November 19, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

บอยเลอร์ (Boiler) เรื่องน่ารู้ คู่อุตสาหกรรม

โดย : บริษัท พาวเวอร์ กรุ๊ป เซอร์วิส จำกัด (POWER GROUP SERVICE CO., LTD.)

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ PGS จะมาเล่าถึงหม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมกันครับ ลองมาดูว่าไอเจ้าหม้อไอน้ำในโรงงานเนี่ย จะแตกต่างจากกาน้ำร้อนบ้านเรายังไง และทำไม ทุกๆโรงงานถึงจะต้องมีหม้อไอน้ำ และไอเจ้าหม้อไอน้ำเหล่านี้ มีกี่แบบ กี่ประเภท รวมถึงประวัติความเป็นมาต่างๆด้วยนะครับผม

หม้อไอน้ำ (Boiler) คืออะไร?

บอยเลอร์ (Boiler) หรือเครื่องผลิตไอน้ำ คืออะไร ? บอยเลอร์ เป็นเครื่องผลิตไอน้ำ เครื่องผลิตไอน้ำนี้จะเผาไหม้เชื้อเพลิงในหม้อผลิตไอน้ำ จากนั้นจะทำให้เกิดไอน้ำขึ้นมากมายและเกิดความดันในหม้อผลิตไอน้ำ ความดันทั้งหมดจะถูกส่งไปเป็นพลังงานให้กับเครื่องจักรอื่น ๆ ภายในอุตสาหกรรม ซึ่งขนาดของ บอยเลอร์ ก็จะแตกต่างกันไปตามจำนวนพลังงานที่เครื่องจักรทั้งหมดจำเป็นต้องใช้ หม้อไอน้ำขนาดใหญ่ที่มีในโรงงานอุตสาหกรรม โดยนิยามแล้วคือ เครื่องผลิตไอน้ำที่ทำจากวัสดุปิดที่มีขนาด 2 ลิตรขึ้นไป และความดันมากกว่า 1.5 เท่าบรรยากาศ โดยจะเปลี่ยนน้ำภายในหม้อต้มจากสถานะของเหลวกลายเป็นไอน้ำ

เครื่องผลิตไอน้ำนี้จำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนเครื่องจักรทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่มาก ในกิจการโรงงานและกิจการอุตสาหกรรมนิยมใช้เครื่องผลิตไอน้ำในการผลิตพลังงาน การผลิตพลังงานไอน้ำหาก บอยเลอร์ มีขนาดใหญ่มาก ควรใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานในเครื่องผลิตไอน้ำ เป็นต้น แต่การที่จะใช้เครื่องผลิตไอน้ำก็ควรที่จะได้รับการปรึกษาจากวิศวกรเฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้าน บอยเลอร์ เพราะหากไม่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานที่แท้จริงแล้ว อาจจะทำให้ผู้ประกอบการเสียทั้งเงินและอาจจะมีความเสี่ยงด้วย เพราะเครื่องผลิตไอน้ำหากใช้งานไม่เป็นก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อบุคลากรที่ควบคุมเครื่องผลิตไอน้ำได้

โดยหม้อไอน้ำส่วนใหญ่จะผลิตมากจากวสดุเหล็กกล้า (Carbon steel ) เป็นหลัก โดยโครงสร้างจะถูกออกแบบถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และมาตราฐานสากลนะครับ โดยไอน้ำที่ผลิตออกมาจากหม้อไอน้ำก็จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆเช่น

  • นำไปใช้เป็นตัวกลางในการผลิตไฟฟ้า (Power generation)
  • นำเป็นตัวกลางในการผลิตกำลังทางกล (Mechanical power from steam turbine)
  • ใช้ในการอบแห้งในงานต่างๆ (Dry out product)
  • ใช้ในการเป็นความร้อนในการฆ่าเชื้อ หรือพลาสเจอไรซ์ ต่างๆ

ซึ่งเพื่อนๆจะเห็นได้ว่าหม้อไอน้ำ จะใช้ครอบคลุมทุกๆอุตสาหกรรม ตั้งแต่ฝั่งปิโตรเคมี โรงงานผลิตต่างๆ จนกระทั่งไปถึงในอาคาร และโรงพยาบาลต่างๆด้วยครับ ซึ่งหม้อไอน้ำพวกนี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่ต้องควบคุมโดยวิศวกรที่ได้รับการรับรอง และตรวจสอบด้วยนะครับ

ประวัติและการพัฒนาของหม้อไอน้ำ

โดยประวัติของหม้อไอน้ำต้องขอบอกก่อนนะครับว่า มีประวัติยาวนานมากๆเลยครับ ซึ่งถือกำเนิดเมื่อ 2,000 ปีก่อน สมัยนักปราชญ์ชาวกรีก ที่ชื่อ Hero ได้ประดิษฐ์หม้อไอน้ำที่เรียกว่า Aeolipile ที่มีการให้ความร้อน และผลิตกำลังกลออกมา ซึ่งถือว่าเป็น Steam generator ตัวแรกของโลกครับ

Steam generator ตัวแรกของโลก

และต่อมาในยุคของในเชิงธุรกิจนะครับ ในช่วง 153 ปีที่แล้ว เริ่มจากทางคุณ George Babcock และ คุณ Steven Wilcox โดยผลิตหม้อไอน้ำขนาดเล็กออกมาเป็นลักษณะภาชนะปิด และจัดตั้งบริษัท Babcock & Wilcox และเริ่มใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมในประเทศอเมริกาครับ และบริษัทนี้ก็ยังเปิดมาถึงทุกวันนี้

หม้อไอน้ำของ George Babcock และ คุณ Steven Wilcox

โดยยุคแรกๆ Boiler มีการประดิษฐ์มาจากฝั่งท่อไฟก่อนนะครับ ซึ่งมีการสร้างที่ง่าย แต่ทำขนาดได้ไม่ใหญ่ ความดัน และการผลิตที่ไม่สูงมากนัก จากนั้นจึงได้มีการประดิษฐ์หม้อไอน้ำชนิดท่อน้ำ ซึ่งมีความดัน การผลิต และขนาดที่สูงกว่าแบบท่อไฟนะครับผม

ประเภทของหม้อไอน้ำ (Type of boiler)

หม้อไอน้ำที่เราเห็นๆกันนะครับ จะมีมากมายหลายชนิดเลยครับ แต่ว่า ถ้านับแบบที่เค้าฮิตๆกัน ก็จะแบ่งเป็นหลักๆ 2 แบบ คือ 1. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler) และ 2. หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube boiler) และส่วนที่เหลืออาจจะมีการผสมหรือ boiler แบบ hybrid ที่ผสมท่อน้ำและท่อไฟนะครับ โดยหม้อไอน้ำทั้งแบบท่อไฟ และท่อน้ำ ก็มีข้อดี และข้อเสีย แตกต่างกันนะครับ ขึ้นอยู่กับว่า ความเหมาะสมในการใช้ เหมาะกับโรงงานนั้นๆ มากที่สุดแบบไหนนะครับ งั้นขอเริ่มจากทาง

1. หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler)

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire tube boiler)

หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ เป็นหม้อไอน้ำที่มี “ไฟอยู่ในท่อ” และน้ำอยู่บริเวณด้านนอก โดยหม้อไอน้ำชนิดนี้จะมีห้องเผาไหม้ และไฟจะถูกส่งไปตามท่อไฟ และมีการแลกเปลี่ยนความร้อนจากไฟ ไปท่อ และจากท่อไปน้ำ ซึ่งการออกแบบขอท่อไฟอาจจะมีเป็นแบบไหลทางเดียว ไหลสองกลับ ไหลสามกลับ และ ไหลแบบสี่กลับ ซึ่งอาจจะเป็นแบบ หลังเปียกหรือแห้งครับ

โดยทั่วไปๆความดันของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟจะมีความดันไม่เกิน 150 psi และกำลังผลิตที่ต่ำกว่า 15 tons/hrs โดยจะนำไปใช้งานตั้งแต่ หัวจักรรถไฟ, เรือกลไฟ, โรงสีไฟ, โรงงานกระดาษ, โรงงานอาหารสัตว์, โรงงานผลไม้กระป๋อง เป็นต้นครับ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น โรงงาน Smes นะครับ) ต่อมาเราลองมาดู ข้อดี-ข้อเสียกันนะครับ

ภาพตัดด้านในหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

ข้อดี-ของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  • ปริมาตรของน้ำเยอะ ทำให้การส่งจ่ายไอน้ำค่อนค้างนิ่ง
  • การออกแบบเรียบง่าย ราคาถูก
  • ไม่ต้องการน้ำคุณภาพที่ดีมากนัก

ข้อดีเสีย-หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ

  • การจุดเตาใช้เวลานาน
  • น้ำหนักสูง เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำ
  • ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนต่ำ
  • กรณีระเบิดอันตรายมาก เนื่องจากพลังงานความร้อนสะสมในน้ำสูงมาก
  • ไม่สามารถผลิตไอน้ำที่ความดัน และปริมาณสูงได้
 

2. หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water tube boiler)

ต่อมาในส่วนของหม้อไอน้ำลูกใหญ่ๆที่เรามักจะเจอกัน จะเป็นแบบท่อน้ำนะครับ โดย หม้อไอน้ำแบบนี้ “น้ำจะอยู่ในท่อ” นะครับ โดยไฟจะอยู่ด้านนอกนะครับ โดยหลักการทำงานคือ ในเตาเผาจะเป็นไฟอยู่ด้านนอก จากนั้นไฟจะส่งถ่ายความนร้อน มาให้ท่อ และท่อจะส่งต่อไปให้น้ำด้านในครับ

Water Tube Boiler ภาพตัด

โดยน้ำไอน้ำประเภทนี้สามารถทำความดันได้สูงมากกว่า 150 Psi และกำลังการผลิตได้สูงมากครับ โดยหม้อไอน้ำประเภทนี้จะนำไปใช้เป็นไอดง หรือ Superheated steam และนำไปใช้กับทาง เครื่องกังหันไอน้ำ (Power Plant steam generation) หรือ โรงงานน้ำตาล, โรงกลั่นน้ำมัน ปิโตรเคมี เรือเดินทะเลต่างๆครับ ซึ่งลักษณะของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ หรือ water tube boiler ถือว่ามีการออกแบบที่หลากลายๆรูปแบบ ซึ่งแล้วแต่ลักษณะความร้อนที่นำมาใช้นะครับ (เช่น แบบท่อน้ำธรรมดา เตา WHBT เตา HRSG เตา Biomass จนกระทั้งถึง เตาแบบปฏิกรณ์นิวเคลียร์) ซึ่งเด่วเรามาดูข้อดี-ข้อเสียของ หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำกันนะครับ

ข้อดี-ของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  • การไหลเวียนของน้ำดี
  • การถ่ายเทความร้อนมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า (จากการถ่ายเทความร้อนแบบการแผ่รังสี)
  • ใช้เวลาสั้นในการจุดเตา
  • ผลิตความดันได้สูง
  • อัตราการผลิตไอน้ำสูง
  • การเกิดระเบิดจะปลอดภัยกว่าเนื่องจากมีการสะสมพลังงานไม่สูง (ท่อหลายเส้น)

ข้อเสีย-ของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

  • ราคาแพงกว่า
  • ทำความสะอาดลำบาก และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง
  • เมื่อมีการใช้งานไม่คงที่ ไอน้ำก็จะไม่คงที่ไปด้วย
  • ต้องการน้ำคุณภาพดี (เพราะในท่อเล็กๆเกิดตะกรันได้ง่าย)

ซึ่งหม้อไอน้ำทั้งสองแบบก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันนะครับ ขึ้นอยู่กับว่าเหมาะสมกับโรงงานนั้นๆอย่างไร แต่ที่สำคัญก็ต้องใช้งานภายใต้การออกแบบ และมีวิศวกรตรวจสอบตามกฏหมายนะครับผม

อุปกรณ์ต่างๆโดยทั่วไปของหม้อไอน้ำ

โดยหม้อไอน้ำจะต้องมีการทำงาน ที่ถูกควบคุมต่างๆ เพื่อ ควบคุมการทำงานได้ตามค่าการออกแบบ รวมถึงความปลอดภัย ของตัวหม้อไอน้ำเองด้วยนะครับ ในส่วนของการป้อนน้ำ ระดับน้ำ การควบคุมความดัน อัตราการจ่าย รวมถึงระบบความนิรภัยต่างๆนะครับ เรามาเริ่มจาก

อุปกรณ์ต่างๆโดยทั่วไปของหม้อไอน้ำ
  1. วาล์วนิรภัย (Safety Valve) หรือ PSV ของเรานั้นเองครับ โดย PSV เปรียบเสมือนวาล์วนิรภัยในการระบายความดันออกจากหม้อไอน้ำในกรณีที่มีความดันเกินค่าที่เราออกแบบไว้นะครับ ซึ่งจะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความดัน และปริมาณการระบายออกนะครับ ซึ่งถือเป็นตัวที่สำคุญที่สุดในการปกป้องความปลอดภัยต่อชีวิต และทรัพย์สินของโรงงานเลยทีเดียวครับผม
  2. วาล์วจ่ายไอน้ำ (Main steam valve) เป็นวาล์วเปิดปิดไอน้ำที่ได้จากการผลิตนำเอาไปใช้ในส่วนต่างๆในโรงงาน
  3. วาล์วระบายน้ำทิ้ง (Blow -down valve) เป็นวาล์วระบายน้ำด้ายล่างเพื่อนำเศษตะกรันต่างๆออกไปจากหม้อไอน้ำ เพื่อคงประสิทธิภาพ และคุณภาพของไอน้ำ ในโรงงาน
  4. ปั้มน้ำเข้า (Feed water pump) เป็นปั้มน้ำแรงดันสูงที่คอยป้อนน้ำเข้าภายในหม้อไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Multistage pump นะครับ
  5. อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ (Water level gauge/control) ใช้ในการดูระดับน้ำภายในหม้อน้ำ และคอยควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำนะครับ
  6. เกจวัดความดัน (Pressure Gauge) เป็นอุปกรณ์แสดงความดันของหม้อไอน้ำ
  7. สวิตซ์ควบคุม (Pressure Switch) เป็นสวิตซ์ควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำไม่ให้เกินจุดที่ตั้งไว้
  8. หัวเผา (Burner) เป็นอุปกรณ์หัวเผา ที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ซึ่งเกิดจากการสันดาประหว่าง เชื้อเพลง และอากาศ และส่งถ่ายความร้อนไปยังน้ำต่อไปด้านในหม้อไอน้ำ
  9. ฉนวน (Insulation) เป็นส่วนที่หุ้มเพื่อป้องกันความร้อนรั่วไหลออกจากหม้อไอน้ำ เพื่อลดการสูญเสีย และป้องกันอันตรายด้วยครับ

ขนาดและกำลังของหม้อไอน้ำ

เราลองมาดูคำศัพท์เบื้องต้นในวงการอุตสาห์กรรมหม้อน้ำกันนะครับ เริ่มจาก

  1. อัตราการผลิตไอน้ำ หรือ Steam rate คือ ความสามารถในการผลิตไอน้ำต่อ 1 ชม ภายใต้อุณหภูมิ 100 oC
  2. แรงม้าหม้อไอน้ำ (Boiler horse power) เป็นหน่วยวัดอัตราการผลิตไอน้ำอีกแบบนะครับ โดยเทียบว่า 1 แรงม้าหม้อไอน้ำ คือ ความสามารถในการผลิตไอน้ำได้ 34.5 ปอนด์ในเวลา 1 ชม ภายใต้อุณหภูมิ 100 oC
  3. ประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ (Boiler efficiency) เป็นตัวเลขแสดงความสามารถของหม้อไอน้ำที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีการสูญเสียต่างๆนะครับ (ตามภาพ) โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นนะครับ และการคำนวนอยู่ด้านล่างนะครับ
การสูญเสียต่างๆใน boiler
การคำนวน Efficiency ของหม้อไอน้ำ

หากต้องการติดตั้งเครื่องผลิตไอน้ำ เจ้าของกิจการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวกับการขออนุญาตในการติดตั้งเครื่องผลิตไอน้ำด้วย เพราะถ้าใช้งานไม่เหมาะสมกับจำนวนที่ต้องการ เช่น หากมีจำนวนหรือขนาดของเครื่องผลิตไอน้ำมากเกินไปก็เป็นอันตรายต่อบุคลากรที่ควบคุม และหากมีเครื่องผลิตไอน้ำที่เล็กเกินไปก็จะทำให้ผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอ ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้เครื่องผลิตไอน้ำควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและอย่าลืมที่จะศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาติติดตั้งควบคู่ด้วย

การประหยัดพลังงานด้วยการใช้ บอยเลอร์ หรือ เครื่องผลิตไอน้ำ เป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยรักษ์โลก และปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในกิจการโรงงานและกิจการอุตสาหกรรม เพราะการใช้เครื่องผลิตไอน้ำส่งผลต่องบประมาณของกิจการ การประหยัดและการใช้ทุกอย่างให้คุ้มค่า ปลอดภัยเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุนเป็นอย่างมาก แต่หากใช้ไม่เป็น ใช้เชื้อเพลิงไม่เหมาะกับขนาด หรือใช้แบบผิด ๆ ก็ทำให้เกิดโทษได้มากมายเช่นเดียวกัน ฉะนั้นหากผู้ประกอบการต้องการใช้เครื่องผลิตไอน้ำแทนการใช้พลังงานสิ้นเปลืองอย่างอื่น ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ศึกษาข้อมูล ศึกษาขนาดที่เหมาะกับพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ เชื้อเพลิงที่จะใช้ในเครื่องผลิตไอน้ำ การดูแลรักษาเครื่องผลิตไอน้ำ และข้อควรระวังในการใช้เครื่องผลิตไอน้ำ จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวก ความปลอดภัย ความคุ้มค่าของกิจการ และช่วยขับเคลื่อนเครื่องจักรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ บริษัท POWER GROUP SERVICE CO., LTD. รับออกแบบ ตรวจซ่อม ตรวจเช็ค และติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ BOILER, STEAM HEADER - WATER TANK - TACK - STEAM PIPE - WATER PIPE งานเชื่อม ประกอบโครงสร้างเหล็กต่างๆ ตามแบบบริการหุ้มฉนวนต่างๆ ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง ด้วยนโยบาย "มุ่งบริการ เน้นคุณภาพ เรื่องคนเรื่องงาน"

สนใจติดต่อสอบถาม
บริษัท พาวเวอร์ กรุ๊ป เซอร์วิส จำกัด
POWER GROUP SERVICE CO., LTD.
บริหารงานโดย : บุญมี เลี้ยงถนอม (BOONMEE LIANGTANOM)
TEL : 086-171-0103, 061-391-7868
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 25 May 2022 10:41
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM