November 18, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

“คณิศ” ลุยดึงลงทุนอีอีซีหวังโต 10% ดันจีดีพีไทยโต 5% ลั่นแม้ยากถ้าร่วมกันสำเร็จแน่

“คณิศ” เผยคืบหน้าอีอีซีลุยดึงดูดลงทุนหวังโต 10% ดันจีดีพีไทยทะลุ 5% ลั่นแม้ยากมั่นใจถ้าร่วมกันสำเร็จแน่

ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หนังสือพิมพ์มติชนจัดสัมมนา ในหัวข้อ “อีอีซี แม่เหล็กเศรษฐกิจไทยเชื่อมโลก” ซึ่งถือเป็นการจัดสัมมนาครั้งที่ 3 ในรอบปีที่หนังสือพิมพ์มติชนก้าวสู่ปีที่ 40 โดยมี นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดงานและปฐกถาพิเศษว่าด้วย ทิศทางนโยบายอีอีซีในบทบาทแม่เหล็กเศรษฐกิจที่จะดึงดูดการลงทุน

โดย นายคณิศ ศรีสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้มีการฉายภาพความคืบหน้าอีอีซีผ่านวีทีอาร์ ตั้งแต่การจัดทำแผนงาน นโยบาย และความคืบหน้ามาเป็นลำดับ ล่าสุดคือ การลงพื้นที่จริงพร้อมด้วยนักลงทุนญี่ปุ่นกว่า 500 ราย ซึ่งฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น ตั้งเป้าหมายร่วมกัน 3 ด้าน คือ การลงทุน การพัฒนาเทคโนโลยี และการพัฒนาด้านบุคลากร เพื่อให้พื้นที่อีอีซีเป็นศูนย์กลางการลงทุนลงทุนของประเทศในอนาคต (Hub for the future) รวมทั้วพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยง

นายคณิศกล่าวว่า อีอีซี ถือเป็นฐานสะสมการลงทุนและฐานสะสมเทคโนโลยีให้กับเยาวชนไทยในอนาคต เพราะถ้าเราไม่ทำจะไม่ทัน จุดมุ่งหมายอยากเห็นการลงทุนขยายตัว 10% ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการลงทุนขยายตัวเพียง 3% ทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขยายตัวได้เพียง 2-3% หากการลงทุนขยายตัวได้ 10% เชื่อว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ถึง 5% ทั้งนี้ หากพิจารณาความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยจากการจัดอันดับของสถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD) และเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (WEF) พบว่าหลาย ๆ เรื่องไทยแพ้ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียไปแล้ว ดังนั้นไม่ทำไม่ทัน เตือนไว้ก่อน อย่างไรก็ตามแม้การดำเนินการในเรื่องเหล่านี้เราทุกคนทราบดีว่ายากแต่หากทุกคนร่วมมือกันคิดว่าเราทำได้และมีโอกาสสำเร็จ

อีอีซีเป็นเหมือนเกตเวย์ของประเทศ เพราะมีท่าเรือ ทุกคนที่เข้ามาก็ต้องการ อย่างแก๊สที่ใช้ประเทศก็ขนส่งมาทางนี้ การที่เราเลือกพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา มีที่มาที่ไปไม่ได้เลือกที่รักมักที่ชัง เวลาที่ไปคุยกับนักลงทุนก็คุยง่ายโดย อีอีซี มี 4 กลุ่ม 15 โครงการ และ 5 โครงการหลัก ครอบคลุมด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมเป้าหมาย การท่องเที่ยว และการสร้างเมืองใหม่รวมทั้งสาธารณูปโภค

นายคณิศกล่าวว่า เรื่องที่กำลังดำเนินการมี 8 เรื่อง ได้แก่ การตั้งสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินพาณิชย์ภาคตะวันออก กำหนดให้รถไฟความเร็วสูงต้องเชื่อม 3 สนามบิน ให้มีการพัฒนา 3 ท่าเรือน้ำลึก และให้มีรถไฟรางคู่เชือม 3 ท่าเรือ การลงทุนโดยใช้รูปแบบการร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ซึ่งกฎหมายกำลังจะออกมา จะนำใช้กับ 4 โครงการนี้ก่อน เพราะจะถือว่าเป็นกระดูกสันหลัง ความคืบหน้าโครงการในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมาได้เริ่มวางรากฐานรองรับไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้เป็นช่วงชักชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน

“เรามีกระดูกสันหลังแล้วตอนนี้กำลังสร้างกล้ามเนื้อ ทั้งนี้ งบประมาณที่ประเทศไทยมีอยู่โดยเก็บภาษีประชาชนเหมาะกับการทำโครงการที่ให้ประโยชน์กับประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา หรือสาธารณสุข แต่โครงการที่สามารถมีรายได้เป็นของตนเองระดับหนึ่งและนักธุรกิจสนใจอย่าเอางบประมาณที่ต้องใช้กับประชาชนมาทำโครงการนี้ต้องใช้พีพีพี” นายคณิศกล่าว

นอกจากนี้ นายคณิศกล่าวว่า ยังมีเรื่องการชักชวนให้นัดลงทุนเข้ามาลงทุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งมีนักลงทุนสนใจที่จะเข้ามาดูพื้นที่อีก รวมทั้ง การท่องเที่ยวที่กำลังจัดทำแผนงาน ขณะที่การศึกษา ทั้งนี้ เรื่องการพัฒนาคน กำลังทำแผนงานคาดว่าจะนำเข้าเสนอในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการได้ขอให้ใช้มาตรา 44 ในการจัดทำหลักสูตร เพราะเดิมการทำต้องใช้เวลา 2-4 ปี ด้านสาธารณูปโภคกำลังดำเนินการ น้ำพอไฟพอ ส่วนเรื่องกฎหมายอีอีซีผ่านมติคณะรัฐมนตรีแล้ว อยู่ในกระบวนการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เร็วๆ นี้ คาดออกมาบังคับใช้ต่อไป

 ที่มา : มติชนออนไลน์

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:26
สุรเชษฐ์ บุญพิทักษ์

Author : จบสาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง เกาะติดข่าวก่อสร้าง โยธา อาคาร บ้าน ตึก ถนน รถไฟความเร็วสูง อภิมหาโปรเจค ฯลฯ รวมไปถึงเทคโนโลยีเครื่องจักร นวัตกรรมการก่อสร้าง และเทคนิคการก่อสร้างสมัยใหม่ 

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM