November 24, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

IGEN Engineering คว้างานสายไฟลงไต้ดินหาดป่าตอง กฟภ.199 ล.

'ไอเจน' (IGEN Engineering) ได้งานก่อสร้างปรับปรุงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน บริเวณหาดป่าตอง ภูเก็ต ของ กฟภ. มูลค่า 199 ล้านบาท

นายพีรยศ รุจิเทศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเจน เอนจิเนีย ริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของบริษัท มิลล์คอนสตีล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการลงนามในสัญญาร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการว่าจ้างให้บริษัทก่อสร้างปรับปรุงโครงการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน บริเวณหาดป่าตอง ภูเก็ต มูลค่า 199 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะผลักดันให้บริษัทมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

โดยนายสุภาพ กสิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 ภาคใต้ กล่าวว่า “ปัญหาในเรื่องสายสื่อสารที่ยังไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเท่าที่ควรนับว่าเป็นปัญหาระดับชาติ และนอกจากนี้ยังเป็นเรื่องกล่าวขานกันในระดับโลกถึงความยุ่งเหยิงของสายสื่อสารต่างๆในประเทศไทย

ที่ผ่านมาทาง กฟภ. เขต 2 นครศรีธรรมราช ได้มีการแก้ไขปัญหามาแล้วหลายครั้ง หลายรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2555 เช่นการรวบ-รัด-มัดสาย แต่ก็ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ วันนี้จึงถึงเวลากับการแก้ไขปัญหาที่เข้มข้นขึ้นเพื่อความยั่งยืน

 

นายวีรชัย หวังปัญญา หัวหน้าแผนกจัดระเบียบสายสื่อสาร กฟภ.สำนักงานใหญ่ กล่าวว่า “จากการสำรวจสายสื่อสารที่มีทั้งหมดในประเทศ พบว่ามีเส้นทางที่จัดเป็นเส้นทางวิกฤติที่ขึ้นบัญชีไว้กับ กสทช. อยู่ 219 เส้นทาง โดยวัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางของจำนวนสายไฟเมื่อนับรวมกันทั้งหมดต่อเสาไฟฟ้า 1 ต้น ซึ่งเส้นทางที่มีความหนาแน่นที่สุดอยู่ในพื้นที่พัทยา ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางรวมกันทั้งหมดกว่า 1,000 มิลลิเมตร โดยระเบียบนั้นกำหนดไม่ให้เกิน 300 มิลลิเมตร และในแผนงานจะคัดเลือกเส้นทางทั้งหมด 24 เส้นจาก 12 เขต ในการแก้ไขปัญหา โดย 1 ในนั้นมีเส้นทางในจังหวัดภูเก็ตด้วย คือเส้นทางจากแยกไสน้ำเย็น-นาในร่วมใจ รวมระยะทางทั้งสิ้น 1.2 กิโลเมตร”

“ในการแก้ไขปัญหานี้ ผู้ประกอบการต่างๆจะต้องลดขนาดและจำนวนของสายสื่อสารลงให้เป็นไปตามมาตรฐานของกฟภ.โดยมาตรฐานนั้นจะแตกต่างกันไป ซึ่งตอนนี้ยังตอบไม่ได้ว่าเสาไฟฟ้า 1 เสาควรมีสายสื่อสารอยู่กี่เส้นเพราะขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของเสาไฟฟ้าภายในพื้นที่ซึ่งมีหลากหลายประเภทต่างกัน โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด ทางกฟภ.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ”

 

ทั้งนี้ยังกล่าวถึงกรณีการตัดสายสื่อสารต่างๆเนื่องจากรกเสาไฟฟ้าของประเทศว่า “มาตรการการตัดสายสื่อสารทิ้งเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะทำถ้าหากว่าสายสายนั้นเป็นสายที่สร้างปัญหา ความจริงแล้ว สายสื่อสารสมัยใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นมานั้นมีเทคโนโลยีในการพิมพ์ชื่อสังกัดหน่วยงานเจ้าของสายนั้นๆอยู่แล้วมาเป็นของหน่วยงานใด ถ้าหากว่ามีสายสื่อสารใดที่ไม่มีชื่อหน่วยงานปรากฏและสายนั้นสร้างปัญหาอยู่ เช่นสายนั้นเป็นสายที่พาดผ่านถนนและสร้างการกีดขวาง หรืออยู่ในเส้นทางที่อยู่ในแผนงานการแก้ไขปัญหาและไม่มาปรากฏตัวแสดงความเป็นเจ้าของและดำเนินการแก้ไขปัญหา กฟภ.ก็จำเป็นต้องทำการตัดออกแต่จะให้เป็นมาตรการสุดท้าย ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยเองได้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบสายสื่อสารที่พาดผ่านเสาไฟฟ้านี้ด้ว”

“อย่างไรก็ตาม กฟภ.ยืนยันว่าการแก้ปัญหาครั้งนี้จะดำเนินการให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด”

ทางด้านนายวัชรินทร์ ประภา (แถวหน้าคนซ้าย) ผู้จัดการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ป่าตอง กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบครั้งนี้ว่า “กฟภ.ป่าตองได้คัดเลือกเส้นทาง ซอยไสน้ำเย็น-ซอยนาในร่วมใจ ให้เป็นเส้นทางในการจัดระเบียบเนื่องจากป่าตองเป็นพื้นที่ที่รองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่การท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งมองจากจุดยุทธศาสตร์แล้ว ถนนทวีวงษ์ (ถนนเส้นหน้าหาดป่าตอง) เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของพื้นที่ป่าตอง จึงดำเนินการจัดระเบียบด้วยการนำสายไฟทั้งหมดลงใต้ดิน (underground) จุดสำคัญรองลงมาคือเส้นทางซอยใสน้ำเย็น-ซอยนาในร่วมใจ จึงเลือกให้เป็นเส้นทางในการแก้ไขปัญหาการจัดระเบียบครั้งนี้”

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 11 March 2019 05:03
ธนชาติ ธาระคำ

Author : คอลัมนิสต์

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM