% ฉุดให้ดัชนี Dow Jones ลดลง ให้จับตาปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ หลังหน่วยงาน Federal Security Service (FSB) ของรัสเซีย รายงานเรือลาดตระเวนชายฝั่งรัสเซียได้จับกุมเรือของกองทัพเรือยูเครนจำนวน 3 ลำ บริเวณนอกชายฝั่งรัสเซียบริเวณแหลม Crimea ในทะเลดำ ในวันที่ 25 พ.ย. 61 เนื่องจากยูเครนส่งเรือปืนขนาดเบาจำนวน 2 ลำ และ Tug Boat (เรือลากจูง) จำนวน 1 ลำ เข้าไปยังน่านน้ำของรัสเซีย ขณะที่ยูเครนออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาและตอบโต้ว่ารัสเซียรุกรานทางการทหารและเรียกร้องให้ประชาคมโลกลงโทษรัสเซีย ล่าสุดประธานาธิบดียูเครน นาย Petro Poroshenko อยู่ระหว่างเตรียมประกาศกฎอัยการศึก ด้านสหภาพแรงงาน CGT ของฝรั่งเศสประกาศประท้วงหยุดงานที่โรงกลั่นน้ำมัน Grandpuits (กำลังการกลั่น 99,000 บาร์เรลต่อวัน) , Normandy (กำลังการกลั่น 350,000 บาร์เรลต่อวัน) และ Feyzin (กำลังการกลั่น 119,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Total ในวันนี้ (26 พ.ย. 61) หากข้อเสนอสุดท้ายในการเจรจาต่อรองโบนัสถูกปฏิเสธ ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 57.0-63.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 49.0-55.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 58.0-64.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงเนื่องจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันเบนซินเดือน ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.2 % อยู่ที่ 105.4 ล้านบาร์เรล และบริษัท Idemitsu Kosanของญี่ปุ่นกลับมาดำเนินการหน่วย Residue Fluid Catalytic Cracker (RFCC:กำลังการกลั่น 33,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Hokkaido (กำลังการกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน) เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 61 หลังปิดดำเนินการจากเหตุแผ่นดินไหวตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 61 ด้านปริมาณสำรอง International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 พ.ย. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 480,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 13.44 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบกว่า 3 เดือน อย่างไรก็ตาม บริษัทPertamina ของอินโดนีเซียมีแผนนำเข้าน้ำมันเบนซิน ในเดือน ธ.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.42 ล้านบาร์เรล ปริมาณ 11 ล้านบาร์เรล และสูงกว่าปริมาณนำเข้าเฉลี่ยเดือน ม.ค.-มิ.ย. 61 ที่ระดับ 9.2 ล้านบาร์เรล และ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนามประกาศปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 95 RON ลง 1,093 Dong/ลิตร (0.05 เหรียญสหรัฐฯ ต่อลิตร) มาอยู่ที่ 19,972 Dong/ลิตร (0.85 เหรียญสหรัฐฯ/ลิตร) ประกอบกับ EIA รายงานปริมาณสำรอง น้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 225.3 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบเกือบปีทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 62.0-68.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลง เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันดีเซลสำหรับการประมงลดลง ตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค. 61 ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันในจีน และไต้หวัน กลับมาดำเนินการ หลังเสร็จสิ้นการหยุดซ่อมบำรุง และ บริษัท China Petroleum and Chemical (Sinopec) ของจีนมีแผนส่งออกน้ำมันดีเซลจากโรงกลั่น Hainan (กำลังการกลั่น 184,000 บาร์เรลต่อวัน) ในเดือน พ.ย. 61 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 10,500 บาร์เรลต่อวัน ที่ระดับ 23,000 บาร์เรลต่อวัน ด้านปริมาณสำรอง IES รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 พ.ย. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.25 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 11.07 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม สำนักงานสถิติแห่งชาติของของจีนรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซล เดือน ต.ค. 61 ลดลงจากปีก่อน 7.9 % อยู่ที่ 111.9 ล้านบาร์เรล ลดลงติดต่อกัน 5 เดือน และ บริษัท Royal Dutch Shell ในสหรัฐฯ ประกาศปิดซ่อมบำรุงหน่วย Hydrocracker (กำลังการกลั่น 45,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Convent (กำลังการกลั่น 209,000 บาร์เรลต่อวัน) ในมลรัฐLouisiana ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ย. 61 เป็นเวลา 2 เดือน และ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 พ.ย. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 100,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 119.2 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 74.0-80.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 21 March 2021 09:22
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM