IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
งานนี้ดึงดูดผู้นำในภาคธุรกิจและเทคโนโลยีมากกว่า 200 ราย โดยผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ก่อตั้งบริษัทชั้นนำอย่าง Alibaba, JP Morgan, Pony.ai, Didi Chuxing, Ctrip.com, Ernst & Young, Telenor, Microsoft และ WM Motor ได้มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฟินเทค การผลิตอัจฉริยะ และประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ พร้อมหารือถึงแนวทางในการคว้าโอกาสจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนปลดปล่อยศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ในระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีครั้งใหม่ ทั่วโลกได้เห็นการหลอมรวมของการปฏิวัติเทคโนโลยีในภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน และแรงผลักดันด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมที่กว่างโจว เมืองที่เป็นแนวหน้าของการพัฒนานวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า รวมถึงการพัฒนาเขตนี้ในภาพรวม โดยมีตัวอย่างให้เห็นแล้วจากเขตอ่าวสำคัญ 3 แห่งของโลกทั้งในนิวยอร์ก โตเกียว และซานฟรานซิสโก
สำหรับเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าของจีนนั้น มีเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางระดับโลกด้านการขนส่ง การค้า บริการทางการเงิน นวัตกรรมเทคโนโลยี รวมถึงการผลิตขั้นสูง และหวังว่าจะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีของจีน
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในการประชุมครั้งนี้ ปัจจุบัน มีบริษัทชั้นนำมากกว่า 130 แห่งที่ทำโครงการด้านปัญญาประดิษฐ์ในเขตหนานซา เช่น Tencent, AsiaInfo, CloudWalk, iFlytek และ Pony.ai เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้ง Guangzhou International Institute of Artificial Intelligence และมีแผนจัดตั้ง Nansha Artificial Intelligence Industrial Park ขนาด 2 ตารางกิโลเมตรในฉิงเซิง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเขตหนานซา เขตการค้าเสรีนำร่องในนครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เนื่องจากเขตหนานซาเปิดกว้างด้านการศึกษา การดูแลสุขภาพ และการขนส่ง บริษัท AI หลายแห่งจึงมีโอกาสมากขึ้นในการประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของตน ไฉ เฉาหลิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเขตหนานซา กล่าวว่า “หนานซากำลังก้าวขึ้นเป็นเมืองอัจฉริยะอิงเทคโนโลยี AI ที่เป็นแบบอย่างที่ดี”
นครกว่างโจวได้รวบรวมทรัพยากรที่มีคุณภาพจากทั่วโลกเพื่อก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางของเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า โดยกลุ่มผู้บ่มเพาะเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง AI บิ๊กดาต้า และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย Nansha Institute of Artificial Intelligence, Pazhou Mobile Payment Smart Island และ GE Biological Park ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนครกวางโจวในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งสิ่งนี้ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การทำงาน และความคิดของผู้คน
หลี่ จิง กรรมการผู้จัดการและรองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ JP Morgan กล่าวว่า “จีนมีความก้าวหน้าอย่างมากในด้านเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยอุตสาหกรรม AI ที่ต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมหาศาล กำลังมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จีนคือ “แหล่งทรัพยากรข้อมูล” ที่มาพร้อมขุมพลังการประมวลผลอันแข็งแกร่ง”
เคซี ซัลลิแวน ประธานและกรรมการผู้จัดการ CNBC International กล่าวว่า “จีนมีรากฐานการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่แข็งแกร่งสำหรับอนาคต ท่ามกลางโลกที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และ CNBC ต้องการพัฒนาไปพร้อมกับจีน” นอกจากนี้ เขามองว่าเขตหนานซาจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวงการเทคโนโลยีของจีน
อันที่จริงแล้ว นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องพึ่งพานโยบายและตลาดที่มีความมั่นคง ซึ่งเขตหนานซาก็มีสภาพแวดล้อมที่แข็งแกร่งและเอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยี โดยมีการประกาศนโยบายที่เอื้ออำนวยและมีการสร้างบรรยากาศเพื่อรองรับอนาคตอย่างต่อเนื่อง รายงานของ KPMG ระบุว่า เขตหนานซาครองอันดับที่ 51 ของโลกในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
ในขณะที่บรรดาบริษัทและผู้บ่มเพาะนวัตกรรมกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อิทธิพลบนเวทีโลกก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้นครกว่างโจวก้าวขึ้นเป็นเมืองระดับนานาชาติ
Globalization and World Cities Research Network (GaWC) ได้จัดอันดับเมืองทั่วโลกครั้งล่าสุด ซึ่งผลปรากฏว่า นครกว่างโจวติดกลุ่มหัวเมืองหลักระดับ Alpha นอกจากนี้ ผลสำรวจยังระบุว่าเมืองต่างๆ ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไข่มุกมีการเชื่อมโยงกับโลกมากกว่าเมืองต่างๆ ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (ไม่รวมเซี่ยงไฮ้)
การเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกส่งผลให้เกิดการส่งผ่านทรัพยากรที่มีคุณภาพระดับโลกมายังนครกว่างโจว ข้อมูลระบุว่า ในปี 2560 มีบริษัทเทคโนโลยีเกิดใหม่ 40,000 แห่งในนครกว่างโจว โดยมีการจัดตั้งบริษัทเฉลี่ย 11 แห่งต่อวัน
เขตหนานซาเป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ถึงศักยภาพของนครกว่างโจวในการดึงดูดบริษัทด้านนวัตกรรม โดยตลอดสามปีนับตั้งแต่มีการจัดตั้งเขตหนานซา ชุมชนธุรกิจมีการเติบโตขึ้นเกือบเก้าเท่า จาก 8,400 ธุรกิจ เป็น 83,000 ธุรกิจ นอกจากนั้นยังมีบริษัทที่ติดอันดับ Fortune Global 500 เข้ามาลงทุนในโครงการต่างๆ อีก 127 โครงการ
ระบบนิเวศอิงนวัตกรรมซึ่งประกอบด้วยนโยบาย เงินทุน บุคลากรมากความสามารถ และสถาบัน กำลังเติบโตอย่างเต็มที่ แหล่งข้อมูลภายนอกแสดงให้เห็นว่า เขตหนานซาครองอันดับ 3 ของจีนในแง่นวัตกรรมสถาบัน และอันดับ 1 ในแง่การอำนวยความสะดวกด้านการค้าสองปีติดต่อกัน โดยคุณไฉกล่าวว่า “หนานซาเตรียมก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมระดับนานาชาติในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า”
เศรษฐกิจในเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ถูกมองว่าเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก บรรดาผู้เข้าร่วมการประชุม East Tech West ต่างเห็นตรงกันว่า การที่ทรัพยากรคุณภาพสูงจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้าสู่เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าอย่างอิสระจนก่อให้เกิดการประสานพลังกันนั้น จะผลักดันให้นครกว่างโจวก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลและมีความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก
ที่มา: คณะกรรมการบริหารเขตหนานซาแห่งนครกว่างโจว