November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
USA

IMF ปรับ GDP โลกเพิ่ม มองเศรษฐกิจโตดี แม้ยังมีความเสี่ยงในระยะยาว

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook Update) ในเดือนตุลาคม 2017 ซึ่งมีการปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2017 และ 2018 ขึ้นเป็น 3.6% และ 3.7% จากคาดการณ์เดิมในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่ระดับ 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ โดยเป็นการปรับเพิ่มประมาณการทางเศรษฐกิจจากช่วงครึ่งปีแรกจากการที่หลายกลุ่มประเทศมีการเติบโตดีเกินคาด สะท้อนถึงภาวะการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม

IMF เพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก มองการเติบโตระยะสั้นดีขึ้นหลายภูมิภาคโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ เมื่อเทียบกับคาดการณ์ครั้งก่อนทั้งในเดือนเมษายนและกรกฎาคมที่ผ่านมา ประมาณการเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักถูกปรับขึ้น โดยประมาณการล่าสุดสำหรับเขตยูโรโซนเติบโตที่ 2.1% และ 1.9% ในขณะที่ญี่ปุ่นเติบโตที่ 1.5% และ 0.7% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ พร้อมกันนี้ประเทศเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีนจะขยายตัวได้ราว 6.8% และ 6.5% สำหรับอินเดียจะเติบโตราว 6.7% และ 7.4% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ ในภาพรวมกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาจะเติบโตได้เฉลี่ย 4.6% ในปี 2017 และ 4.9% ในปี 2018 โดยเศรษฐกิจโลกในปี 2017 มีการเติบโตจากอุปสงค์ภายในประเทศและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวดีและคาดมีแรงส่งต่อเนื่องในปี 2018 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 2% แม้มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ จากความไม่แน่นอนทางการเมือง ขณะที่สหราชอาณาจักรยังเสี่ยงจาก Brexit โดยคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัว 2.2% และ 2.3% ในปี 2017 และ 2018 ตามลำดับ ปัจจัยหลักมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐฯ ทำให้ IMF คาดว่าจะยังไม่มีแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากนโยบายการปฏิรูปภาษี สำหรับเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ได้ปรับลดคาดการณ์ลงตามการเติบโตในช่วงครึ่งปีแรกที่ต่ำกว่าที่คาด จากการบริโภคในประเทศที่เติบโตช้าและค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า อีกทั้งมองว่าการเติบโตของ สหราชอาณาจักรในระยะกลางยังมีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของ Brexit ทั้งในด้านอุปสรรคทางการค้า การอพยพแรงงาน และกิจกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ

IMF มองเศรษฐกิจโลกระยะยาวเสี่ยงกว่าระยะสั้น ในระยะสั้น ความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้สูงกว่าที่คาด แม้จะยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐฯ และจาก Brexit ขณะที่ในระยะยาว มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เศรษฐกิจโลกโตช้ากว่าที่คาด ได้แก่ 1) ภาวะการเงินตึงตัวเกินคาดจากการที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวถูกปรับสูงขึ้นตามกลไกตลาด ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำ 2) ปัญหาหนี้ในจีนที่ยังคงเพิ่มขึ้นเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวในระยะต่อไปได้ 3) ภาวะการก่อหนี้และชำระหนี้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศที่พึ่งพาการกู้ยืม ที่จะมีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยโดยรวมที่สูงขึ้น นอกจากนี้ 4) ความเสี่ยงจากนโยบายการกีดกันทางการค้าและปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้ทุกขณะ

อีไอซีมองว่าเศรษฐกิจไทยจะได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการส่งออกและท่องเที่ยว แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจะเป็นแรงส่งให้การส่งออกไทย และภาคการท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นที่เพิ่มสูงขึ้นจะเป็นแรงสนับสนุนให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทยมากขึ้น อย่างไรก็ดี อีไอซีมองว่าสำหรับเศรษฐกิจไทย แม้มีพัฒนาการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องที่ 3.6% ในปี 2017 และ 3.5% ในปี 2018 แต่ปัจจัยด้านราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มไม่กลับไปสูงเช่นได้อดีต และปัญหากำลังซื้อภายในประเทศที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำจะทำให้เงินเฟ้อทั่วไปของไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำทั้งในปีนี้และปีหน้าที่ราว 0.6% และ 1% ตามลำดับ

ภาวะการเงินโลกที่มีแนวโน้มตึงตัวขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อตลาดการเงินไทยในด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะต่อไป แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและการลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ รวมทั้งการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ของธนาคารกลางในเขตยูโรโซนและญี่ปุ่น จะทำให้เกิดความตึงตัวในตลาดการเงินมากขึ้น หากตลาดการเงินโลกตอบสนองรุนแรงเกินกว่าที่คาด อาจส่งผลให้ความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลดลง และอาจก่อให้เกิดการไหลย้อนกลับของเงินทุนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมถึงไทยได้ อย่างไรก็ตาม อีไอซีประเมินว่าปัจจัยดังกล่าวเป็นเพียงความเสี่ยงด้านต่ำที่เพิ่มมากขึ้น และจะไม่ส่งผลต่อภาวะตลาดการเงินของไทยมากนัก เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังคงดีต่อเนื่อง ประกอบกับสถานะการเงินระหว่างประเทศของไทยยังคงเข้มแข็ง จากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ส่งผลต่อนัยยะค่าเงินบาทที่จะยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะสั้น แต่จะเริ่มทยอยอ่อนค่าได้ถึง 33.5-34.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ ณ สิ้นปี 2018 ตามแนวโน้มการลดการผ่อนคลายทางนโยบายการเงินในกลุ่มประเทศหลัก

ที่มา : Prachachat.net

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:54
ทิพนาถ ทนุตระกูลทิพย์

Author : เกาะติดข่าวอเมริกา

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM