November 05, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ผลการศึกษาเผย โรงงานดักจับคาร์บอนยุคใหม่สามารถลดต้นทุนการดักจับ CO2 ลงได้ถึง 67%

เอดินเบิร์ก, สกอตแลนด์ : รายงานผลการศึกษาที่เผยแพร่วันนี้โดยศูนย์ความรู้ International CCS Knowledge Centre (Knowledge Centre) แสดงให้เห็นถึงการลดต้นทุนการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage - CCS) ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

โดยการเผยแพร่งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอด International CCS Summit ที่จัดโดยรัฐบาลแห่งสหรัฐอาณาจักร และทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)

Corwyn Bruce, CCS Knowledge Centre

ลดต้นทุนลงได้อย่างมาก

กรณีศึกษาในรายงานฉบับนี้เผยให้เห็นถึงการลดต้นทุนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 67% ต่อตัน ซึ่งเป็นหนึ่งในการค้นพบที่สำคัญในการศึกษาความเป็นไปได้ Shand CCS Feasibility Study ของศูนย์ความรู้ฯ ด้วยเหตุที่ CCS ถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาแพง รายงานฉบับนี้จึงถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญยิ่งของ CCS ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า การใช้ CCS ทั้งในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยมลพิษสูงและโรงไฟฟ้านั้น มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)

โดยเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งรายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญอย่างยิ่งของเทคโนโลยี CCS ในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ด้วยความพร้อมในการลดต้นทุนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การออกแบบและการดำเนินโครงการที่ผ่านๆ มาก่อนหน้านี้ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบัน CCS จึงได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

Shand CCS Feasibility Study เป็นงานวิจัยอิสระที่ศึกษาการออกแบบและการก่อสร้างโครงการ Boundary Dam 3 CSS ของ SaskPower โดยนอกเหนือจากการลดต้นทุนแล้ว

 

ผลลัพธ์ที่สำคัญของรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ฉบับนี้ ยังรวมถึง:

  • การออกแบบที่ช่วยตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าที่ไม่แน่นอนของลูกค้าได้ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมากขึ้นในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวน เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์

  • การออกแบบที่ลดการใช้น้ำลงได้มากที่สุด

  • การลดกระบวนการที่ซับซ้อนลงอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพถึงขีดสุด

(จากซ้ายไปขวา Beth Hardy, Corwyn Bruce, Tim Dixon (IEAGHG) and Mike Monea)

Mike Monea ประธานและซีอีโอ ศูนย์ความรู้ International CCS Knowledge Centre กล่าวว่า "การใช้เทคโนโลยี CCS ในโครงการขนาดใหญ่ทั่วโลกถือเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมต่างๆ รับนำเอาแนวปฏิบัติดังกล่าวไปใช้เป็นวงกว้าง อันจะเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการลดภาวะโลกร้อนในระดับสากล เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อลดต้นทุนและเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ได้มากที่สุด"

Kenji Terasawa กรรมการ (สมาชิกคณะกรรมการบริหาร) และรองประธานบริหาร บริษัท MHI Engineering Ltd. กล่าวว่า "ผลลัพธ์ของการศึกษาในครั้งนี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง เรารู้สึกยินดีที่การใช้เทคโนโลยีของเราได้มีส่วนร่วมสร้างผลลัพธ์ดังกล่าว และเรารู้สึกภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา Shand CCS"

อ่านรายงานสรุปหรือรายงานฉบับเต็มในรูปแบบออนไลน์ได้ที่

 https://ccsknowledge.com/news

 

สรุปข้อเท็จจริง

การศึกษาความเป็นไปได้ Shand CCS Feasibility Study (Shand Study)

  • การศึกษา Shand Study จัดทำขึ้นตามแนวทางของสมาคมวิศวกรต้นทุนอเมริกา (American Association of Costing Engineers: AACE) ในการประเมินระดับที่ และได้นำแนวทางที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ รวมทั้งใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์จากการใช้เทคโนโลยี CCS ในอนาคต

  • ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการ Boundary Dam 3 CCS (BD3) ระบบ Shand CCS สามารถลดต้นทุนได้ถึง 67%ต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซต์ ตัน อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการรวมโรงงานไฟฟ้าได้ถึง 92%

  • หากอ้างอิงตามแบบจำลอง ต้นทุนการดักจับคาร์บอนปรับเฉลี่ยอยู่ที่ 45 ดอลลาร์/ตัน

  • เทคโนโลยี CCS รุ่นที่สอง สามารถดักจับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีโหลดต่ำ (อาทิ การผลิตพลังงาน) ได้มากกว่า 90% ซึ่งหมายความว่า เทคโนโลยี CCS สามารถใช้กับพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีโหลดที่หลากหลายได้ดี โดยอัตราการดักจับคาร์บอนอาจสูงถึง 97% ที่โหลดไฟฟ้า 62%

  • ระบบ Shand CCS ถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องใช้น้ำเพิ่ม จึงช่วยลดข้อจำกัดด้านการปรับปรุงหรือขยายโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

  • ปริมาณเถ้าลอย 140,000 ตันต่อปีสามารถนำไปขายให้กับตลาดคอนกรีตได้ (ตามปริมาณความต้องการ) ซึ่งช่วยชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการผลิตคอนกรีต โดยปริมาณดังกล่าวเทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 125,000 ตันต่อปีในโรงงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบสุทธิ

  • โครงการ Shand CCS มีความจุรองรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับได้ประมาณ ล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าความจุของ BD3ตามการออกแบบเบื้องต้นถึงเท่าตัว (ปัจจัยการประหยัดต่อขนาดนี้เองที่ช่วยลดต้นทุน)

 

ลิงก์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • CCS เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญยิ่ง โดยมีบทบาทถึง ใน ของแนวทางประคองอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศไม่ให้สูงเกิน 1.5องศาเซลเซียส ตามที่ระบุในรายงาน Global Warming of 1.5 Degrees Celsius ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

  • ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่อาจบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยก๊าซได้โดยไม่มี CCS และสำหรับประเทศที่ทำได้แล้ว ต้นทุนในการจัดการปัญหาดังกล่าวปรับตัวขึ้น 138% โดยเฉลี่ย ตามที่ระบุในรายงาน IPCC AR5 2014 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

ลิงก์เกี่ยวกับ CCS

 

ความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับการศึกษา SHAND CCS FEASIBILITY STUDY:

การศึกษาที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์นี้ได้เข้ามาทำลายความเชื่อที่ว่า การใช้เทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS)ในภาคพลังงานนั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่คุ้มต้นทุน ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การใช้ CCUS กับถ่านหินนั้นให้ผลลัพธ์ที่สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับก๊าซธรรมชาติ แม้ก๊าซมีราคาถูกมากอยู่แล้วในอเมริกาเหนือ

 -John Gale ผู้จัดการทั่วไป โครงการ IEAGHG 

 

รายงาน Shand CCS Feasibility Study ที่เผยแพร่ต่อสาธารณะนี้ ได้เผยให้เห็นผลการวิเคราะห์ที่มีความสำคัญและน่ายินดีอย่างยิ่ง ในเรื่องของการออกแบบเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนยุคใหม่ให้ใช้ต้นทุนลดลง แต่ขณะเดียวกันก็ลดการปล่อยก๊าซได้มากกว่าเดิม เมื่อเทียบกับโรงงานยุคบุกเบิกที่ Boundary Dam Unit 3 ของบริษัท SaskPower การวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาคุณลักษณะที่เฉพาะเจาะจงของโรงงาน และยังได้ศึกษาการดำเนินการของโรงไฟฟ้า Shand Power Station ส่งผลให้การวิจัยดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือและมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพื่อใช้บ่งชี้ความก้าวหน้าลงลึกไปในตัวเทคโนโลยี CCS”

- Prof. Edward S. Rubin จาก Carnegie Mellon University

 

“การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยี CCS ที่โรงไฟฟ้า Shand Power Station นับว่ามีคุณประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความจำเป็นของเทคโนโลยี CCS ในเชิงสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการศึกษาพิสูจน์ให้เห็นว่า ในการพัฒนาวิศวกรรม การจัดการโครงการ และเศรษฐศาสตร์ของเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น ไม่มีวิธีใดที่ดีไปกว่าการเรียนรู้จากการปฏิบัติ รัฐบาลรัฐซัสแคตเชวัน และศูนย์ความรู้ International CCS Knowledge Centre แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ได้มาจากการลงทุนชั้นนำระดับโลกเพื่อส่งมอบโครงการ Boundary Dam 3 CCS อันล้ำสมัย ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ช่วยให้เกิดการปรับปรุงยกระดับโรงงานยุคใหม่ในด้านต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในรายงาน Shand Feasibility Study”

 - สถาบัน Global CCS Institute

ทีมงานที่ศูนย์ความรู้ International CCS Knowledge Centre ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการลดต้นทุนผ่านทางการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ การออกแบบปรับปรุงเทคโนโลยี CCS ตามที่ระบุถึงในรายงาน Shand CCS Feasibility Study แสดงให้เห็นถึงแนวทางที่จะช่วยให้ทุกประเทศสามารถประหยัดเวลาและงบประมาณจากการใช้เทคโนโลยี CCUS แบบใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันทั่วโลกในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวยังทำให้ตลาดพลังงานสามารถเลือกใช้โรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้และปล่อยมลพิษต่ำ ในขณะเดียวกันก็ถือเป็นการพัฒนาโซลูชั่นคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับภาคอุตสาหกรรม”

 - Stephen Malss ผู้อำนวยการ กองทุน Low Emissions Technology COAL21

 

CCS ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างได้ผล รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านๆ มา สามารถช่วยลดต้นทุนลงได้ ซึ่งสำหรับกรณีนี้คือ การลดต้นทุนลงอย่างมากด้วยการนำวิธีการใหม่มาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้

การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการเพิ่มผลผลิตน้ำมัน (EOR) นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ และถือเป็นความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยี CCS มาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ โปรแกรมติดตามและตรวจสอบการวัดผล (MMV) ในพื้นที่แบบเฉพาะเจาะจง โดยพิจารณาความเสี่ยงเป็นหลัก ยังทำให้สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแหล่งกักเก็บได้อย่างปลอดภัยด้วย 

 อย่างไรก็ดี การใช้ CCS ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงน้ำมันและก๊าซเท่านั้น แต่เทคโนโลยีนี้ยังเป็นที่ต้องการสำหรับการผลิตปุ๋ย การผลิตปูนซีเมนต์ การผลิตเหล็กกล้า และการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อรวมกับพลังงานทดแทน เทคโนโลยี CCS จะมีประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยกตัวอย่างเช่น การลดการปล่อยคาร์บอน ล้านตันด้วยเทคโนโลยี CCS มีค่าเท่ากับการลดปริมาณมลพิษจากระบบขนส่งของกรุงโตเกียวระยะเวลา ปี และหากผนวกรวมกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เทคโนโลยี CCS สามารถมีอัตราการปล่อยก๊าซเป็นลบได้เลยทีเดียว

 นอกจากคุณค่าในการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เทคโนโลยี CCS ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน โดยการติดตั้งเทคโนโลยี CCSขนาด ล้านตันต่อปี สามารถสร้างงานได้หลายร้อยตำแหน่งตลอดระยะเวลาหลายปีของการก่อสร้าง ทั้งยังก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างต่อเนื่องสำหรับฝ่ายบำรุงรักษา ฝ่ายปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคประจำโรงงาน

 - Tim Wiwchar ผู้จัดการส่วนงานพัฒนาโอกาสทางธุรกิจ บริษัทเชลล์

เกี่ยวกับ International CCS Knowledge Centre (Knowledge Centre):

Knowledge Centre ก่อตั้งขึ้นโดยบริษัท BHP และ SaskPower และเปิดดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการอิสระ โดยมีพันธกิจที่จะยกระดับความเข้าใจและผลักดันการใช้ CCS ในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกKnowledge Centre จะมอบความรู้ความชำนาญในการดำเนินโครงการ CCS ขนาดใหญ่ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนี้ผ่านการเรียนรู้พื้นฐานทั้งจากโครงการ Boundary Dam 3 CCS Facility แบบครบวงจร และโครงการ Shand CCS Feasibility Study ซึ่งเป็นการศึกษาเทคโนโลยี CCS รุ่นที่สองอย่างครอบคลุม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://ccsknowledge.com/

 

 

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Friday, 11 January 2019 05:25
บงกชธร บวรปิติภูวดล

Author : เกาะติดข่าวในยุโรป

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

ZOOMLION มินิโรดโชว์ เมกาโฮม กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

SCG HEIM เปิดตัว 3 แบบบ้านสไตล์ใหม่ “New Design ULTIMATE Series” ชูจุดขายด้านสุขภาพและการอยู่สบาย เจ้าของบ้านประสานเสียงตอบรับคือบ้านคุณภาพเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM