IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายทาคาโนบุ อาซึมะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ทางบริษัทคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น ญี่ปุ่น ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อช่วยบริหารจัดการฟาร์ม เพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดต้นทุน ให้การทำการเกษตรง่ายขึ้น เนื่องจากแนวโน้มการเกษตรทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง “เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ” คูโบต้าจึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้รองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2562 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีผลประกอบการกว่า 54,000 ล้านบาท และในปี 2563 นี้ บริษัทฯคาดว่าจะเติบโตขึ้นอีก 10% โดยมุ่งมั่นให้ “คูโบต้า” เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและอะกริโซลูชั่น ด้วยการพัฒนาภาคเกตษรและภาคอุตสาหกรรมด้วยความรับผิดชอบก่อนส่งมอบถึงมือลูกค้า จึงมั่นใจในศักยภาพของผลิตภัณฑ์ “คูโบต้า” ว่าเป็นผู้นำนวัตกรรมการเกษตรระดับภูมิภาคอาเซียน
นโยบายของ คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น มุ่งมั่นเป็นอย่างมาก ที่จะทำให้แบรนด์ "คูโบต้า" เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก หรือ “Global Major Brand (GMB)” ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าและอะกริโซลูชั่นให้กับลูกค้าที่มีทั่วโลก พร้อมเป็นองค์กรที่ตอบแทนสังคม
"ไม่เพียงแต่จะมุ่งพัฒนาภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยและอาเซียน แต่ยังคำนึงถึงความรับผิดชอบที่จะส่งมอบสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรของอาเซียนอย่างแท้จริง” นายทาคาโนบุ กล่าว
ล่าสุด บริษัทฯ ได้เพิ่มงบฯลงทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรม 300 ล้านบาท แบ่งเป็นพัฒนาคูโบต้าฟาร์ม (KUBOTA Farm) โรงงานนวนคร และอมตะซิตี้ โดยมุ่งเน้นปรับเทคโนโลยีให้สอดรับกับกลุ่มพืชไร่ 150 ล้านบาท และอีกส่วนจะใช้พัฒนาคูโบต้าฟาร์มที่ จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่ 220 ไร่ ทั้งหมด 9 โซน เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้เกษตรกรครบวงจรของไทยและอาเซียน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ปี 2563 นี้
โดยจากที่สยามคูโบต้ามุ่งวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยที่เริ่มขาดแคลนแรงงาน ส่งให้ปีที่ผ่านมามียอดขาย 54,000 ล้านบาท ขยายตัว 10% จากปีก่อน ซึ่งเป็นตลาดในประเทศ 60% มูลค่า 33,000 ล้านบาท และตลาดส่งออก 40% ไปยังตลาดหลักคือ อาเซียน อินเดีย และออสเตรเลีย มูลค่า 21,000 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มในปี 2563 นี้ บริษัทฯ มองว่าเกษตรกรทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่อง เกษตรอัจฉริยะและเกษตรอัตโนมัติ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จึงได้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยบริหารจัดการฟาร์ม เพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุน ทำให้คูโบต้าคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขาย “รถแทรกเตอร์” จาก 35,000 คัน เป็น 38,000 คันได้ ซึ่งจะทำให้ภาพรวม รายได้ขยายตัว 5-10% จากภาพตลาดรวมเครื่องจักรการเกษตรมูลค่ารวม 60,000-70,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทจะเน้นเพิ่มสัดส่วนการส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดในประเทศ ส่วนสถานการณ์ปัญหาการระบาดของโควิด19 ในตอนนี้ ในตลาดจีนและอื่นๆ ยังไม่ส่งผลกระทบ ต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากเกษตรกรยังใช้เครื่องจักรกลอยู่ต่อเนื่อง
“แม้ว่าปีที่ผ่านมาสงครามทางการค้าส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ราคาสินค้าเกษตรและราคาผลผลิตลดลง ส่งผลให้ภาพรวมของภาคการเกษตรของไทยมีการผันผวน แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (GDP ภาคเกษตร) ยังเติบโตขึ้น 0.5% โดยมีพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ที่สำคัญคูโบต้าได้ร่วมกับภาครัฐแก้ไขปัญหาโดยการออกนโยบายด้านสินเชื่อ มาตรการประกันรายได้และให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในการซื้อเครื่องจักรเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนทำให้เป็นอีกปัจจัยบวกช่วยปั๊มรายได้ของเรา” นายทาคาโนบุ กล่าว
ด้าน นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง แต่จีดีพีภาคเกษตรเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 0.5% จากพืชเศรษฐกิจหลัก อาทิ ข้าวและข้าวโพด และภาครัฐได้มีการออกนโยบายด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อประกันรายได้ สำหรับการซื้อเครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวเพื่อแก้ใขปัญหาแรงงานขาดแคลน ทำให้แนวโน้มตลาด “เกษตรอัจฉริยะ” เติบโตขึ้น
ด้วยเหตุนี้ ทางบริษัทฯ จึงได้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนภาคเกษตร อาทิ เทคโนโลยี IoT เซ็นเซอร์, นวัตกรรมการถ่ายภาพสำหรับเกษตรกรแบบ Real Time เพื่อให้ติดตามผลของพืชที่ปลูก หากเกิดปัญหาจะได้แก้ใขสถานการณ์ได้ และระบบบริหารจัดการเครื่องจักร เช่น ระบบ Kubota Intelligence Solutions (KIS) ที่นำจีพีเอสมาช่วยบริหารจัดการเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ รวมถึงนำโดรนมาใช้ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ทางการเกษตรแทนแรงงานคน และยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมเกษตรกรระดับนานาชาติ (Global Ag Tech Acceleration Program) อีกด้วย
“เราได้เดินหน้าจัดทำโครงการเกษตรปลอดการเผา ที่ร่วมมือกับภาครัฐลดปัญหาที่เกิดจากการเผาของภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการเกษตรปลอดนาหว่าน เพื่อส่งเสริมกลุ่มเกษตรนาแปลงใหญ่ทำเกษตรทำนาด้วยวิธีประณีตด้วยการหยอดเมล็ดข้าว ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ด้วยการเปิดโครงการ “KUBOTA Farm” เต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเกษตรกรรมครบวงจร เพื่อเป็นฟาร์มสร้างเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการแข่งขันและเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตอย่างยั่งยืน”
นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไปสายงานขายการตลาดและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า กลยุทธ์การตลาดของบริษัทฯ ในปี 2563 นี้ คูโบต้าจะมุ่งเน้นให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการบริการด้วยการมองผ่านมุมมองของลูกค้า และใช้ Big Data สร้างเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายและศูนย์บริการกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเข้าถึงลูกค้าให้รู้สึกว่าคูโบต้าเสมือนเพื่อที่คอยเคียงข้าง (On Your Side) สร้างความแข็งแกร่งและเคียงคู่เกษตรกรไทย
บริษัทได้นำแนวคิด Ommi Channel มาใช้ในระบบการจัดจำหน่ายเพื่อเชื่อมโยงลูกค้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการเชื่อมโยงสื่อออนไลน์เข้ากับออฟไลน์ เน้น Digital Marketing และช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ตลอดจนพันาแอปพลิเคชั่นเวอร์ชั่นใหม่ อาทิ คูโบต้า สมาร์ท แอบพลิเคชั่น ให้สามารถเข้าดูข้อมูลสินค้าและกิจกรรมโปรโมชั่นต่างๆ และมี KAS Crop Calender ปฎิทินเพาะปลูกที่ครอบคลุม ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด ที่สามารถสั่งซื้ออะไหล่ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซด์ของบริษัทฯ ได้เลย
รถดำนาคูโบต้า ติดตั้งระบบ GPS
นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้นำข้อมูลต่างๆ มาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริหาร ให้แม่นยำและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมเกษตรใหม่ๆ ที่ครอบคลุมการทำเกษตรในกลุ่มพืชที่หลากหลายมากขึ้น ให้เกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้มากกว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยว รวมถึงมีการออกแคมเปญการตลาด “Best Companinon” เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของเกษตรกรอีกด้วย