November 24, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
THUMMA-Oil & Gas-Strip-Head

สถานการณ์น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป สัปดาห์ที่ 8-12 ต.ค. 61 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 15-19 ต.ค. 61

ราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงทุกชนิด โดยน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 2.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 82.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 2.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 72.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 1.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 81.47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95ลดลง 1.8 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 91.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซล ลดลง 1.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 98.66เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund หรือ IMF) ปรับลดประมาณการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 เติบโตที่ระดับ 3.7% ต่อปี ทั้งสองปี ต่ำกว่าประมาณการณ์เดิมที่ คาดว่าจะเติบโต 3.9% ต่อปี เนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้า และปัญหาด้านการเงินในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
  • นักลงทุนกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกซึ่งการประเมินภาวะเศรษฐกิจโลกของ IMF จะส่งผลลบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ประกอบกับ FED Fund Rate ที่เพิ่มขึ้นทำให้นักลงทุนลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ น้ำมันและหลักทรัพย์ที่ ดัชนี Dow Jones วันที่ 10 ต.ค. 61 ลดลง 831.83 จุด
  • OPEC รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เดือน ก.ย. 61 เพิ่มขึ้น 132,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 32.76 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในปีนี้ โดยซาอุดิอาระเบีย และลิเบียผลิตเพิ่มขึ้น 108,000 บาร์เรลต่อวัน และ 103,000 บาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ
  • รายงาน Short Term Energy Outlook (STEO) เดือน ต.ค. 61 ของ EIA ประเมินปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2561 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.39 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ประมาณการณ์ครั้งก่อนที่ 1.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน) อยู่ที่ 10.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปริมาณการผลิต ปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.02 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มประเมินครั้งก่อนที่ 0.84 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
  • Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 410 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • วันที่ 10 ต.ค. 61 บริษัทขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติบริเวณ Gulf of Mexico อาทิ Exxon Mobil, Chevron อพยพพนักงานออกจากแท่นผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล 13 แท่นผลิต ก่อนพายุเฮอริเคน Michael จะพัดผ่าน ทำให้การผลิตน้ำมันดิบลดลง 324,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติลดลง 284 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 19% และ 11% ของกำลังการผลิตทั้งหมด
  • บริษัท Rosneft ของรัสเซียมีแผนส่งออกน้ำมันดิบ ESPO ผ่านท่อ East Siberia Pacific Ocean (ESPO 600,000 บาร์เรลต่อวัน ) เดือน พ.ย. 61 ลดลงจากเดือนก่อน 5,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 57,000 บาร์เรลต่อวัน

 

แนวโน้มราคาน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดเพิ่มขึ้น หลังปริมาณส่งออกน้ำมันดิบอิหร่านลดลงและมีเพียง จีน อินเดียและตุรกี ที่ยังนำเข้า อย่างไรก็ตาม กรณีของนักข่าว นสพ. Washington Post นาย Jamal Khashoggi หายสาบสูญจากสถานกงสุลซาอุฯ ในตรุกียังเป็นประเด็นร้อนแรง ซึ่ง Trumpประกาศคาดโทษขั้นรุนแรงต่อซาอุฯ หากพบว่า ซาอุฯ เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ต่อมา Saudi Press Agency (SPA) ระบุว่าซาอุฯ พร้อมตอบโต้มาตรการลงโทษโดยสร้างแรงสะเทือนต่อเศรษฐกิจโลกซึ่งโดยนัยหมายถึงการใช้น้ำมันเป็นอาวุธ (วิกฤตน้ำมันครั้งแรก 45 ปีก่อน ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และสหรัฐฯ เริ่มเก็บน้ำมันในคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ หรือ SPR ) ล่าสุด รมต. ต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางไปเจรจากับกษัตริย์Salman ของซาอุดิอาระเบีย

ซึ่งคาดว่าสหรัฐฯ พยายามหาทางไกล่เกลี่ยไม่ให้เรื่องลุกลามถึงขั้นที่สหรัฐฯ ต้องคว่ำบาตรซาอุฯ ทางเศรษฐกิจ ซึ่งอาจจุดชนวนให้ซาอุฯ หันมาใช้น้ำมันเป็นอาวุธ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิต Shale oil ของสหรัฐฯ ที่ EIA คาดจะเพิ่มสู่ระดับ 7.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. นี้ ช่วยลดความกังวลของผู้ค้าต่อประเด็นความเสี่ยงจาก Supply Disruption อย่างไรก็ดี นายก รมต. อินเดียเรียกเรียกประชุมผู้บริหารบริษัทน้ำมันและก๊าซ เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำมันที่อาจเกิดอุปทานชะงักงันจากซาอุฯ ขณะที่ปริมาณส่งออกน้ำมันดิบอิหร่านลดลง ให้ติดตามความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และซาอุฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของตุรกีตรวจค้นสถานกงสุล ซาอุฯ ที่เกิดเหตุ และมีกระแสข่าวระบุว่า ซาอุฯ อาจแถลงการณ์ยอมรับว่ามีการสอบสวนนาย Jamal Khashoggi ที่สถานกงสุลแต่พลาดพลั้งเสียชีวิต ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 78.5-83.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 69.5-74.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 76.5-81.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล 

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงเนื่องจากตลาดน้ำมันเบนซินเอเชียมีการซื้อขายเบาบางเพราะผู้ค้าในจีน หยุดงานตั้งแต่วันที่ 1-7 ต.ค. 61 และ กระทรวงการคลังศรีลังกาประกาศเพิ่มราคาขายปลีกน้ำมันบนซิน 4 % มาอยู่ที่ 155 รูปี ต่อลิตร (ประมาณ 29.8 บาทต่อลิตร) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นและเงินรูปีอ่อนค่า อีกทั้ง บริษัท Idemitsu Kosan ของญี่ปุ่นประกาศกลับมาเดินเครื่องโรงกลั่น Hokkaido (กำลังการกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน ) ในวันที่ 15 ต.ค. 61 หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว 6.7 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 6 ก.ย.61 ด้านปริมาณสำรอง EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ต.ค. 61 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 236.2 ล้านบาร์เรลสูงสุดในรอบ 1 เดือน

อย่างไรก็ตามรมต. ว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย นาย Arun Jaitleyกล่าวว่ารัฐบาลอินเดียประกาศลดภาษีสรรพสามิตรที่เรียกเก็บจากการขายปลีกน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในประเทศ ลง 2.5 รูปีต่อลิตร หรือ 0.03 เหรียญสหรัฐฯ ต่อลิตร (ประมาณ 60 สตางค์ต่อลิตร) ทั้งนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินจะปรับลดลงสู่ระดับ 81.35 รูปีต่อลิตรหรือราว 36.21 บาทต่อลิตร และ บริษัท Showa Shell บริษัทลูกของ Shell ในญี่ปุ่นประกาศปิดซ่อมบำรุงหน่วย CDUหมายเลขที่ 2 (กำลังการผลิต 100,000บาร์เรลต่อวัน ) ของโรงกลั่น Yokkaishi (กำลังการกลั่น 255,000 บาร์เรลต่อวัน ) วันที่ 3 ต.ค. 61 เป็นระยะเวลา1 เดือน อีกทั้ง International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.25 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 10.04 ล้านบาร์เรล ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 86.5-91.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลงหลังรัฐบาลจีนได้ประกาศโควตาส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปให้กับโรงกลั่นน้ำมันของรัฐรอบใหม่ โดย บริษัท Sinochem ได้รับโควต้าส่งออกปริมาณรวม 340,000 ตัน ซึ่งเป็นน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 70,000 ตัน ประกอบกับอุปสงค์น้ำมันดีเซลในประเทศลดลง ทำให้ บริษัท Naraya Energy และ Mangalore Refinery and Petrochemical Ltd. (MRPL) ส่งออกน้ำมันดีเซล อีกทั้ง กระทรวงพาณิชย์บราซิลรายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดีเซล เดือน ก.ย. 61 ลดลงจากเดือนก่อน 34% มาอยู่ที่ระดับ 99,200 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม Bloomberg รายงาน Arbitrage น้ำมันดีเซลจากเอเชียไปยังยุโรปเปิด

โดยผู้ค้าใช้เรือ VLCC "Bronco" ที่เพิ่งรับมอบจากอู่ต่อเรือขนส่งน้ำมันดีเซลจากเอเชียตะวันออกสู่ยุโรป ปริมาณ 2 ล้านบาร์เรล ส่งมอบเดือน ต.ค. 61 และ IES รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 650,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 10.09 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และ EIAรายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 ต.ค. 61 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 133.5ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 92.5-97.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Wednesday, 24 October 2018 07:41
กัลยรัตน์ กิจศิริวัชรโชติ

Author : เกาะติดข่าวพลังงาน พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานสะอาด โรงไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าช การขนส่งพลังงาน นโยบายรัฐ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM