IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ซึ่งพัฒนาขึ้นด้วยการต่อเติมสถาปัตยกรรมเดิมของเครื่องรุ่น 20 คิวบิท คล้ายกับว่าการเปิดม่านยุคควอนตัมคอมพิวเตอร์กำลังใกล้เข้ามา
ในเครื่องรุ่น 20 คิวบิทนั้น เป็นเครื่องทดสอบที่มี Coherence time (ช่วงเวลาต่อเนื่องที่ 0 และ 1 สามารถทับซ้อนกันได้ในเชิงควอนตัมเพื่อใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ความเร็วสูง) สูงถึง 90 ไมโครวินาที (ไมโคร = 1 ในล้าน) สูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา และมากกว่าเครื่องทดสอบรุ่นก่อนๆ ของ IBM ที่มี Coherence time เฉลี่ยที่ 50 ไมโครวินาทีเกือบเท่าตัว ส่วนในรุ่น 50 คิวบิทที่เป็นรุ่นทดสอบ ปัจจุบันยังมีค่าเทียบเท่ากับในรุ่น 20 คิวบิทอยู่
ควอนตัมคอมพิวเตอร์ ถูกกล่าวขานว่าเป็นคอมพิวเตอร์ในฝันที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งคณะวิจัยของ IBM ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยอัลกอริทึมซึ่งสามารถจำลองพฤติกรรมของอะตอมได้อย่างมีประสิทธิภาพลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature ของอังกฤษ คาดว่าผลการวิจัยนี้ สามารถนำไปต่อยอดในการวิจัยด้านยา วัสดุ และพลังงานได้ในเร็ววัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของเครื่องทดสอบ 50 คิวบิทของ IBM นั้น เรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ในวงการวิจัยควอนตัมคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจาก Google ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานจริงได้ให้ความเห็นว่า ควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น 50 คิวบิทนั้น แม้จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าคอวนตัมคอมพิวเตอร์รุ่นที่แล้ว ๆ มา และเป็นอีกเครื่องที่ยืนยันศักยภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์ แต่ปัญหาในการเชื่อมวงจร สัญญาณรบกวน และข้อผิดพลาดอื่น ๆ ยังไม่หมดไป รวมถึงยังมีผู้แสดงความเห็นว่า “มันไม่ง่ายขนาดนั้น”
IBM ได้ติดตั้งเครื่องทดสอบรุ่นโปรเซสเซอร์ 5 คิวบิท และ 16 คิวบิท โดยทดลองให้บริการ “IBM Q experience” แบบออนไลน์ผ่านคลาวด์ให้กับสมาชิกทั่วไป ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2016 จนถึงปัจจุบัน และเริ่มโครงการ “IBM Q” บริการควอนตัมคอมพิวเตอร์เชิงพาณิชย์สำหรับธุรกิจและการวิจัยในเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017
ปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนใช้งาน “IBM Q experience” 60,000 ราย เป็นมหาวิทยาลัย 1,500 ราย โรงเรียนม.ปลาย 300 ราย และบริษัทเอกชน 300 ราย ถูกใช้ประมวลผลแล้วถึง 1,700,000 ครั้ง และนอกจากจะถูกใช้ในการศึกษาการประมวลผลแบบควอนตัมแล้ว ยังทำให้เกิดเอกสารงานวิจัยนอกเหนือจาก IBM มากกว่า 35 ฉบับ
ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun