Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

JUDTEM ENGINEERING : ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

โดย : บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด (JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.)

ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดขี้นจากอัคคีภัย (ไฟไหม้) เห็นได้ว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเพิ่มขึ้นทุกๆปี ซึ่งสังเกตุได้จากข่าวอยู่เป็นประจำ ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ทั้งในส่วนภาคเอกชนและรวมไปถึงสถานที่ราชการและสถานที่อื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่าง มหาศาล อุบัติเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายๆประการ แต่ทั้งนื้และทั้งนั้นไม่ว่าสาเหตุเกิด จากอะไรก็ตาม เราจะต้องรู้จักวิธีการป้องกันและรู้จักการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ในการป้องกันให้ ถูกต้องและเข้าใจวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้เป็นอย่างมาก จึงมุ่งมั่นให้ความรู้ เกี่ยวกับระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย, ระบบดับเพลิง โดยจะจัดทำข้อมูลต่างๆ ลงใน Web Site เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ ผู้ประกอบการได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่าข้อมูลในแต่ละบทความอาจมีประโยชน์ และอาจนำไปใช้ในการบริหารจัดการป้องกันหรือยับยั้งการเกิดเหตุที่อัคคีภัยเราคาดไม่ถึง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันเพื่อมิให้เกิดความสูญเสียด้านชีวิต และทรัพย์สิน โดยบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึง ระบบป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น

ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ, อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง ต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาดแม้แต่ในอาคารพักอาศัยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยตามสมควรไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยแก่ ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ให้บริการ การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active คือการป้องกันโดยใช้ระบบเตือนภัย,การควบคุมควันไฟ, ระบายควันไฟและระบบดับเพลิงที่ดี

1. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)

คือ ระบบที่มีไว้สำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ ที่ติดตั้งตามความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม และระบบจะทำการแจ้งเหตุผ่านในรูปของเสียงหรือแสง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบผ่านแผนภาพด้านล่าง ที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนีไฟ หรือดับไฟ

ขั้นตอนการทำงานของระบบ

  1. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) หรือ ความร้อนได้ (Heat Detector)
  2. ส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
  3. ตู้ควบคุมส่งสัญญาณแจ้งเหตุผ่านอุปกรณ์ กระดิ่ง ไฟสัญญาณ หรือ ไซเรน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่ได้รับรู้ว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นแล้ว

โดยหลักระบบ Fire Alarm System มีทั้งแบบอัตโนมัติ และแมนนวล แบบอัตโนมัติที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการเตือนภัย 2 แบบ คือ อุปกรณ์ ตรวจจับเพลิงไหม้ (Fire Detector) อันได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่งคือแบบแมนนวล เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ โดยอุปกรณ์ที่ให้ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือ ก็มีนิยมใช้กัน 2 แบบ คือแบบดึงและแบบผลัก

ในปัจจุบันระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ได้พัฒนาจนสามารถพ่วงต่อเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (Smart Fire-Alarm) โดยจะแจ้งสัญญานไปที่โทรศัพท์มือถือที่ตั้งใว้ หรือแจ้งไปสถานีดับเพลิงโดยตรงก็ได้ ดังภาพ

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีประโยชน์อย่างไร?

หากเรามีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ดี  เมื่อเกิดเหตุการเพลิงไหม้ ระบบจะทำการตรวจจับ และแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในพื้นที่นั้นได้ทำการอพยพ หลบหนี ไปยังสถานที่ปลอดภัย ได้ทันท่วงที หรือรีบทำการแก้ไขไม่ให้ไฟไหม้นั้นลุกลาม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างได้

ดังนั้นถ้าเรามีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้เราลดความเสียหายและความสูญเสียต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของท่านและองค์กรได้

2. ระบบดับเพลิง (Fire Suppression System)

ระบบดับเพลิงมีหลายประเภท มีตั้งแต่ดับเพลิงตามบ้านเรือน อาคารสูง ดับไฟป่า ดับเพลิงในเรือดำน้ำ ไปจนถึงระบบดับเพลิงในจรวดหรือยานอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงระบบดับเพลิงในอาคารโรงงานและอาคารสูงเท่านั้น โดยระบบส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

  • ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler Systems)  
    ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง จะสามารถทำงานได้ทันทีโดยอัตโนมัติ จากการแตกของหัวกระจายน้ำเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือความร้อนจากเพลิงไหม้ เป็นระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ดีมาก สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทันทีขณะที่เพลิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้หยุดการขยายตัวลุกลาม การเกิดควันไฟน้อยและเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่จำกัด ระบบนี้จะทำให้คนในอาคารมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการอพยพหนีไฟ ทั้งนี้ในการออกแบบและติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง สำหรับอาคาร โรงงานใดๆ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น มาตรฐาน NFPA 13 Standard for Installation of Sprinkler Systems ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ของทีมวิศวกร เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ
    อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอาจไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ เช่น ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากน้ำดับเพลิงอาจทำให้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าภายในพื้นที่ เหล่านั้นเสียหายได้

  • ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Systems)  
    ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง เป็นระบบที่มีไว้ทั้งสำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารเพื่อใช้ในการดับเพลิงขนาดเล็ก และสำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมในการใช้สายขนาดใหญ่ ใช้ดับเพลิง และจำกัดการขยายตัวของเพลิง  ในการออกแบบ ติดตั้ง จะต้องคำนึงถึงอัตราการส่งน้ำดับเพลิง ปริมาณน้ำสำหรับดับเพลิงต้องมี เพียงพอให้การส่งน้ำตามอัตราการไหลที่ต้องการ และอาจจะต้องมี การติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิง (Fire Department Connection) ชนิดข้อต่อสวมเร็ว เพื่อใช้สำหรับรับน้ำดับเพลิงจากภายนอก เช่น จากรถดับเพลิง ตำแหน่งในการติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิงต้องเป็นตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกในเวลาที่เกิดเพลิงไหม้

  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ (Gas Suppression Systems) (Novec TM 1230, FM200, CO2)
    ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ จะใช้น้ำยาดับเพลิงชนิดสะอาด หลังจากใช้งานแล้ว ไม่ทิ้งคราบสารให้ทำความสะอาด นิยมใช้กับพื้นที่ที่ไม่มีคนอยู่ และต้องการดับเพลิงเป็นพิเศษ ทรัพย์สินมูลค่าสูง ไม่ต้องการให้วัสดุ หรืออุปกรณ์ในห้องนั้นเกิดความเสียหายจากน้ำยาเคมีที่ใช้ดับเพลิง เช่น ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยโฟม (Foam Systems)
    ระบบโฟมดับเพลิงอัตโนมัติซึ่งเหมาะกับพื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ สารเคมี น้ำมัน ที่เป็นของเหลว สามารถลุกติดไฟได้โดยง่าย เมื่อได้รับความร้อนหรือประกายไฟ ที่ไม่สามารถใช้น้ำดับเพลิงได้โดยตรง เหมาะสำหรับโรงกลั่น คลังน้ำมัน โรงงานผลิตสารเคมี ฯลฯ

  • ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Systems) 
    รับออกแบบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง สำหรับระบบดับเพลิง การส่งน้ำให้กับระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ให้มีอัตราการไหลและความดันตามต้องการนั้น สามารถทำได้โดยใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสามารถขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล หรือขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
    โดยทั่วไปแล้วเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งตามมาตรฐาน ในประเทศไทยจะมี 2 ลักษณะ คือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Fire Pump) และ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเทอร์ไบน์แนวดิ่ง (Vertical Turbine Pump) ซึ่งจะติดตั้งต่างกันไปตามในลักษณะที่ระดับผิวน้ำจากแหล่งเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำดับเพลิงเมื่อเทียบกับตัวเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

3. เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ (Mobile Fire Extinguisher)

เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ อาจฟังกันไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า "ถังดับเพลิง" ก็คงจะร้องอ๋อกันทันที ทั้งนี้ ถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก สะดวกในการเคลื่อนย้าย ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงแบบต่าง ๆ ในกรณีที่กองเพลิงมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหยุดยั้งการลุกลามของไฟได้ ถังดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ดับเพลิงที่เกิดขึ้นในขั้นต้น ซึ่งเพลิงไหม้นั้นยังไม่มีความรุนแรงมากนัก ฉะนั้นการเลือกใช้ประเภทของสารดับเพลิงที่บรรจุอยู่ภายในถังดับเพลิงแบบมือถือให้ถูกต้องตรงกับประเภทของไฟที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดับเพลิงขั้นต้น

ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ถังดับเพลิงจึงถือเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงยามฉุกเฉินที่เราสามารถหยิบมาใช้ได้ใกล้ตัวที่สุด ก่อนที่รถดับเพลิงจะมาถึง โดยบนตัวถังดับเพลิงจะระบุประเภทของไฟที่เหมาะกับชนิดของถังดับเพลิงเอาไว้บนตัวถังดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเลือกใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเกิดประโยชน์และถูกประเภทของการใช้งาน ในการติดตั้งถังดับเพลิงจะต้องติดตั้งในที่ๆเหมาะสม มองเห็นง่าย สะดวกในการใช้งาน รวมไปถึงต้องแนะนำสมาชิกในบ้านหรือในอาคารให้ศึกษาและทำความเข้าใจวิธีใช้งานด้วย

ตารางแสดงความสามารถในการดับเพลิงของสารดับเพลิงแต่ละประเภท 

ประเภทของสารดับเพลิง

(Fire   Extinguishing Agents)

ประเภทของไฟ

(Fire   Classification)

(A)

(B)

(C)

(D)

 

  น้ำ

 

  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   (CO2)

 

  โฟม   (Foam) เช่น   AFFF, AR-AFFF   เป็นต้น

 

  ผงเคมีแห้งเอนกประสงค์   (Multipurpose-ABC)

 

  ผงเคมีแห้งกลุ่มโปแตสเซียม

 

  ผงเคมีแห้งกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต

 

  แก๊สดับเพลิง   เช่น Halotron-1 เป็นต้น

 

  สารดับเพลิงพิเศษ (Dry   Powder)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ที่มา: NFPA 10 Standard for Portable Fire Extinguishers (2002)

ประเภทของสารเคมีแห้งดับเพลิง

ประเภทของสารเคมีแห้งดับเพลิง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ

  • โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate Based) สารเคมีกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการดับเพลิงที่เกิดกับไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C) แต่โดยทั่วไป จะใช้ในการดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร
  • โปแตสเซียม (Potassium Based) สารเคมีดับเพลิงประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิงสำหรับไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C)ได้ดีกว่ากลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (Mono Ammonium Phosphate) หรือเรียกว่าสารเคมีแห้งดับเพลิงเอนกประสงค์ (ABC Multi-Purpose Dry Chemical) เหมาะสำหรับไฟประเภททก (Class A) ไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C) แต่ไม่เหมาะกับการดับเพลิงน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากอาจเกิดการลุกไหม้ซ้ำได้ รวมทั้งไม่ใช้ในการดับเพลิงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูงเนื่องจากจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นเสียหายได้

ทั้งนี้ในการใช้งาน หลังติดต้องใว้แล้วต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ดับเพลิงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน อย่าให้กลายเป็นเพียงถังเหล็กไร้ค่า เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ถังดับเพลิงจะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่นำทางรอดมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ในที่นั้นๆ 

4. ลิฟต์พนักงานดับเพลิงสำหรับอาคารสูง (Fireman Lift)

คงเคยได้ยินกันว่า ห้ามใช้ลิฟต์ในขณะไฟใหม้ กันมาบ้าง คือลิฟต์ในอาคาร มีกฏหมายกำหนดให้สำหรับพนักงานดับเพลิงควบคุมพิเศษได้ใช้งานในขณะเกิดเหตุอาคารสูง กฎหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงทำงานในกรณีไฟไหม้ โดยแยกจากลิฟต์ใช้งานปกติทั่วไป แต่ถ้าอาคารไหนลิฟต์ดับเพลิงไม่ได้ถูกแยก (ใช้เป็นลิฟต์โดยสารปกติ) ก็ต้องห้ามใช้เมื่อเกิดเหตุ เพื่อละใว้ให้พนักงานดับเพลิงได้ใช้ ซึ่งจะทำให้การผจญเพลิง และการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ทั้งนี้ โดยตามกฎกระทรวงฉบับ 33 หมวด 6 ระบบลิฟต์ กำหนดใว้ดังนี้
ข้อ 43 ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ดับเพลิงแต่ละชุดที่ใช้กับอาคารสูงให้มีขนาดมวลบรรทุกไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
ข้อ 44 อาคารสูงต้องมีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อยหนึ่งชุด ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  • ลิฟต์ดับเพลิงต้องจอดได้ทุกชั้นของอาคาร และต้องมีระบบควบคุมพิเศษสำหรับพนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
  • บริเวณห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องติดตั้งตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงหรือหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ
  • ห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนังหรือประตูที่ทำด้วยวัตถุทนไฟปิดกั้นมิให้เปลวไฟหรือควันเข้าได้ มีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้โดยตรง หรือมีระบบอัดลมภายในห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 3.86 ปาสกาลเมตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
  • ระยะเวลาในการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของลิฟต์ดับเพลิงระหว่างชั้นล่างสุดกับชั้นบนสุดของอาคารต้องไม่เกินหนึ่งนาที

ทั้งนี้ ในเวลาปกติ ลิฟต์ดับเพลิงสามารถใช้เป็นลิฟต์โดยสารได้ อาคารปกติก็จะใช้เป็นลิฟต์โดยสารทั่วไป ดังนั้นเวลาเกิดเหตุจึงห้ามใช้ลิฟต์ในขณะไฟใหม้

ข้อ 45 ในปล่องลิฟต์ห้ามติดตั้งท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เว้นแต่เป็นส่วนประกอบของลิฟต์หรือจำเป็นสำหรับการทำงานและการดูแลรักษาลิฟต์
ข้อ 46 ลิฟต์ต้องมีระบบและอุปกรณ์การทำงานที่ให้ความปลอดภัยด้านสวัสดิภาพและสุขภาพของผู้โดยสารดังต่อไปนี้

  • ต้องมีระบบการทำงานที่จะให้ลิฟต์เลื่อนมาหยุดตรงที่จอดชั้นระดับดินและประตูลิฟต์ต้องเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ
  • ต้องมีสัญญาณเตือนและลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อบรรทุกเกินพิกัด
  • ต้องมีอุปกรณ์ที่จะหยุดลิฟต์ได้ในระยะที่กำหนดโดยอัตโนมัติเมื่อตัวลิฟต์มีความเร็วเกินพิกัด
  • ต้องมีระบบป้องกันประตูลิฟต์หนีบผู้โดยสาร
  • ลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อประตูลิฟต์ปิดไม่สนิท
  • ประตูลิฟต์ต้องไม่เปิดขณะลิฟต์เคลื่อนที่หรือหยุดไม่ตรงที่จอด
  • ต้องมีระบบการติดต่อกับภายนอกห้องลิฟต์ และสัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง
  • ต้องมีระบบแสงสว่างฉุกเฉินในห้องลิฟต์และหน้าชั้นที่จอด
  • ต้องมีระบบการระบายอากาศในห้องลิฟต์ตามที่กำหนดในข้อ9 (2)

ข้อ 47 ให้มีคำแนะนำอธิบายการใช้ การขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือ และข้อห้ามใช้ดังต่อไปนี้

  • การใช้ลิฟต์และการขอความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องลิฟต์
  • การให้ความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องจักรกลและห้องผู้ดูแลลิฟต์
  • ข้อห้ามใช้ลิฟต์ ให้ติดไว้ที่ข้างประตูลิฟต์ด้านนอกทุกชั้น

ข้อ 48 การควบคุมการติดตั้งและตรวจสอบระบบลิฟต์ต้องดำเนินการโดยวิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรเครื่องกล ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม

 

5. ระบบควบคุมควันไฟ (Smoke Control)

ระบบควบคุมควันไฟ การสำลักควันไฟเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุไฟไหม้ อาคารจึง ต้องมีระบบที่จะทำให้มีการชะลอ การแพร่ ของควันไฟ โดยมากจะใช้การอัดอากาศลงไปในจุดที่ เป็นทางหนีไฟ, โถงบันได และโถงลิฟต์ โดยไม่ให้ควันไฟลามเข้าไป ในส่วนดังกล่าว เพิ่มระยะเวลา การหนีออกจากอาคาร และมีการดูดควันออกจากตัวอาคารด้วย

การควบคุมควันไฟเป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันอันตรายจากการเสียชีวิตในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัย เนื่องจากควันเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตมากกว่าความร้อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทความที่แล้วเรื่อง “ควันไฟ” เพราะควันสามารถแพร่กระจายตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถไหลผ่านช่องเปิดต่างๆได้ รวมทั้งยังลดความสามารถในการมองเห็นจึงทำให้ไม่สามารถหาทางออกจากอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย ดังนั้นจุดมุ่งหมายของระบบควบคุมควันไฟ คือป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้าสู่บริเวณบันได โถงลิฟต์และชะลอการแพร่กระจายของควันไฟรวมทั้งการระบายควัน ก๊าชพิษและความร้อนออกจากบริเวณที่เกิดอัคคีภัย ในขั้นต้นคาดว่าการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยสาเหตุเกิดจากควันไฟ เนื่องจากองค์ประกอบของควันจะมีก๊าซพิษอยู่หลายชนิดด้วยกัน อย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนต์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซแอมโมเนีย เขม่าควัน และควันไฟ เป็นต้น จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าก๊าซที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเสียชีวิตของการเกิดอัคคีภัยในอาคารสำนักงานทั่วไป คือ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเขม่าและควันไฟ

  • ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ในบริเวณจำกัดก๊าซนี้มีอันตรายต่อคน คือ ถ้าผสมอยู่ในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้ามีอยู่ 0.16 เปอร์เซนต์ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26 เปอร์เซนต์จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที นอกจากความเป็นพิษแล้วก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 12 ยังเป็นก๊าซเชื้อเพลิงอีกด้วย เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศปริมาณมากสามารถลุกไหม้และเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ไม่เป็นเชื้อเพลิงและไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนถ้าก๊าซนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0 เปอร์เซนต์โดยปริมาตรจะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้
  • เขม่าและควันไฟ (Soot and Smoke) เขม่า คือ ก้อนหรือเศษของวัสดุที่ยังเผาไหม้ไม่หมดจะมีลักษณะเป็นผงหรือละออง ส่วนควันไฟ เป็นสารผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้าและวัสดุต่าง ๆที่เกิดมาจากกองเพลิง รวมทั้งพวกก๊าซและไอต่าง ๆ ด้วยผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัวรวมทั้งปิดบังทางออกต่าง ๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้

การควบคุมควัน (Smoke Control) มีหลักการพื้นฐาน อยู่ 2 แบบคือ 

A. การควบคุมควันด้วยการไหลของอากาศ ใช้ในกรณีที่ความเร็วของอากาศโดยเฉลี่ยมีขนาดมากเพียงพอ แสดงตามภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การควบคุมควันด้วยการไหลของอากาศเอง

ที่มา: Klote (1995)

 

ฺB. การควบคุมควันด้วยระบบความดันอากาศ คือการสร้างความแตกต่างของความกดดันอากาศตลอดแนวเครื่องปิดกั้น (Across Barriers) ความดันอากาศจะก่อให้เกิด การไหลของอากาศในช่องว่างเล็กๆ ณ บริเวณรอบๆประตูที่ถูกปิด และช่องแคบอันเป็นผลจากการก่อสร้างช่องว่างเล็กๆเหล่านี้จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของควัน (Smoke Backflows) ผ่านช่องเหล่านี้ได้แสดงในภาพที่ 2

 

ภาพที่ 2 การควบคุมควันด้วยระบบความดันอากาศ

ที่มา: Klote (1995) 

หากเปิดประตูที่เครื่องปิดกั้นออก อากาศก็จะไหลผ่านประตูที่เปิด และถ้าความเร็วของอากาศน้อยเกินไปควันก็จะเคลื่อนที่ย้อนทวนทิศทางการไหลของอากาศเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยหรือเส้นทางหนีภัยเช่นบันไดหนีไฟได้แสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ความเร็วของอากาศน้อยเกินไปควันก็จะเคลื่อนที่ย้อนทวนทิศทางการไหลของอากาศ

ที่มา: Klote (1995) 

การไหลย้อนกลับของควันสามารถป้องกันได้ ถ้าความเร็วของลมสูงมากเพียงพอและขนาดความเร็วของลมที่สามารถป้องกันการไหลย้อนกลับของควันได้ จะขึ้นอยู่กับอัตราการปล่อยพลังงานของการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้น

การไหลผ่านช่องเปิด (Vent Flows)

เมื่อเพลิงปล่อยความร้อนออกมาก๊าซร้อนจะมีการขยายตัว การขยายตัวของก๊าซร้อนจะผลักดันให้ก๊าซบางส่วนเคลื่อนที่ออกจากห้องได้ ในห้องที่เกิดอัคคีภัยช่องเปิด อาจเป็นประตูหน้าต่าง และ ท่อระบายอากาศที่ช่วยให้ก๊าซร้อนไหลผ่านแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆโดยทั่วไปห้องในอาคารส่วนมากประตูหน้าต่างจะปิดหมด ก๊าซก็จะไหลซึมออกจากช่องว่างแคบๆ รอบประตู หน้าต่างที่ปิด หรือจากช่องโหว่ที่วางท่อและเดินสายไฟภายในอาคารได้ด้วยเช่นกัน หากห้องถูกปิดกั้นอย่างสนิทไม่มีช่องเปิดใดๆ การเกิดเพลิงไหม้ขนาดเล็กก็สามารถเพิ่มความกดดันในห้องให้สูงมากขึ้นจนทำให้หน้าต่างประตูและผนังพังได้ การเคลื่อนที่ของก๊าซหรือควันนั้นจะต้องอาศัยปัจจัย 2 อย่างคือ ความกดดันของก๊าซ (Gas Pressure) และแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) แรงโน้มถ่วงของโลกจะผลักดันในแนวตั้ง โดยปกติแล้วจะทำให้ก๊าซไหลผ่านช่องว่างที่พื้นและเพดานเท่านั้น การไหลของก๊าซที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการไหลแบบลอยตัว (Buoyant Flow) ซึ่งการเกิดความกดดันที่แตกต่างกัน ของไหลไม่ว่าจะเป็นของเหลวหรือก๊าซจะถูกผลักดันให้ไหลผ่านช่องเปิด 

วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการระบายควันและก๊าซร้อน

  • เพื่ออำนวยความสะดวกในการหนีภัยของผู้อาศัยในอาคาร โดยการจำกัดการแพร่กระจายของควันและก๊าซร้อนไม่ให้เข้าสู่เส้นทางหนีภั
  • เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการดับเพลิงโดยช่วยให้พนักงานดับเพลิงเข้าสู่อาคารและสามารถมองเห็นฐานเพลิงได้
  • เพื่อลดความเสียหายอันเกิดจากควันและก๊าซร้อน

ดังนั้นถ้าหากอาคารสำนักงานต่างๆมีระบบควบคุมควันไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตรายจากการเสียชีวิตของพนักงานหรือเจ้าที่ที่เกิดจากควันไฟในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัยลงได้ แต่ถ้าหากระบบควบคุมการถ่ายเทควันหรือระบบควบคุมควันไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยเกิดการสำลักควันจนเสียชีวิตอีกกรณีหนึ่งก็เป็นได้

 

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด (JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.) ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านวิศวกรรมงานป้องกันอัคคีภัยแบบครบวงจร ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการออกแบบ ติดตั้งระบบดับเพลิง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ รวมไปถึงทดสอบตรวจเช็คระบบดับเพลิง พร้อมด้วยบริการบำรุงรักษาหลังการขาย ซึ่งได้แก่ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System), ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic sprinkler system), ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose System), ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ (Fire Suppression System: CO2, NOVEC TM 1230, FM200), ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยโฟม (Foam Sprinkler System), ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)  เป็นต้น  

ยินดีให้คำปรึกษา สำหรับอาคาร โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความต้องการติดตั้งระบบดับเพลิง ที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามมาตรฐาน มุ่งเน้นรูปแบบการทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดในทุกๆขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การออกแบบระบบดับเพลิงเพื่อวางงบประมาณ ติดตั้งระบบจนกระทั่งการทดสอบระบบเพื่อส่งมอบงาน โดยคัดสรรสินค้าและระบบดับเพลิงที่มีคุณภาพภายใต้มาตรฐานสากล (NFPA) ควบคู่ไปกับ หลักกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศ เพราะความปลอดภัยของท่านคือสิ่งที่เราคำนึงถึงมากที่สุด สนใจโปรดติดต่อ

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด
JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.
50/75 หมู่ที่ 2 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทร : 090-356-0259, 089-766-7920
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.judtem-engineering.com 

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Thursday, 21 May 2020 09:55
พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Author : เกาะติดข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่ ยาง การประกันภัย มอเตอร์โชว์ นวัตกรรมยานยนต์ และทิศทางในอนาคตของวงการยานยนต์

Latest from พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

มันส์ระเบิดแน่! กับโมโตครอสชิงแชมป์ประเทศไทย ช่วงท้ายฤดูกาล สนาม 8-9 ที่ Silver Rock Bike Park วันที่ 13-14 ก.ค. 67 นี้

S&J มุ่งรักษาการเติบโต มั่นยึดถือแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ย้ำเป็น 1 ใน 25 บริษัทที่ทำคะแนนสูงสุดของทั้ง 4 เกณฑ์ คือรางวัลของการขับเคลื่อน เป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จ

ZOOMLION มินิโรดโชว์ เมกาโฮม กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

SCG HEIM เปิดตัว 3 แบบบ้านสไตล์ใหม่ “New Design ULTIMATE Series” ชูจุดขายด้านสุขภาพและการอยู่สบาย เจ้าของบ้านประสานเสียงตอบรับคือบ้านคุณภาพเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง

อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น รับโอกาสอุตสาหกรรมไม้ เฟอร์นิเจอร์ไทยโตไม่หยุด เตรียมจัด “Thailand International Woodworking & Furniture Exhibition 2024” เชื่อมเครือข่ายนักธุรกิจทั่วอาเซียน

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM