November 23, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

เซียนหุ้นส่อง GUNKUL ปี’62 สดใส อานิสงส์โรงไฟฟ้าพลังลมผลิตเต็มปี -โซลาร์ฟาร์มญี่ปุ่นเดินเครื่องผลิต เชียร์ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 5 บ.

กูรูหุ้นจาก บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ แนะนำ "ซื้อ" หุ้น บมจ. กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ประเมินธุรกิจปี'62 สดใส ได้รับแรงหนุนจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ผลิตได้เต็มปี บวกกับโซลาร์ฟาร์มที่ประเทศญี่ปุ่นเริ่มผลิตในไตรมาส4/61-ไตรมาส1/62 ขณะที่ธุรกิจก่อสร้างฟื้นตัว ชี้เป้าราคาพื้นฐานไว้ที่ 5 บาท 

บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เผยแพร่บทวิเคราะห์ แนะนำ "ซื้อ" หุ้นบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) (GUNKUL) เพื่อการลงทุนในระยะยาว โดยมีปัจจัยหนุน คือ กำไรปี 2561-2562 เติบโตสูง,โรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทยจะสร้างกำไรให้เติบโตต่อเนื่องและมั่นคงในระยะยาว, มีโอกาสชนะประมูลโครงการเคเบิ้ลใต้ทะเล และ/หรือวางสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาส 4/2561 – ไตรมาส 1/2562 ขณะเดียวกันราคาหุ้นยังมี Upside gain ถึง +62% จากราคาเป้าหมาย 5 บาท (SOTP) เทียบเท่า 19F P/B = 3.5 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 4 ปีที่ 4.5 เท่า 

ทั้งนี้ทางฝ่ายประเมินปี 2562 กำไรจะเติบโตต่อเนื่อง จากการรับรู้กำไรเต็มปีของโรงไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 3 โครงการ กำลังการผลิตรวม 170 เมกะวัตต์ (WED+GNP+KWE=60+60+50 MW)

และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 2 โครงการ (Sendai,Kimitsu) ขนาด 31.8+33.5=65.3 เมกะวัตต์ (78.5 เมกะวัตต์ติดตั้ง) โดยโซลาร์ฟาร์ม เซนได (GK Sendai) ได้เริ่มผลิตแล้วเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561 ส่วนโซลาร์ฟาร์ม คิมิสึ จะเริ่มผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 และรายได้ของธุรกิจก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น จากการซื้อกิจการ FEC ทำให้บริษทสามารถเข้าร่วมประมูลโครงการขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ โดยคาดว่าจะเปิดประมูลในไตรมาส4/2561-ไตรมาส1/2562 

อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์ของ บล. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ คาดว่ากำไรปี 2561 จะเท่ากับ 1,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% และขยับขึ้นเป็น 1,161 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (YoY) ซึ่งบริษัทได้รายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 3/2561 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีกำไรสุทธิ 716 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 835% เมื่อเทียบกับปีทีผ่านมา และเพิ่มขึ้น 492% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจาก รายได้ค่าไฟฟ้าและส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 211% เมือเทียบกับปีที่ผ่าน และเพิ่มขึ้น 113% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1,134 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากรายได้ของโรงไฟฟ้าพลังงานลมผลิตครบทั้ง 3 โครงการ (170 เมกะวัตต์) ในไตรมาส3/2561 ซึ่งเป็นช่วงที่มีกระแสลมแรง ทำให้มีปริมาณแรงลมสูงต่อเนื่อง ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้น(Gross Profit Margin:GPM) สูงขึ้นเป็น 57% ตามการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนรายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่มีอัตรากำไรสูง บวกกับ GPM ของธุรกิจก่อสร้างเพิ่มเป็น 35% ในไตรมาส3/2561 จากไตรมาส3/2560 และ ไตรมาส2/2561 ที่ 14% และ 29% ทำให้งวด 9 เดือน ของปี61 มีกำไรปกติอยู่ที่ 867 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 96% เมื่อเทียบกับปีทีผ่านมา

สำหรับเป้าหมายในระยะยาว การเติบโตของกำไรมาจากธุรกิจพลังงานทดแทน โดยบริษัท ตั้งเป้าหมาย 1,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2563 ปัจจุบันมีโครงการในมือ 546.1 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าที่เปิดผลิตแล้ว 282.7 เมกะวัตต์ ณ ไตรมาส2/2561 และคาดหวังว่าจะได้โครงการใหม่ราว 454 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการ Private PPA ในประเทศไทย ปัจจุบันมีโครงการติดตั้ง Solar rooftop ให้กับกลุ่ม CP ระยะที่ 1 กำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ มูลค่า 1.4 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตในต้นปี 62 และในต่างประเทศ (300 เมกะวัตต์) มุ่งเน้นที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศใน AEC (มาเลเซีย เวียดนาม พม่า)

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 21 November 2018 08:31
อารีย์ ศิริวราพร

Author : จบวารสารศาสตร์ เป็นนักนักหนังสือพิมพ์ ประจำสายข่าวการเงิน หุ้น การลทุน ธนาคาร พันธบัตร และข่าวสายเศรษฐกิจเป็นหลัก บนเส้นทางงานข่าวให้สิ่งดีๆ กับชีวิตเสมอ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM