IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
วิธีที่เขาใช้เพียงแค่นำดินไปตรวจหา “ธาตุอาหาร” แล้ววิเคราะห์ว่ามีเพียงพอหรือมากเกินความต้องการของปาล์มน้ำมันหรือไม่ จนได้ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมกับสวนปาล์ม แน่นอนว่าแต่ละสวนมีธาตุอาหารหรือไซส์เสื้อแตกต่างกัน เขาเรียกปุ๋ยแบบนี้ว่า“ปุ๋ยสั่งตัด”
ประโยชน์ของการตรวจวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด จะเป็น “ผู้ช่วย” ของเกษตรกรวิเคราะห์คุณภาพของดิน และใส่ธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการจริงๆ ของปาล์มน้ำมัน
ปีนี้ผมปรับสูตรปุ๋ย เป็น 19-24-17 โดยลดธาตุโปแตสเซียมลง แล้วเพิ่มฟอสฟอรัส เพราะจากการตรวจดินครั้งล่าสุด พบว่ามีมากเกินไป ซึ่งอาจจะมาจากปุ๋ยสูตรเดิม 12-4-40 ที่เน้นตัวท้ายมากเกินไป แต่ตัวกลางมีน้อย
ครูวีรยุทธ พูดถึงสูตรปุ๋ยสั่งตัดที่ใช้ในปีนี้
ปาล์มน้ำมันพันธุ์ ยูนิวานิช อายุ 9 ปี
ด้วยความที่เป็นครูช่าง เขาจึงรู้ว่าการทำสวนปาล์มยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัย “ความแม่นยำ” มากขึ้น จะทำตามความรู้สึก หรือประสบการณ์อย่างเดียวไม่ได้ เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชอายุยืนมีรอบการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า หากเดินผิดทางแล้วจะเสียหายและแก้ไขยาก
อันที่จริงแล้ว ครูวีรยุทธ ก็ไม่ใช่เป็นเซียนปาล์มน้ำมันมาจากไหน แต่อาศัยเรียนรู้ ลงมือทำ และอาศัย “วินัย” ในการดูแลสวนปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อก่อนไม่มีความรู้มาก่อน พ่อตาก็แนะนำให้ทำสวนปาล์มก็เลยได้ทำสวนปาล์ม จำนวน 20 ไร่ จนมาทำจึงได้รู้ว่า สวนปาล์มกลายเป็นสิ่งที่ชอบ เพราะไม่ต้องทำทุกวัน แค่ดูแลใส่ปุ๋ยให้ต่อเนื่องเท่านั้นเอง
ให้ความสำคัญเรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมัน และความสมบูรณ์ของดิน
สายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ครูวีรยุทธ เลือกปลูก คือ “ยูนิวานิช” เพราะเป็นพันธุ์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 45 ปี มีการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีเกษตรกรปลูกมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมสูง รวมถึงความเป็นมาตรฐานระดับโลก ส่งออกไปกว่า 15 ประเทศทั่วโลก
สร้างกองทางและทะลายเปล่า ช่วยคลุมดิน รักษาความชื้น และเป็นอินทรียวัตถุชั้นดี
แม้กระบี่จะมีฝนค่อนข้างดี แต่ยามแล้งก็แล้งเอาการอยู่ ครูวีรยุทธ จึงหาวิธีเก็บความชื้นไว้ในดินมากที่สุด โดยใช้ทะลายเปล่าปาล์มมาคลุมบริเวณโคนต้นปาล์ม นอกจากจะเป็น “ฟองน้ำ” เก็บรักษาความชื้นแล้ว ยังย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุชั้นดีให้ดินด้วย รวมถึงการสร้างกองทางปาล์มในสวนก็มีประโยชน์แบบเดียวกัน และยังใส่โดโลไมท์เพิ่มต้นต้นละ 2 กก. เพื่อปรับสภาพดิน (ค่า pH 4.8)
"เวลาใส่ปุ๋ยเราก็จะใส่บริเวณกองทาง และกองทะลายเปล่า เพราะเป็นบริเวณนี้มีรากปาล์มจำนวนมาก มันจะกินปุ๋ยได้ดีกว่า และยังช่วยเก็บกักปุ๋ยอีกด้วย"
นอกจากนั้น “หญ้า” ที่ เหมือนจะเป็น “วัชพืช” ในสวนปาล์ม แต่ครูวีรยุทธมองว่าหญ้ามีประโยชน์มากกว่าโทษ ถ้าจัดการดีๆ
"เมื่อก่อนจะตัดหญ้าให้เตียนตลอด เพราะอยากให้สวนดูสวยงาม แต่ตอนหลังเปลี่ยนมาปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อรักษาความชื้นและลดการกัดเซาะหน้าดิน จะตัดหญ้าก็เฉพาะก่อนใส่ปุ๋ยเท่านั้น"
"ผมใส่ปุ๋ยเรื่อยๆ ใส่ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ใส่ทุก 2 เดือน ครั้งละ 2 กก."
อาจเป็นเพราะพื้นที่ อ.อ่าวลึกมีฝนค่อนข้างเยอะ เขาจึงเลือกใส่ปุ๋ยบ่อยๆ แทนการใส่ 2-3 ครั้ง/ปี เพราะมีโอกาสสูญเสียไปกับน้ำฝนสูงมาก แล้วเสริมด้วยโบรอน 200 กรัม/ต้น รวมปริมาณปุ๋ยทั้งหมด 8 กก./ต้น/ปี
ครูวีรยุทธบอกว่าถ้ามองในแง่ของความถูกต้องแม่นยำแล้ว ปุ๋ยสั่งตัดมีความจำเป็น เพราะเป็นปุ๋ยที่มาจากการตรวจวิเคราะห์จากดิน แล้วปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของปาล์ม ทำให้ใส่ปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ และประหยัดต้นทุนปุ๋ยได้ระดับหนึ่ง
"ถ้าใส่ปุ๋ยที่เราไม่รู้ว่าตรงกับความต้องการของดินและต้นปาล์ม มันอาจจะสิ้นเปลือง หรืออาจจะน้อยเกินไปได้ "
หลังจากเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเห็นความแตกต่างว่าต้นปาล์มออกช่อตัวเมียมากขึ้น และออกเร็วขึ้น เพราะว่าใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอและตามปริมาณที่ปาล์มต้องการ ทะลายค่อนข้างใหญ่ เมล็ดปาล์มใหญ่ขึ้น น้ำหนักทะลายก็เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างชัดเจน
ด้านการเก็บเกี่ยวปาล์มจะตัด 20 วัน/ครั้ง ตัดสูงสุดรอบละ 15 ตัน เวลาตัดครูวีรยุทธจะเข้ามาควบคุมทุกครั้ง โดยเลือกตัดวันเสาร์หรืออาทิตย์ หรือช่วงวันหยุดจากงานราชการ จะได้ควบคุมการตัดให้มีคุณภาพ ตัดเฉพาะทะลายสุกมีลูกร่วง 4-5 เมล็ดเท่านั้น
ผลผลิตปีที่แล้ว 2560 ตัดผลปาล์มได้ 133.42 ตัน หรือเฉลี่ย 6.67 ตัน/ไร่/ปี
สวนของครูวีรยุทธ จัดทุกๆ 20 วัน เฉพาะทะลายที่สุกเท่านั้น
ผลผลิตสูงต่อเนื่อง ปี 2560 เฉลี่ย 6.67 ตัน/ไร่/ปี
ราคาผลผลิตลดลง เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต และควบคุมต้นทุน
เมื่อสอบถามเรื่องราคาผลผลิต ครูวีรยุทธยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมาราคาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่ราคา เฉลี่ย 5 บาท ตัดรอบละ 10 กว่าตัน ได้เงินไม่น้อยกว่า 50,000 บาท แต่เมื่อปีที่แล้วราคาเฉลี่ย 4.41 บาท/กก.และช่วงปีนี้ราคาลดลงมากทำให้รายได้จากปาล์มลดลง
แต่ราคาปาล์มเขายอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง เพราะเป็นไปตามกลไกตลาด แต่จะมาคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้ ทางหนึ่งที่ทำได้จริงและเห็นผลเป็นรูปธรรมคือ ทำอย่างไรให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ควบคุมต้นทำไม่ให้สูงมาก เพื่อรักษารายได้ให้อย่างน้อยเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น
ครูวีรยุทธ มองว่า การเพิ่มผลผลิตเป็นกฎขั้นพื้นฐานของเกษตรกร เพราะไม่ว่าจะราคาปาล์มถูกหรือแพง ต้องทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด ผลผลิตทั้งหมดคนที่ได้รับผลประโยชน์คนแรกก็คือ เกษตรกร
เจ้าของสวนปาล์มบอกว่า พันธุ์ปาล์มน้ำมัน “ยูนิวานิช” เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงถึง 6.67 ตัน/ไร่/ปี ทะลายค่อนข้างใหญ่ ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ โดยต้นที่ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 17 ทะลายพร้อมกัน
"ถ้ามีที่อีกก็ปลูกอีกครับยูนิวานิช มีผลผลิตทุกต้นและดกเกือบทุกต้น มีเกษตรกรใกล้เคียงเข้ามาดูตัวอย่าง จนกลายเป็นที่ยอมรับ เพราะยูนิวานิชมีการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันมาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐาน มีแปลงวิจัยและพัฒนาอยู่ในประเทศ จึงเหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทย เป็นปาล์มที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับโลก"
ขอขอบคุณ
วีรยุทธ บุตรมาตา
17/3 หมู่ 5 ต.เขาใหญ่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ โทร. 099-407-6068
ที่มา : www.yangpalm.com