IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ในไทยและภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยว่า บริษัทได้วางงบลงทุนไว้ราว 2,400-2,500 ล้านบาท เพื่อจะใช้ในการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยงบลงทุนไม่เกิน 2,000 ล้านบาท และงบลงทุนราว 400-500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 นี้ วางเป้าหมายการเติบโตของยอดขายไว้ไม่ต่ำกว่า 5-10% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่คาดว่าจะคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการเริ่มทยอยลดการบังคับใช้มาตรการต่างๆลง ซึ่งจะเข้ามาช่วยหนุนให้มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในประเทศและทั่วโลก ขณะที่ภาคธุรกิจต่างๆ เริ่มกลับมาให้บริการมากขึ้น อาทิ ร้านอาหาร ผับ บาร์ สามารถกลับมาเปิดให้บริการและประชาชนใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลดีการบริโภคสินค้าและความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
โดยบริษัทได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้เพิ่มสัดส่วนการใช้เศษแก้วในเตาหลอมเพื่อลดการใช้พลังงาน ในขณะเดียวกันยังได้ปรับราคาสินค้าให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย
สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2565 ที่ผ่านมาบริษัทฯ สามารถทำผลการดำเนินงานอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนและหลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้มาตการล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการขายทั้งสิ้น 12,387 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิทำได้ 523 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1% จากปีก่อนทั้งนี้ ผลการดำเนินงานที่รักษาการเติบโตทั้งรายได้และกำไร มาจากปริมาณการขายบรรจุภัณฑ์ในปี 2564 ที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการขยายตลาดและปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขาย ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดที่มีความท้าทายจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า อย่างไรก็ตามบริษัทฯ สามารถขยายตลาดส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของตลาดต่างประเทศ
ธุรกิจผลิตและจำหน่ายฟิล์มพลาสติกที่ BGC เพิ่งซื้อเข้ามาใหม่ เป็นโมเดลธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการกระจายความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์บรรจุแก้ว
นอกจากนี้ ในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้ขยายการลงทุนโดย
- เข้าถือหุ้น 100% ใน บริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (BGP) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายฟิล์มพลาสติก ฝาพลาสติก ขวด PET หลอดพรีฟอร์ม
- เข้าถือหุ้น 100% ใน บริษัท บางกอกบรรจุภัณฑ์ จำกัด (BVP) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์กระดาษ กำลังการผลิตประมาณ 5 หมื่นตันต่อปี เพื่อปรับโมเดลธุรกิจสู่ Total Packaging Solutions ที่มีบรรจุภัณฑ์พร้อมบริการที่หลากหลาย จากเดิมที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้ว ส่งผลดีต่อการเพิ่มยอดขายสินค้าจากบรรจุภัณฑ์อื่น และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งนี้ ประเมินว่าในปี 2565 แนวโน้มตลาดบรรจุภัณฑ์ทั่วโลกจะฟื้นตัวและเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% หลังจากคาดการณ์ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ในฝั่งยุโรปและอเมริกาได้ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว โดยประเทศแถบยุโรปเริ่มทยอยลดการบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ส่งผลให้ภาคธุรกิจ เช่น ร้านอาหาร ผับ บาร์ สามารถกลับมาเปิดให้บริการและประชาชนใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งจะส่งผลดีการบริโภคสินค้าและความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
“บรรจุภัณฑ์แก้วเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เราดำเนินการผลิตมายาวนาน เราจึงมีความเชี่ยวชาญและนับว่าเป็นผู้ผลติรายใหญ่ของประเทศไทยในระดับอาเซียน แผนการดำเนินงานก้าวต่อไป คือการเติบโตที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น เพื่อจะได้สร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยภายใน 5 ปีนับจากนี้ บริษัทฯตั้งเป้าหมายการเติบโตให้ได้ 2 เท่า ซึ่งต้องโตอย่างน้อย 10% หรือบางปีอาจต้องโตถึง 20% โดยการเติบโตของบริษัทฯ จะไม่ได้มาจากกำลังการผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เท่านั้น จึงต้องมีการเพิ่มกำลังการผลิต รวมถึงไปมีหุ้นส่วนหรือพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ ด้วย เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเข้ามา ให้สามารถโตตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ 100% ภายใน 5 ปี นับจากนี้” นายศิลปรัตน์ กล่าว
อันดับแรกคือเราจะมองหาธุรกิจที่จะต่อยอดจากบรรจุภัณฑ์แก้ว ซึ่งเป็นธุรกิจแรกที่เราจะมองหาคนที่จะมาเป็น Partnership ด้วย ซึ่งต้องเป็นองค์กรที่มีขนาดที่เหมาะกับบริษัทฯไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป รวมถึงคนที่มีวิสัยทัศน์ที่คล้ายคลึงกันสามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้ ถือเป็นหลักการแรกคร่าวๆ ในการหาหุ้นส่วนที่จะมาดำเนินธุรกิจเพื่อต่อยอดร่วมกัน ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถนำบรรจุภัณฑ์แก้วเป็นตัวต่อยอดหรือเป็นตัวนำ เพื่อนำผลิตภัณฑ์อื่นๆออกสู่ตลาดให้ลูกค้ารู้จักได้ ในอนาคตเราอยากให้ฝ่ายขายของเราเข้าไปเสนอขายขวดแก้วพร้อมขายฉลากและผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์แก้วได้
อันดับที่สอง คือบริษัทฯได้ดำเนินธุรกจิด้วนบรรจุภัณฑ์แก้วมานานกว่า 40 ปีแล้ว จากที่เคยขายผลิตภัณฑ์แก้ว 100% โดยในอนาคตรายได้ของเราคาดว่าจะมาจากบรรจุภัณฑ์แก้ว 60% ที่เหลืออีก 40% จะเป็นรายได้จากบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งจะเป็นการกระจายความเสี่ยงออกไป โดยปัจจุบันบริษัทฯมียอดขายประมาณ 12,000 ล้านบาท จึงคาดแผนอีก 5 ปี จะเป็นการปักหลักที่ดีที่จะสามารถสร้างยอดขายให้เติบโตขึ้นเป็น 2 เท่าได้ คือสร้างรายได้ 25,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีหลังจากนี้
“ยอดขายจากบรรจุภัฑ์แก้วก็คาดว่ายังเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เราจะเอาผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาเสริมมากขึ้น ทั้งในแง่ของการขยายกำลังการผลิตที่เรามีอยู่ตอนนี้ หรือในแง่ของการเข้าไปควบรวมกิจการ M&A กับการทำธุรกิจแบบกิจกรรมร่วมค้ากันกับ Joint Venture กับผู้ผลิตในตลาดทั้ง 2 ส่วน ทั้งผลิตภัณฑ์แก้ว และส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆด้วย ซึ่งการผสมทั้งสองส่วนนี้ จะทำให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ได้ใน 5 ปีนี้”
สำหรับการเติบโตของบรรจุภัณฑ์แก้วนั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในด้านการขนส่งต่างๆ ด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าในเรื่องของการขนส่ง การซื้อขายออนไลน์ หรือการขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งได้มากขึ้น เช่นลังกระดาษ กล่องกระดาษ หรืออาจจะเป็นถุงพลาสติก ถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนต่างๆ ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลเริ่มมีมาตรการคลายล็อกดาวน์ บริษัทฯคาดว่าตัวเลขการเติบโตจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสะดุดในส่วนกำลังซื้อของผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมา
“ปัจจุบันเรามีโปรเจกต์ใหญ่อยุ่ 3 โปรเจกต์ โปรเจกต์แรกคือการขึ้นเตาหลอมใหม่ที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งปัจจุบันเรามีเตาหลอม 1 เตา กำลังการผลิตประมาณ 400 ตัวต่อวัน เราจะขึ้นเตาหลอมที่ 2 จะทำให้กำลังการผลิตรวมของกลุ่มบางกอกกล๊าส เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% เราได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี 2566 โปรเจกต์ที่สองคือ การดำเนินการขยายกำลังการผลิตเตาหลอมที่จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรองรับการการผลิตอีก 20% อันนี้เป็นส่วนที่สองที่ทำให้กำลังการผลิตของบริษัทเพิ่มขึ้น ส่วนโปรเจกต์ที่สามคือ ธุรกิจฟิล์มที่บริษัทได้ซื้อมา โดยในธุรกิจนี้คาดว่าจะขยายกำลังการผลิตไปในลักษณะการทำธุรกิจที่เรียกว่า Pouch หรือถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ ใส่ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม แชมพู หรือใส่อาหาร รวมทั้งในร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ด้วย ซึ่งเราคาดว่าจะขยายกำลังการผลิตส่วน Pouch ให้เพิ่มขึ้นด้วย” นายศิลปรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย