November 22, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กสอ.เผยผลสำเร็จโครงการฯ งบปี 61 เป็นไปตามเป้า กางแผนปี 62 เดินเครื่องพัฒนา SMEs เต็มสูบ ชูแนวคิดกุญแจไขความสำเร็จ 7 ขั้น!

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โชว์ผลสำเร็จการยกระดับ SMEs และวิสาหกิจชุมชนผ่าน 9 มาตรการ ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดำเนินการและโครงการตามภารกิจหลักของ กสอ. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ระบุเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ 

แย้มงบปี 62 เตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 800 ล้านบาท พลิกโฉม SMEs ผ่าน 5 แผนงานหลัก ภายใต้แนวคิดกุญแจไขความสำเร็จ 7 ขั้นตอน ตั้งเป้าหมายพัฒนา SMEs กว่า 3,000 กิจการ พัฒนาผู้ประกอบการ กว่า 15,000 คน และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกว่า 2,000 ราย คาดเกิดมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

นายภานุวัฒน์ ตริยางกรูศรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2561 ในการยกระดับ SMEs ว่า ในปีงบประมาณ 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ดำเนินงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ เพิ่มจำนวนผลผลิตของการดำเนินงานพัฒนาสถานประกอบการรวมกว่า 2,700 กิจการ ฝึกอบรมพัฒนาทักษะผู้ประกอบการและบุคลากรในอุตสาหกรรมกว่า 19,000 คน

พัฒนาความสามารถแก่ SMEs และวิสาหกิจชุมชนกว่า 1,600 ราย 63 กลุ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ พัฒนาความเข้มแข็งเชื่อมโยงเครือข่าย 30 เครือข่าย โดยก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 8,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ กสอ. ได้ดำเนินงานภายใต้ มติ ครม. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ทั้ง 9 มาตรการ สามารถพัฒนา ให้ SMEs กลายเป็น Smart SMEs ด้วยการสนับสนุน ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบใหม่โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์และมีรูปลักษณ์ ที่ทันสมัยตรงกับความต้องการลูกค้า การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ ผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center: ITC 4.0) การให้บริการปรึกษาแนะนำผ่านศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ เอสเอ็มอีทั่วประเทศ การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ รวมทั้งการพัฒนาความรู้และทักษะให้มีความทันสมัย และสร้างความเชื่อมโยงของ SMEs ไทยให้เชื่อมโยงผ่านระบบ Big Data

นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังยกระดับ SMEs และเศรษฐกิจฐานชุมชน ด้วยการสร้างงาน สร้างโอกาส สร้างรายได้ โดยการดึงธุรกิจ รายใหญ่ (Big Brother) มาช่วยสนับสนุนการพัฒนาทั้ง SMEs และวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบประชารัฐ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาดและบริการเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชน (หมู่บ้าน CIV) และการบ่มเพาะเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป (SMEs เกษตร) รวมทั้งการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับ SMEs เข้าสู่ตลาดโลกผ่านแพลทฟอร์ม T Good Tech และ J Good Tech

การสร้างความร่วมมือระดับประเทศ (Global Network of Transformation) และการพัฒนาระบบเพื่อให้บริการและสนับสนุน SMEs ทั้งประเทศให้มีความเข้มแข็ง (Ecosystem for Transformation) และสนับสนุนให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ โดยมีความมุ่งหวังว่าการ Transform SMEs ทั้งประเทศในทุกระดับจะส่งผลให้ SMEs สามารถมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น และเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 

นอกจากนี้ กสอ. ยังดำเนินการตามภารกิจหลักอย่างต่อเนื่องในปี 2561 ประกอบด้วย 
          1. การพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ และพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความพร้อมรองรับการทำงาน ควบคู่กับการนำหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อพัฒนาสถานประกอบการรองรับอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้นำงานวิจัยหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการประกอบธุรกิจ สร้างความเข้มแข็งในส่วนของห่วงโซ่ การผลิตเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ รวมถึงการประยุกต์ใช้กลไกของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือ Industry Transformation Center (ITC) ที่มีอยู่ทั้ง 13 แห่งทั่วทุกภาคของประเทศ 
          2. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์ ด้วยการบ่มเพาะความรู้ให้กับผู้มีความพร้อม เป็นผู้ประกอบการและสร้างธุรกิจของตนเองได้ เน้นการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยการนำความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาปรับใช้ในการผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด 
          3. การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้ส่งเสริมให้มีพื้นที่สำหรับ การทำงานออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ นักออกแบบ และผู้เกี่ยวข้อง สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการบูรณาการ และส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ฮาลาล (ที่ไม่ใช่อาหาร) อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่น ๆ ทั้งในด้านการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างนวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 
          4. การเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ให้มีองค์ความรู้และทักษะรู้จักการวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ รวมทั้ง มีแนวคิดการทำธุรกิจด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิทัล นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และขยายช่องทางธุรกิจให้สินค้าไทยในต่างประเทศ เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SMEs ไทย ในกลุ่ม High Growth High Impact ให้สามารถยกระดับธุรกิจให้เติบโต รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้สามารถจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ได้
          5. การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์สอดคล้องต่อความต้องการของตลาด และสร้างอัตลักษณ์ของภูมิภาคโดยการนำทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของไทยมาประยุกต์ใช้พัฒนาศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งนำอัตลักษณ์ชุมชนมาประยุกต์สร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้ตระหนักถึงกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและสร้างเครือข่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์และพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนรุ่นใหม่ 
          6. การส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้า การลงทุน ส่งเสริมองค์ความรู้และศักยภาพให้ผู้ประกอบการชุมชนได้เข้าใจการพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้รู้จักการเพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน 
          7. การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการค้าและการลงทุนภาคเหนือ พัฒนาศักยภาพนักประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Makers) รองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งผลักดันให้ผู้ประกอบการ เข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์บนพื้นฐาน การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 
          และ 8. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กร เชื่อมต่อกับโซ่อุปทานของสถานประกอบการเชื่อมโยงผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากร ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนา ทักษะความรู้และวิสัยทัศน์ด้านการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน สร้างเครือข่ายระหว่างผู้ผลิต ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ หรือผู้ขนส่งและจัดจำหน่าย ให้เกิดความร่วมมือกัน สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น

สำหรับในปีงบประมาณ 2562 กสอ. ได้รับจัดสรรงบประมาณรวมกว่า 800 ล้านบาท มีเป้าหมาย ในการช่วยเหลือและพัฒนา SMEs 3,200 กิจการ พัฒนาผู้ประกอบการ/บุคลากรอุตสาหกรรม 17,000 คน และพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2,540 ราย โดยคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ผ่าน 5 แผนงานหลัก คือ 1) แผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการ และเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนา SME สู่สากล 2) แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ 3) แผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ระดับภาค (ด้านการ สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) 4) แผนงานบูรณาการด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ และ 5) แผนงานบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 

"กลยุทธ์หลักในการดำเนินงานปี 2562 จะดำเนินการภายใต้แนวคิดกุญแจไขความสำเร็จโครงการ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 7 ขั้นตอน หรือ 7steps to key success of DIP project ประกอบด้วย 1) โครงการจะต้องมาจาก Need ที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย 2) นำกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการที่ได้จากการความต้องการ ที่แท้จริง 3) ความคุ้มค่า เน้นการลดต้นทุนและความสูญเสียทั้ง Supply Chain การเพิ่ม Productivity ให้มากขึ้น 4) การตลาด หลังจากมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วให้นำไปขายบน online platform เช่น T-Good Tech / J-Good Tech/E-Market Place/E- Catalog/E-Commerce/Lazada/Alibaba และ K-Plus 5) ให้คำแนะนำปรึกษาด้านสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ กรณีที่มีทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ โดยผ่านกองทุนหลัก ๆ 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 20,000 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 6) ประชาสัมพันธ์ Success Case ของแต่ละโครงการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไปให้รับรู้ถึงวิธีการพัฒนาธุรกิจของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และ 7) สร้าง Platform ในรูปแบบ E-Learning มาขยายผล Success Case เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวจะสามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs แบบครบวงจร และนำไปสู่การจะสร้าง Productivity หรือการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรม SMEs ไทย สามารถ Transform ตามโมเดลไทยแลนด์ 4.0 ได้" นายภานุวัฒน์ กล่าว 

รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนา

SMEs ปีงบประมาณ 2562 กสอ. มุ่งเน้นใน 3 ด้านหลัก คือ

  • มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (SME Startup and Innovation) เน้นการให้ความรู้ การบ่มเพาะและให้คำปรึกษาแนะนำการประกอบธุรกิจให้สามารถวางแผนและสร้างโมเดลธุรกิจ เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีมูลค่าสูง และการสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจ กับนักลงทุนหรือแหล่งเงินทุนที่น่าสนใจ การยกระดับผลิตภัณฑ์หรืองานวิจัยต้นแบบ ไปสู่ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ทั้งด้าน Product Innovation หรือ Service Innovation อย่างจริงจัง มีการเชื่อมโยงของศูนย์ ITC ประจำภาค และศูนย์ Mini ITC ประจำจังหวัด โดยมีเป้าหมายส่งเสริม Industrial Tech Startup จำนวนทั้งสิ้น 1,300 ราย และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวนทั้งสิ้น 50 ผลิตภัณฑ์ เกิดผลลัพธ์มูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 117.5 ล้านบาท 
  • เตรียมพัฒนาศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center : ITC 4.0) ให้มีความพร้อมทุกด้านและช่วยส่งเสริม SMEs ให้มีศักยภาพในอุตสาหกรรมใหม่ ตามแนวทางของศูนย์ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Product Transform) ด้านกระบวนการผลิต ด้านบุคลากร (People Transform) โดยคาดว่าจะทยอย เปิดให้บริการศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมครบทั้ง 13 ศูนย์ได้ภายในเดือนตุลาคม 2561 นี้ โดยปัจจุบันมี SMEs ได้รับบริการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และการผลิต (Pilot Plant) จำนวนมากกว่า 1,000 ราย ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมี วิสาหกิจชุมชน และ SMEs มาใช้บริการมากกว่า 2,000 รายต่อปี 
  • การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity) ภาคอุตสาหกรรมสู่เวทีโลก ด้วยการยกระดับผลิตภาพการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และระบบบริหารจัดการเข้ามาช่วยในการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ โดยมุ่งพัฒนาผู้ประกอบการกว่า 1,500 โรงงาน พัฒนาบุคลากร 10,000 คน และพัฒนาเครือข่ายการผลิต 36 เครือข่าย ตั้งเป้าเลื่อนลำดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมไทยขึ้นจากอันดับ 51 มาอยู่ต่ำกว่าอันดับที่ 45 ของการจัดอันดับ IMD จากทั้งหมด 61 ประเทศทั่วโลก
Rate this item
(0 votes)
Last modified on Saturday, 13 October 2018 10:53

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
MNr-วิถีพอเพียง-Sidebar1
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM