IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
Mr. Silaprat Watthanakaset, Managing Director of BGC Container Glass Public Company Limited (BGC) in the Bangkok Glass Group (BG). He revealed that the company's core business is to manufacture and distribute glass bottles with a total production capacity of 5 factories, which approximately 1 million tons per year. BGC is occupying about 40% of the glass bottle industry that considered to be the number one in the country. The primary customer base is the Boon Rawd group, which approximately 50% (4-5 hundred thousand tons). Another 25% comes from shareholders such as Green Sport, Red Bull, Thai Namthip, etc. Another 10% are general customers in the country, and another 15-16% is export to foreign countries including Vietnam, Australia, India, Europe, including the United States
After the trade war between the US and China this year, the company received glass bottle orders from US customers that increased significantly with plans to expand the market for glass bottles for food.
Also, more exporting due to having a high proportion of profits by setting the export revenue target at 20% to balance with the domestic market. Next year will begin glass containers for baby food to Nestle.
However, the glass bottle factory is consider as a strategic industry of the beverage manufacturers. Because of without a glass bottle, they will not be able to expand the beverage market. Boon Rawd uses 100% BGC bottles. To secure the business, all beverage manufacturers investing in establishing their glass factories. The global demand for glass packaging trends has increased due to the trend of reducing the use of plastic, which demand decreased significantly. However, the investment in the production of new glass is more expensive than using the old glass bottles for recycling.
The company bought shares 25% of BS Glass Recycling Company Limited (BSR), the largest buyer of used glass bottles in the country, to be a more intimate partner. The goal is to increase and develop the raw material management capability to supporting future growth. The glass bottle businesses are continuous growth of 3-4%, but due to the business profit is relatively low. The company is not just focusing on the glass business but expanding to invest in other packaging businesses, including paper boxes, film, and bag — also, renewable energy business by concentrating on non-organic growth with the acquisition or merger. At present, the company's revenue portfolio is around 12 billion baht. The company set a target that within five years from now, sales will increase to 30 billion baht.
Most recently, the company has acquired 100% shares of Solar Power Management (Thailand) Company Limited (SPM) with a value of 1,259 million baht. PSM is a shareholder in 2 solar power plant businesses in Vietnam, namely Xuan Tho1 and Xuan Tho2 projects, which are both commercial electricity distribution since July. Total electric production follow agreement which is 99.219 megawatts.
Aside from investing power plants in Vietnam. Also, considering investing in many countries, both inside and outside of ASEAN, such as Japan. The trend of renewable energy is strong. The company has chosen to expand in the solar energy business. Because of the Bangkok Glass Group has experience in installing solar panels on the roof to use energy in the factory. This operation under BG Energy Solution Company Limited. The company is looking at the opportunity to expand investment, which can create a return for the company.
For expanding the paper packaging business, Mr.Silaprat stated that to receive more demand according to the e-commerce trend and the use of paper pack instead of plastic and foam. In this market, SCG is the only major company. So, the company view that this is a chance to get more demand. They trial commissioned to sell paper packaging Including the plastic film of BG Packaging Co., Ltd., which subsidiary of Bangkok Glass to external customers. Also, study the market and negotiate with various businesses continue to find opportunities to buy a business or venture.
"We didn't abandon the glass business; the company has continuously controlled the cost of glass production to increase margins. When looking for scrap glass from the waste collection company or in energy field, both are considered as a major cost of glass factory because it needs to install an automatic temperature control program. Including the procurement of other raw materials, which mostly cannot reduce the cost more than this. Therefore, it turns to create revenue and profit from other businesses to supplement. "
For the glass packaging business, we have been continuing to upgrade all 5 factories in Pathum Thani, Khon Kaen, Prachin Buri, Phra Nakhon Si Ayutthaya and Ratchaburi, with the production capacity of 3,495 tons/ day or approximately 1 million tons a year to 4.0 factories with innovations such as robots and automation. To cope with labor shortage and increase product quality in the long term, the company aims to reduce using of labor from 200 people per stove to 20-30 people. Besides, the company will try to be an automatic factory in the near future while the workers will upgrade to be the machine supervisor instead of expanding the glass bottle packaging and food exports. Also, the company has estimated a higher profit by setting the export revenue target at 20% to balance with the domestic market.
Moreover, Bangkok Glass began to enter the construction materials business by establishing BG Float Glass Company Limited (BGF) in order to set up a glass production factory Investment value of 5,000 million baht at Kabinburi Glass Industry Company, Sri Maha Phot District, Prachinburi Province. The mentioned factory is having production capacity of 219,000 tons per year. Besides, the company also invest 1,000 million baht to buy aluminum from U Sam Inter Group Co., Ltd. and added to the main business as it has related product and able to meet customer’s need. This is how BGC group creates the 'strengths' of brands and services offered for various real estate projects, including distributors in other provinces as well.
กลุ่มบีจี ปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่ เร่งลงทุนพลังงาน-บรรจุภัณฑ์
“กลุ่มบริษัทบางกอกกล๊าส” (BG Group) ประกาศนโยบายปี 2563 ปรับกลยุทธ์การลงทุนทุก Segment รับฐานตลาดใน-เทศ ชูนวัตกรรมอัพเกรด 5 โรงงานในเครือ ลุยธุรกิจพลังงานสะอาดและบรรจุภัณฑ์กระดาษ ผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุค 4.0 พร้อมตั้งเป้าสู่ผู้นำในตลาดบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว เบอร์ 1 ในภูมิภาคเอเชีย
นายศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC ในเครือบางกอกกล๊าส หรือ BG เปิดเผยว่า ธุรกิจหลักของบริษัทคือการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว โดยมีกำลังผลิตรวม 5 โรงงาน ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ครองส่วนแบ่งประมาณ 40% ของอุตสาหกรรมขวดแก้ว ถือเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ซึ่งฐานลูกค้าหลักเป็นเครือบุญรอดประมาณ 50% (4-5 แสนตัน) อีก 25% มาจากกลุ่มผู้ถือหุ้น อาทิ กรีนสปอร์ต กระทิงแดง ไทยน้ำทิพย์ เป็นต้น อีก 10% เป็นลูกค้าทั่วไปในประเทศ และอีก 15-16% เป็นการส่งออกไปต่างประเทศทั้งเวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย ยุโรป รวมถึงสหรัฐอเมริกา
บีจีซี เคลื่อนทัพบุกตลาดต่างประเทศ มุ่งเป้ารองรับฐานผู้บริโภคในเอเชียที่มีมากกว่า 4.5 พันล้านคน
โดยหลังจากที่เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้ช่วงปีนี้ บริษัทก็ได้รับออร์เดอร์ขวดแก้วจากลูกค้าสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน พร้อมมีแผนขยายตลาดขวดแก้วบรรจุอาหาร และการส่งออกให้มากขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนกำไรสูง โดยวางเป้ารายได้ส่งออกไว้ที่ 20% เพื่อบาลานซ์กับตลาดในประเทศ ซึ่งปีหน้าจะเริ่มส่งออกบรรจุภัณฑ์แก้วสำหรับอาหารเด็กให้กับเนสท์เล่
อย่างไรก็ตาม โรงงานขวดแก้วถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของยักษ์ผู้ผลิตเครื่องดื่มต่าง ๆ เพราะถ้าไม่มีขวดแก้วก็จะไม่สามารถขยายตลาดเครื่องดื่มได้ ซึ่งในส่วนกลุ่มบุญรอดก็ใช้ขวดจาก BGC 100% ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นคงของธุรกิจกลุ่มยักษ์ผู้ผลิตเครื่องดื่มทั้งหลายจึงต้องลงทุนตั้งโรงงานผลิตขวดแก้วเอง เพื่อความต้องการบรรจุภัณฑ์แก้วทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเทรนด์ลดการใช้พลาสติกกำลังมาแรง จนดีมานด์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ในการลงทุนผลิตแก้วใหม่นั้นมีต้นทุนสูงกว่าการใช้ขวดแก้วเดิมมารีไซเคิล
บริษัทฯจึงได้เข้าซื้อหุ้น บริษัท บี เอส กล๊าสรีไซคลิ่ง จำกัด (BSR) ในสัดส่วน 25 % ซึ่งเป็นผู้รับซื้อขวดแก้วใช้แล้วรายใหญ่ของประเทศ เพื่อให้เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น เป้าหมายเพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการวัตถุดิบให้แก่บริษัท รองรับการเติบโตในอนาคต
ธุรกิจขวดแก้วแม้จะมีการเติบโตต่อเนื่อง 3-4% แต่เนื่องจากกำไรของธุรกิจค่อนข้างต่ำ บริษัทไม่ได้โฟกัสแค่ธุรกิจแก้ว แต่ขยายลงทุนต่อยอดธุรกิจบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งกล่องกระดาษ ฟิล์มและถุงเพาช์ รวมทั้งธุรกิจพลังงานทดแทน โดยเน้นเติบโตแบบน็อนออร์แกนิก ด้วยการเข้าไปซื้อกิจการ หรือควบรวมกิจการ ปัจจุบันพอร์ตรายได้ของบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปีจากนี้จะมียอดขายเพิ่มเป็น 3 หมื่นล้านบาท
ล่าสุดบริษัทได้เข้าซื้อหุ้น 100% ของ บริษัท โซล่าร์ พาวเวอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (SPM) ด้วยมูลค่า 1,259 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม 2 โครงการ คือ โครงการ Xuan Tho1 และโครงการ Xuan Tho2 ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มมีการจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้วทั้ง 2 โครงการตั้งแต่เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายรวม 99.219 เมกะวัตต์
นอกจากการลงทุนโรงไฟฟ้าในเวียดนาม ยังพิจารณาลงทุนอีกในหลายประเทศทั้งในและนอกอาเซียน เช่น ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเทรนด์พลังงานทดแทนมาแรง ทั้งนี้ บริษัทเลือกขยายเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนหนึ่งเพราะในเครือบางกอกกล๊าสก็มีประสบการณ์ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาเพื่อนำพลังงานมาใช้ในโรงงาน ซึ่งดำเนินงานภายใต้ บริษัท บีจี เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด จึงมองถึงโอกาสขยายการลงทุนสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัท
สำหรับการขยายธุรกิจบรรจุภัณฑ์กระดาษ นายศิลปรัตน์ ระบุว่า เพื่อรับดีมานด์เพิ่มขึ้นตามกระแสอีคอมเมิร์ซ และการใช้แพ็กสินค้าทดแทนพลาสติกและโฟม ทั้งตลาดนี้ยังมีเอสซีจีเป็นรายใหญ่เพียงรายเดียว จึงมองว่ายังมีโอกาสชิงดีมานด์ได้ โดยได้ทดลองรับหน้าที่ขายบรรจุภัณฑ์กระดาษ รวมถึงฟิล์มพลาสติกของบริษัท บีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด ในเครือบางกอกกล๊าส ให้กับลูกค้าภายนอก พร้อมศึกษาตลาดและเจรจากับธุรกิจต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อหาโอกาสซื้อกิจการหรือร่วมทุน
“เราไม่ได้ทิ้งธุรกิจแก้ว แต่ที่ผ่านมาบริษัทได้ควบคุมต้นทุนในการผลิตแก้วเพื่อเพิ่มมาร์จิ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการหาเศษแก้วจากการไปซื้อบริษัทจัดเก็บเศษแก้วเข้ามา หรือในด้านพลังงาน ซึ่งถือเป็นต้นทุนหลักอีกตัวของโรงแก้ว ก็มีการติดตั้งโปรแกรมควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ รวมไปถึงการจัดหาวัตถุดิบอื่น ๆ จนแทบไม่สามารถลดต้นทุนลงไปมากกว่านี้ได้แล้ว จึงหันไปสร้างการเติบโตรายได้และกำไรจากธุรกิจอื่น ๆ เข้ามาเสริม”
สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้วก็เดินหน้าอัพเกรดโรงงานทั้ง 5 แห่งที่ปทุมธานี, ขอนแก่น, ปราจีนบุรี, พระนครศรีอยุธยา และราชบุรี กำลังผลิตรวม 3,495 ตัน/วัน หรือประมาณ 1 ล้านตัน/ปี ให้เป็นโรงงาน 4.0 ด้วยนวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานและเพิ่มคุณภาพสินค้าไปพร้อมกัน โดยในระยะยาวตั้งเป้าลดการใช้แรงงานคนจาก 200 คนต่อเตา เหลือ 20-30 คน และจะพยายามให้เป็นโรงงานอัตโนมัติในอนาคต ส่วนคนงานจะยกระดับขึ้นเป็นผู้คุมเครื่องจักรแทน พร้อมขยายตลาดขวดแก้วบรรจุอาหารและการส่งออกให้มากขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนกำไรสูง โดยวางเป้ารายได้ส่งออกไว้ที่ 20% เพื่อบาลานซ์กับตลาดในประเทศ
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา บางกอกกล๊าส ยังได้เริ่มเข้าสู่ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง โดยตั้งบริษัท บีจี โฟลต กล๊าส จำกัด (BGF) เพื่อตั้งโรงงานผลิตกระจกแผ่น มูลค่าการลงทุน 5,000 ล้านบาท ที่โรงงาน กบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ด้วยกำลังการผลิต 219,000 ตันต่อปี และได้ทุ่มงบ 1,000 ล้านบาทเข้าซื้อกิจการอลูมิเนียม จาก บริษัท ยูแซม อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด เข้ามาต่อยอดธุรกิจหลัก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกันและสามารถที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น เป็นการสร้าง‘จุดแข็ง’ ให้กับแบรนด์และการบริการที่เข้าไปนำเสนอให้กับกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายในต่างจังหวัดอีกด้วย