IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
การอ่านฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทรวงอกแบบอัตโนมัติมีจุดเป้าหมายในการให้ความช่วยเหลือภาค HealthTechด้วยการช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบเพื่อความเข้าใจฟิล์มเอ็กซ์เรย์ได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันเพื่อช่วยให้สามารถวางแผนด้านการประกันสุขภาพได้ดียิ่งขึ้นตามเงื่อนไขทางด้านสุขภาพเป็นปัจเจกบุคคล
บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด (Amazon Web Services Inc.: AWS) บริษัทในเครือAmazon.com ประกาศผลการแข่งขัน AWS Hackdays ‘Hack for Good’ 2019 ของประเทศไทย โดยทีมซันเดย์ มอร์นิ่ง เป็นผู้ชนะเลิศ ด้วยการนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมการอ่านฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทรวงอกโดยอัตโนมัติ (Automated Chest X-Ray Interpretation) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชั่น ได้แก่เวอร์ชั่นที่ให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า (free version) และเวอร์ชั่นที่มีค่าธรรมเนียมและการบริการ (paid version) เนื่องจากธีมการแข่งขันในปีนี้คือการพัฒนาเพื่อคืนสิ่งที่ดีกลับสู่สังคม (Hack for Good)บริการในส่วนที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย (free version) มีเป้าหมายที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบและเข้าใจผลการเอ็กซเรย์ทรวงอกได้โดยอัตโนมัติ และในส่วนของเวอร์ชันที่มีค่าใช้จ่าย ทีมซันเดย์ มอนิ่งได้พัฒนาเพื่อเป็นแพลตฟอร์มประกันสุขภาพเพื่อวิเคราะห์สภาพสุขภาพของลูกค้าโดยใช้รายงานเอ็กซ์เรย์ทรวงอกและการตรวจสุขภาพในการคำนวณเบี้ยประกันตามสภาพสุขภาพจริงของลูกค้า
ทั้งนี้ ซันเดย์ มอร์นิ่งได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการเดินทางเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันแฮคกาธอนระดับอาเซียนในรอบชิงชนะเลิศ (Grand Finale) ในงาน AWS Summit Singapore 2019 ณ ประเทศสิงคโปร์
นิค วอลตัน กรรมการผู้จัดการ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส ประจำภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า
เราขอแสดงความยินดีกับทีมซันเดย์ มอร์นิ่ง ที่ชนะการแข่งขันด้วยโซลูชันอันน่าประทับใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหัวข้อ ‘Hack for Good’ ใน AWS Hackdays 2019 อย่างแท้จริง
“ด้วยการตอบสนองที่ได้รับนี้ทำให้เรามีกำลังใจ รวมทั้งถือเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นว่านักพัฒนาได้นำเอาเทคโนโลยีต่างของAWS รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) แมชชีน เลิร์นนิ่ง (Machine Learning)อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) และการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) ไปใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันที่ช่วยขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวกและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเราในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ดียิ่งขึ้น”
นายภูวิศ วิทิตยานนท์ สมาชิกทีมซันเดย์ มอร์นิ่ง กล่าวว่า “เมื่อพิจารณาถึงโครงการของเรา สิ่งแรกที่เราต้องทำคือการระบุถึงสิ่งที่เป็นประเด็นและเป็นแนวโน้มที่สำคัญที่ภาค HeathTech กำลังเผชิญอยู่ สิ่งที่เราตระหนักเป็นอย่างดีก็คือ ปัจจุบัน 1ใน 8 ของคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินหายใจ โดยในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 55,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงขึ้นกว่า 200เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายก็คือประเทศไทยมีหน่วยเอ็กซ์เรย์มากกว่า 10,000 แห่งแต่มีแพทย์รังสีวิทยาเพียง 1,462 คน ซึ่งจากจำนวนนี้หมายถึงแพทย์ด้านรังสี15 คนต่อจำนวนประชากร 1,000,000 คนในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้น เราจึงคิดถึงโซลูชันนี้ที่เราเชื่อว่าน่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในขณะที่ลดเวิร์คโหลดการทำงานของแพทย์รังสีวิทยา พร้อมให้คำแนะนำหรือการเตือนที่ทันท่วงทีด้านสุขภาพเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เข้าร่วมในการแข่งขันHackdays 2019 ในรอบ Grand Finale เพื่อที่จะพัฒนาต้นแบบของเราต่อไปด้วยเครื่องมือและบริการAWS ที่หลากหลายให้สามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา”
AWS Hackdays คืองานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อให้ความรู้ และเพื่อการแข่งขันแฮคกาธอน (hackathon) ใน 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีนี้ ทีมในภูมิภาคที่เข้าร่วมการแข่งขันได้รับการสนับสนุนให้โชว์เคสงานนวัตกรรม พร้อมทั้งแสดงทักษะในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence หรือ AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง (machine learning หรือ ML) อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) หรือ Modern Applications Centered ภายใต้หัวข้อด้าน HealthTech AgriTech Smart City และ FinTech
สำหรับการแข่งขันแฮคกาธอนในปีนี้ มีทีมเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 345 ทีม พร้อมผู้เข้าร่วมส่งผลงานออนไลน์จำนวน 1,522 คน โดยผลงานที่ส่งประกอบไปด้วยการนำบริการของ AWS มาใช้งาน อาทิAmazon Sagemaker Amazon Polly Amazon Lex รวมถึงบริการ AWS IoT โดยโซลูชันต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาจะได้รับการประเมินโดยคณะกรรมการซึ่งจะตัดสินโดยอิงจากนวัตกรรมของโซลูชัน (innovation) ผลการกระทบทางธุรกิจ (business impact) การนำไปใช้งาน (implementation) และประสบการณ์ของผู้ใช้ (user experience) ซึ่งมีทีมทั้งหมด 5 ทีมที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อนำเสนอโซลูชันในรายละเอียด ซึ่งซันเดย์ มอร์นิ่งชนะไปในที่สุด