Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

KTIS งัด 7.5 พันล. ลงทุน “นครสวรรค์ไบไอคอมเพล็กซ์”

กลุ่มบริษัท เกษตรไทย ผนึกกำลังกับ “โกลบอลกรีนเคมิคอล” ลงทุนโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ โดยตอกเสาเข็มในเฟสแรกไปแล้ว ด้วยงบกว่า 7,500 ล้าน สำหรับก่อสร้างโรงหีบอ้อย โรงงานผลิตเอทานอล และโรงผลิตไฟฟ้าและพลังงานไอน้ำ ถือเป็นโครงการฮับด้านการผลิตน้ำตาลครบวงจรแห่งแรกของอาเซียน

ทพ.ประเสริฐ ศิริวิริยะกุล (ขวา) และ นายวิทูร ซื่อวัฒนากุล (ซ้าย)

ทพ.ประเสริฐ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ร่วมกับ นายวิทูร ซื่อวัฒนากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ได้จัดทำพิธีลงเสาเข็มเอกมงคลฤกษ์โครงการ “นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์” บนเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ ที่ตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

โดยโครงการ “นครสวรรค์ ไบโอคอมเพล็กซ์” หรือ NBC ถือเป็นไบโอฮับผลิตน้ำตาลครบวงจรแห่งแรกของอาเซียน และ Bio Complex แบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้วัตถุดิบจากอ้อย ดำเนินการภายใต้บริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในนาม “บริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเทรียล จำกัด” หรือ “GKBI

ซึ่งเป็นโครงการนำร่องตามนโยบายโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ของประเทศโดยจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ศักยภาพและต่อยอดอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างเต็มรูปแบบอันเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจในประเทศโดยรวม

ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรไทย โดยโครงการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เป็นโครงการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพครบวงจรประกอบด้วยโรงงานผลิตเอทานอลไฟฟ้าชีวมวล ระบบสาธารณูปโภคและระบบส่งเสริมกระบวนการผลิตกลางของโครงสร้างพื้นฐาน ที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1/2564 และระยะที่สองการลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 1/2566 ต่อไป

 

ณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล

นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์กำลังการหีบอ้อย 24,000 ตันต่อวัน และเอทานอล 6 แสนลิตรต่อวัน

ด้าน นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทฯ ได้อนุมัติให้บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด (KTBE) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ KTIS ถือหุ้น 100% เข้าร่วมถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท จีจีซี เคทิส ไบโออินดัสเตรียล จำกัด (GKBI) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของกลุ่ม KTIS กับกลุ่มบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 สำหรับดำเนินโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC Project) ที่จังหวัดนครสวรรค์

ทั้งนี้ การลงทุนโครงการในเฟสแรก จะใช้เงินลงทุนรวมไม่เกิน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงาน 3 โรง ได้แก่ โรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน โรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 475 ตันต่อชั่วโมง โดยแหล่งเงินทุนของโครงการนี้จะมาจากเงินทุนของผู้ถือหุ้นฝ่ายละไม่เกิน 1,300 ล้านบาท รวมเป็น 2,600 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ

โครงการนี้จะสามารถเปิดหีบอ้อยด้วยกำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน เพื่อนำน้ำอ้อยที่ได้มาผลิตเป็นเอทานอลโดยตรงในช่วงฤดูหีบอ้อย และน้ำอ้อยส่วนที่เหลือจะทำให้เข้มข้นและนำมาผลิตเป็นเอทานอลในช่วงปิดหีบอ้อย จึงสามารถผลิตเอทานอลได้ตลอดทั้งปี และเอทานอลที่ผลิตได้นี้จะนำมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพที่มีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนชานอ้อยที่ได้จากการหีบอ้อยจะนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำสำหรับใช้ในโครงการ หรือหากมีส่วนเกินก็จะขายในบริเวณใกล้เคียงต่อไป

ทั้งนี้ โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ถือเป็นการผนึกจุดแข็งของผู้ถือหุ้น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม KTIS ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างอ้อย และกลุ่ม GGC ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงมั่นใจได้ว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชีวภาพใหม่ๆ ในอนาคต สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐที่ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น

 

จากนโยบายของคณะผู้บริหารกลุ่ม KTIS ที่นำผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลทรายไปต่อยอดในสายธุรกิจชีวภาพ ตามแนวคิด KTIS More Than Sugar ส่งผลให้ธุรกิจของบริษัทสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยในงวด 9 เดือนแรกของปี 2562 (ตุลาคม 2561-มิถุนายน 2562) บริษัทฯ มีรายได้รวม 10,768 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 19 ล้านบาท

“สายธุรกิจผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลเติบโตโดดเด่นที่สุด โดยมีรายได้ 1,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.1% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่เราคาดไว้ว่าจะเติบโตได้ 20% ในสายธุรกิจนี้ เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น ทำให้สามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้จำนวนหน่วยสูงขึ้น โดยที่ราคาขายไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยก็เพิ่มขึ้นด้วย” นายประพันธ์กล่าว

ส่วนสายธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาขายเอทานอลโดยเฉลี่ยลดลงประมาณ 8% แต่ด้วยประสิทธิภาพในการผลิตและการจัดจำหน่าย ทำให้รายได้งวด 9 เดือนของเอทานอลยังคงเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 4.8% โดยจำหน่ายไปแล้ว 54.9 ล้านลิตร ด้วยกำลังการผลิต 230,000 ลิตรต่อวัน นับว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก สำหรับในสายธุรกิจผลิตและจำหน่ายเยื่อกระดาษชานอ้อยนั้น เนื่องจากมีวัตถุดิบส่งเข้าโรงงานลดลง ทำให้ปริมาณการจำหน่ายและรายได้ในสายธุรกิจนี้ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่ก็ยังมีสัญญาณที่ดีเนื่องจากราคาขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

ดร.สายศิริ ศิริวิริยะกุล(ซ้าย) คุณศิริสมคิด ทองประศรี (ขวา)

ทั้งนี้ KTIS เมื่อเดือนที่แล้ว ยังได้รับ "รางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน 10 ปีติดต่อกัน" โดยมี ดร.สายศิริ ศิริวิริยะกุล ผู้อำนวยการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS พร้อมด้วยคุณศิริสมคิด ทองประศรี ผู้จัดการฝ่ายสำนักงานบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สาขา 3 ซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลในกลุ่ม KTIS

เป็นผู้แทนฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้ารับรางวัลเกียรติยศสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน 10 ปีติดต่อกัน (พ.ศ.2553 - 2562) จากคุณสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน ในพิธีมอบรางวัล Thailand Labour Management Excellence Award 2019 ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยรางวัลดังกล่าวนั้นเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่สถานประกอบกิจการที่มีระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานที่เป็นมาตรฐานสากลตามเกณฑ์ที่กำหนดของกระทรวงแรงงาน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Saturday, 05 October 2019 18:21
ภูวิศ ภูสิทธิ์อุดมรัตน์

Author : เด็กช่าง เจ๋งที่สุด เกาะติดข่าวโรงงาน อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร โมดูล อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์ ราวๆ นี้

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM