November 24, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

พาณิชย์ประชุมเศรษฐกิจภูมิภาคตะวันออก

นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้เข้าร่วมการประชุมเศรษฐกิจภูมิภาคตะวันออก (Eastern Economic Forum: EEF) ครั้งที่ 3 ณ เมือง วลาดิวอสต็อก สหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การประชุม EEF เป็นเวทีการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับต่างประเทศของภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายหันหน้าสู่ตะวันออก (Turn to the East) ของประธานาธิบดีรัสเซีย (นายวลาดิเมียร์ ปูติน) ที่ต้องการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง วลาดิวอสต็อก และให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของรัสเซียเข้ากับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 6,000 คน จาก 60 ประเทศ (เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากผู้เข้าร่วม 3,500 คน ในปีที่ผ่านมา) มีการลงนามความตกลงด้านการลงทุนทั้งสิ้น 217 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 2.5 ล้านล้านรูเบิล (1.43 ล้านล้านบาท)

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมอภิปราย ในการเสวนา Russia-ASEAN Business Dialogue ในงานประชุม EEF โดยได้กล่าวถึงโอกาสที่ไทยและรัสเซียฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 120 ปี และอาเซียนครบรอบ 50 ปี ในปี 2560 ศักยภาพของอาเซียนคือ เป็นตลาดที่มีผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) รวมกันเกือบ 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากมีแรงงานจำนวนมาก และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานน้ำ แร่ธาตุต่างๆ ประกอบกับการที่อาเซียนกำลังเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) กับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ซึ่ง RCEP จะเป็น “Mega FTA” ครอบคลุมประชากรเกือบครึ่งโลก เป็นร้อยละ 27 ของ GDP โลก ไทยมีจุดแข็งในด้านทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งอยู่ใจกลางของอาเซียน สามารถเชื่อมโยงกับจีนและอินเดียได้ ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยง (connectivity) ในทุกด้าน และมีระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ของไทยซึ่งมีการพัฒนาความพร้อมในทุกด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ และเชื่อมโยงประเทศไทยสู่อาเซียน และจีนได้ ซึ่งนโยบายดังกล่าวสอดรับกับนโยบาย หันหน้าสู่ตะวันออกของรัสเซีย ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวรัสเซียมาประเทศไทยปีละกว่า 1 ล้านคน เป็นอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจากยุโรป และมีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ในแถบตะวันออกไกลของรัสเซียเป็นจำนวนมาก การพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งควรผลักดันให้เป็นรูปธรรมคือ ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือวลาดิวอสต็อกของรัสเซียกับท่าเรือแหลมฉบังของไทย ไทยและรัสเซียได้ตั้งเป้าหมายการค้าสองฝ่ายให้เพิ่มขึ้นเป็น 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2563 ในวันนี้ ได้พาคณะนักธุรกิจมาร่วมกิจกรรม Business Matching ที่วลาดิวอสต็อกด้วย ภายในงาน สินค้าไทยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการรัสเซียเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว สคต. ณ กรุงมอสโกร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดกิจกรรมโครงการคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาการค้าการลงทุน ณ เมืองวลาดิวอสต็อก สหพันธรัฐรัสเซีย มีบริษัทไทยเข้าร่วมกิจกรรม Business Matching 8 บริษัท ได้แก่ สินค้าผลิตภัณฑ์อาหาร (4 บริษัท) สปาและความงาม (1 บริษัท) ชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่เสริม (2 บริษัท) และผ้าปูที่นอน (1 บริษัท) มีผู้ประกอบการรัสเซียเข้าร่วม 84 ราย คาดว่าภายใน 1 ปีจะมียอดการสั่งซื้อ 286,000 เหรียญสหรัฐ จากสินค้า อาทิ ลูกหมากรถยนต์ อุปกรณ์ล็อกบ้าน กุญแจบ้าน ยาสีฟันสมุนไพร สบู่ สินค้าสปา เครื่องต้มยำชนิดผง ผลิตภัณฑ์ข้าวสำเร็จรูป และเครื่องดื่มที่ทำจากข้าว

อีกทั้งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ และคณะได้เข้าพบผู้บริหารบริษัท FESCO ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบการบริหารท่าเรือพาณิชย์ในวลาดิวอสต็อก เพื่อหารือการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือวลาดิวอสต็อกของรัสเซียกับท่าเรือแหลมฉบังของไทย ซึ่งไทยได้ให้ข้อมูล เรื่องนโยบาย Eastern Economic Corridor ของไทย รวมทั้งการเร่งพัฒนาสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ต่าง ๆ อาทิ ขยายมอเตอร์เวย์ สร้างรถไฟความเร็วสูง สร้างรถไฟทางคู่ ขยายท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ฯลฯ เพื่อรองรับการลงทุนและขยายตัวทางเศรษฐกิจในพื้นที่ และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ รถยนต์แห่งอนาคต หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม และมีการให้สิทธิพิเศษแก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งแหลมฉบังของไทยสามารถเป็น “ประตู” (gateway) สำหรับสินค้าของรัสเซียจากภูมิภาคตะวันออกไกลไปสู่ประเทศในอาเซียนได้ โดยบริษัท FESCO ยินดีที่จะให้ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้เข้าพบหลังจากนี้ และแจ้งว่าจะเดินทางมาเยี่ยมชมท่าเรือแหลมฉบังในเวลาอันใกล้นี้ พร้อมกับได้ให้รายชื่อผู้รับผิดชอบ (focal point) ของบริษัทฯ เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยจะได้ประสานในรายละเอียดต่อไป

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:29
ชุติมา ธรรมเที่ยง

Author : เกาะติดข่าวขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ รวมไปถึงกระบวนการจัดการและวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ การควบคุม และศุลกากร

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM