November 05, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

Kubota มุ่งตลาดเกษตรอัจฉริยะ หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ปั้นแบรนด์ระดับโลก

คูโบต้า เฮรายได้โตต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมเกษตรกรด้วย “คูโบต้าฟาร์ม” ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ครบวงจรสร้างประสบการณ์จริงในการเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้แนวคิด End to End Solutions ที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบจัดการฟาร์มด้วย IoT มาใช้ในระบบบริหาร ครบรอบ 130 ปี มุ่งปั้นภาพเกษตรนวัตกรม เน้นการสร้าง GMB สู่การเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก

นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาบริษัทฯมีรายได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 55,000 ล้านบาท จากการจำหน่ายรถแทรกเตอร์ได้ 30,000 คัน อานิสงค์จากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดีส่งผลให้ทางเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วม ประกอบกับสงครามทางการค้าส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรและราคาผลผลิตปรับตัวลดลง ส่งผลให้ภาพรวมของภาคการเกษตรของไทยมีการผันผวนเล็กน้อย อย่างไรก็ตามพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตามภาครัฐได้แก้ไขปัญหาโดยการออกนโยบายด้านสินเชื่อ มาตรการประกันรายได้และให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในการซื้อเครื่องจักรเพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน ซึ่งสยามคูโบต้าก็ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จากปัญหาที่ผ่านมา บริษัทฯ คาดการณ์ว่า แนวโน้มตลาดเกษตรอัจฉริยะจะเติบโต สยามคูโบต้าจึงได้เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IoT เซ็นเซอร์ นวัตกรรมการถ่ายภาพที่ส่งให้เกษตรกรได้แบบเรียล ไทม์ (Real Time) ทำให้ติดตามความเปลี่ยนแปลงของพืชที่ปลูก ทำให้รับทราบปัญหาเพื่อแก้ไขได้ทันการณ์ นอกจากนี้ยังมีระบบบริหารจัดการเครื่องจักร อาทิ ระบบ KIS (Kubota Intelligence Solutions) ที่นำ GPS Telematics มาช่วยบริหารจัดการเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำเกษตรได้อย่างแม่นยำ (Precision Agriculture) และยังมีการนำโดรนมาใช้ฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์ทางการเกษตรแทนแรงงานคน รวมทั้งการจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในฟาร์มด้วย นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรจัดโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมการเกษตรระดับนานาชาติ (Global AgTech Acceleration Program) เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ

สำหรับปี 2563 ที่ผ่านมา เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ โดยบริษัทได้รับมือช่วยเหลือ ด้วยการร่วมมือกับภาครัฐบาลสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย เช่น ข้าวโพดหลังนา เพื่อทดแทนการนำเข้า การปลูกถั่วเหลือง การปลูกถั่วเขียว ที่สามารถเป็นพืชบำรุงดิน เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมเกษตรกร

โดยบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตการเกษตร จึงได้เนรมิตพื้นที่ 220 ไร่ ต.หนองอิรุณ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ให้กลายเป็น คูโบต้าฟาร์ม ศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมัยใหม่ครบวงจร เพื่อนำองค์ความรู้การทำเกษตรครบวงจรที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบริษัทมาประยุกต์ใช้กับไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ บริษัทพันธมิตร รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ นำงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ ทั้งพืชไร่ พืชสวน ประมง ปศุสัตว์ ซึ่งถือเป็นฟาร์มครบวงจรแห่งแรกในอาเซียน

โดยคูโบต้าฟาร์มแห่งนี้ เป็นการต่อยอดจากองค์ความรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะเรียกว่า KUBOTA (Agri) Solution (KAS) เป็นการเกษตรครบวงจรที่ใช้เทคนิคการเพาะปลูก ผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรเข้าด้วยกัน สร้างประสบการณ์จริงในการเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้แนวคิด End to End Solutions ที่มีการออกแบบและติดตั้งระบบจัดการฟาร์มด้วย IoT (Internet of Things) มาใช้ในระบบบริหาร จัดการเครื่องจักรกลการเกษตรทุกขั้นตอน เพื่อให้เกษตรกรไทยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ผลผลิตได้ตามเป้าหมายด้วยเกษตรแม่นยำ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผนและออกแบบการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็บริหารจัดการเครื่องจักร และเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดต้นทุน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ คูโบต้าฟาร์ม ยังเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้การเกษตรครบวงจร ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรและผู้สนใจ ได้ฝึกปฏิบัติจริง และสร้างประสบการณ์ด้านเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่

ไม่เพียงแต่เกษตรกรไทยเท่านั้น แต่ยังตั้งเป้าให้เป็นโมเดลนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ของอาเซียน เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถการผลิตของภูมิภาคอาเซียน ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารอันดับต้นๆของโลก เพื่อรองรับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลให้โลกขาดแคลนอาหารในอนาคตอีกด้วย

นอกจากอาคารนิทรรศการแล้ว ยังประกอบไปด้วย โซนให้คำปรึกษาเกษตรครบวงจร แนะนำการทำเกษตรแบบครบวงจร และให้คำปรึกษากับเกษตรกรแบบตัวต่อตัว โดยโซนเกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา การนำนวัตกรรมต่างๆมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ทำเกษตรแม่นยำมากยิ่งขึ้น แยกเป็นส่วนปลอดนาหว่าน ส่งเสริมทำนาแบบปักดำ หยอดน้ำตมและ หยอดข้าวแห้ง การใช้ระบบ GNSS เพื่อควบคุมทิศทางอัตโนมัติ ให้รถ โดรนฉีดพ่นทางการเกษตร แอปพลิเคชันปฏิทินเพาะปลูกข้าว และการบริหารเครื่องจักรกลการเกษตรด้วยระบบ GPS และสร้างเป้าให้เกษตรกรทำนาเบื้องต้นได้ไร่ละ 1 ตัน โดยเฉพาะการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยเลิก ทำนาหว่าน เพิ่มรายได้จากการอัดฟางข้าว 1 ไร่ จะได้ฟางข้าวอัด 25-30 ก้อน ราคาขายก้อนละ 40 บาท รวมถึงลดมลภาวะจากการเผาตอซัง และลดค่าปุ๋ย ด้วยการไถกลบแล้วฉีดพ่นน้ำหมัก โดยตอข้าว 1 ตัน ให้ปุ๋ยไนโตรเจน 8 กก. ฟอสฟอรัส 0.8 กก. และโปแตสเซียม 18 กก.

และยังมีโซนเกษตรทฤษฎีใหม่ พื้นที่จำลองการเพาะปลูกพืชผัก ไม้ผล ไร่นา ไม้ยืนต้น 10-15 ไร่ ตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้เกิดรายได้ตลอดปี โซนปาล์มน้ำมัน ยางพารา และไม้ผล เสนอ รูปแบบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร รวมถึงปลูกพืชผักในแปลงเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างรอผลผลิตจากพืชหลัก โซนระบบโครงสร้างพื้นฐาน แสดงการขุดเจาะรูปแบบต่างๆ เช่น บ่อน้ำ รวมถึงการรับเหมาก่อสร้าง ขุดพื้นที่การเกษตร ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ คูโบต้าได้ร่วมกับกระทรวงแรงงาน บรรเทาปัญหาผู้ตกงานจากภาวะโควิด-19 โดยเปิดอบรมหลักสูตรการขับเครื่องจักรกลการเกษตร ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถนำประกาศนียบัตรคล้ายกับใบขับขี่ไปการันตีการทำงานได้

ส่วนโซนเกษตรสมัยใหม่พืชไร่ การปลูกพืชไร่ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรทุกขั้นตอน เพื่อลดต้นทุน เทคนิคลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต เช่น การระเบิดดินดานก่อนปลูก เพื่อให้ดินเก็บกักความชื้นได้ดีขึ้นในฤดูฝน เพื่อให้เกษตรกรปลูกอ้อยผ่าน แล้งได้ รวมถึงนวัตกรรมต่างๆเพื่อลดการเผา เช่น การอัดใบอ้อย 1 ตัน ขายได้ 1,000 บาท โซนวิจัยเกษตรครบวงจร โซนอบรมเกษตรครบวงจร และโซนสร้างประสบการณ์เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้า

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่ายุทธศาสตร์สำคัญของไทยคือ BCG Economy หรือ เศรษกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษกิจสีเขียว ที่เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตรจะมุ่งเน้นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาประยุกต์ใช้ ในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกขั้นตอน อีกทั้งสยามคูโบต้าได้ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนมหาวิทยาลัยต่างๆ ดำเนินการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตร และขยายผลให้เป็นรูปธรรมภายในคูโบต้าฟาร์ม

 

“คูโบต้าฟาร์ม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานและขยายผลในเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยนำเอาหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ทุกกระบวนการผลิต เช่น การจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้ริเริ่มโครงการเกษตรปลอดการเผา รณรงค์ให้เลิกเผาตอซัง นำฟางหรือใบอ้อยไปเป็นอาหารสัตว์ หรือหมักเป็นปุ๋ย การพัฒนาแหล่งน้ำด้วยแนวคิดทฤษฎีใหม่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านการเกษตรให้เป็นที่ยอมรับ นำไปใช้จริง และเกิดการขยายผลในวงกว้างจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงการสร้างสมดุลของทรัพยากรที่มีอยู่ เป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน นำมาสู่ความเชื่อมั่นถึงศักยภาพในอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยให้เป็นที่ยอมรับระดับโลก” นายสมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

130 ปีคูโบต้า มุ่งหน้าสู่ผู้นำด้านเกษตรครบวงจร สู่แบรนด์ชั้นนำระดับโลก

ด้าน มร.ยูอิจิ คิตาโอะ ประธานและกรรมการบริหาร บริษัท คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้กล่าวปาฐกถาในงาน 130th Anniversary Event of KUBOTA. &KUBOTA Exhibition ว่า จุดเริ่มต้นของบริษัทคูโบต้า ในปี 1890 ที่ กอนชิโร คูโบตะ ขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้เริ่มก่อตั้งโรงงานเหล็กหล่อ และในช่วงเมจิที่ 23 เกิดการระบาดของอหิวาตกโรค จึงต้องการระบบน้ำประปาที่ดี แต่มีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลักจึงสนใจที่จะผลิตขึ้นใช้เอง โดยมีปรัชญาในการประกอบธุรกิจ คือ “เราต้องทำให้ได้” และ “อย่ากลัวความล้มเหลว” จนประสบความสำเร็จเป็นโรงงานท่อน้ำแห่งแรกที่ญี่ปุ่นในปี1922 ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 

รถไถนาแบบเดินตาม เครื่องจักรกลเกษตรคันแรกของคูโบต้า

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเกษตรกรก็ประสบปัญหาภัยแล้ง บริษัทฯจึงได้ริเริ่มพัฒนาเครื่องยนต์ต้นกำเนิดกำลังเครื่องแรก เพื่อช่วยสูบน้ำในการทำนา ต่อมาในปี 1947 จึงได้พัฒนาสินค้ารถไถนาเดินตาม เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอาหารขาดแคลนในประเทศญี่ปุ่นช่วงนั้น เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่นให้ดีขึ้น ปัจจุบันคูโบต้ากว่า 120 ประเทศทั่วโลก จึงได้ยึดถือ Brand Statement ที่ว่า For Earth For Life ที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ในวาระครบรอบ 130 ปี ได้ขยายความรับผิดชอบทางสังคม หรือ CSR ให้สอดคล้องกับแนวคิด Sustainable Development Goals หรือ SDG’s ของสหประชาชาติ มุ่งสร้างการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน เพื่อตอบแทนสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ อาหาร น้ำ และสิ่งแวดล้อม

นายยูอิจิ คิตาโอะ ประธานและกรรมการบริหารบริษัท คูโบต้า คอร์ปอเรชั่น กับ แทรกเตอร์แห่งอนาคตของคูโบต้าที่เปิดตัวครั้งแรกในโอกาส ฉลอง 130 ปี

สำหรับการดำเนินธุรกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า (2030) ต่อจากนี้ คูโบต้าจะมุ่งเน้นการสร้าง GMB (Global Major Brand) หรือการเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลก เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำตลาด ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยได้วางแผนระยะสั้น 5 ปีให้สอดคล้องกับแนวทางที่ต้องการมุ่งไปถึงในปี 2030 ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมมายาวนานกว่า 130 ปี ในการพัฒนาเป็นโซลูชั่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าคูโบต้าทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันทั่วโลกต่างก็เผชิญสิ่งที่เรียกว่า Game Change ในหลายๆ ธุรกิจของคูโบต้าก็ได้รับผลกระทบ จึงต้องทบทวนศักยภาพด้านการแข่งขัน โดยเฉพาะเรื่องของ Digital Transformation เข้ามาใช้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนจากการเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ไปเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้กับลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจอย่างสูงสุด

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 08 April 2021 08:54
ภูวิศ ภูสิทธิ์อุดมรัตน์

Author : เด็กช่าง เจ๋งที่สุด เกาะติดข่าวโรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร โมดูล อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์ ราวๆ นี้

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM