November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

โลกดิจิทัลพลิกโฉมผู้บริโภค ถึงเวลาธุรกิจรับมือยุค AI

ทุกวันนี้เทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกธุรกิจ ไม่จำเพาะแค่ในโลกไอที ผู้ประกอบการจึงจำเป็นยิ่งจะต้องเปลี่ยนให้ทันก่อนจะถูกกลืนหายไป เมื่อเร็ว ๆ นี้ บมจ.กสท โทรคมนาคม จัดงาน CAT Network Showcase พร้อมเวทีเสวนากระตุ้นภาคธุรกิจให้ลุกขึ้นมารับมือ

“พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์” กรรมการผู้จัดการ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) ย้ำถึงปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันว่า คือการเกาะติดกับเทรนด์ธุรกิจ การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การพัฒนาบุคลากร และเข้าถึงตลาดในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อเลือกวิธีสื่อสารตรงกับกลุ่มเป้าหมาย อาทิ คนรุ่นใหม่ที่ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากกว่าทีวี

โดยบริษัทวิจัย การ์เนอร์ ระบุว่า 3 สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ AI ปัญญาประดิษฐ์ที่จะแทรกอยู่ในทุกที่ทุกแห่ง ตั้งแต่สมาร์ตบิลดิ้งไปจนถึงยานยนต์ไร้คนขับ อีกกลุ่มคือสภาพเสมือนจริง ทั้งเทคโนโลยี VR สร้างภาพเสมือนจริง 4D Printing กลุ่มสุดท้ายคือ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโลจิสติกส์ ที่พักอาศัย ในอนาคตแพลตฟอร์มดิจิทัลจะเข้ามาแทนที่ธุรกิจแบบเดิม ๆ

คอนเวอร์เจ้นส์ไม่เท่า “ต่อยอด”

“ดนันท์ สุภัทรพันธ์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ แคท กล่าวเสริมว่า 

นี่คือยุคที่ “ดาต้า” มีความสำคัญมาก แต่ดาต้าที่สำคัญคือ ดาต้าที่มีการประมวลผล ดังนั้น “AI-IOT-คลาวด์” จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการเก็บดาต้าเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ซึ่งภาคธุรกิจกำลังตื่นตัวที่จะปรับไปสู่องค์กรที่บริหารจัดการด้วยข้อมูล เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่มากขึ้น

การจะทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้ใช้งานได้อย่างลื่นไหล โครงสร้างพื้นฐานทั้ง Fixed , Mobile รวมถึง IoT จะเป็นสิ่งสำคัญมาก ขณะที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โอกาสของผู้ให้บริการคือการเคลื่อนตัวไปใกล้ผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อหาเซอร์วิสและโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้มากที่สุด

ในแง่ของผู้ให้บริการ แม้ว่าเทรนด์ “คอนเวอร์เจ้นส์” จะมา 4-5 ปีแล้ว แต่ยุคนี้ลูกค้าไม่ได้อยากได้ทุกบริการ จากนี้จะได้เห็นการแยกผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อนำเสนอให้ลูกค้าในลักษณะการต่อยอดบริการที่ลูกค้าต้องการใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดมากกว่า

โลกดิจิทัล = โลกของผู้บริโภค

“ศิวัตร เชาวรียวงษ์” อุปนายกสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทย และซีอีโอ บริษัท M Interaction กล่าวว่าพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้แนวโน้มการใช้สื่อดิจิทัลเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากที่เคยมีสัดส่วนแค่ 2% ของงบฯโฆษณาทั้งหมด ปีนี้ขยับมาที่ 12% และโมเดลการเข้าถึงตลาดก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่ทำสื่อไว้รอคนเข้ามาดู ปัจจุบันงบฯโฆษณาไหลไปสู่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีฐานผู้ใช้จำนวนมาก อย่าง กูเกิล เฟซบุ๊กที่มีศักยภาพในการเข้าถึงตลาดเป้าหมายได้ดี

ทั้งนี้ ความแข็งแกร่งของสื่อจะเปลี่ยนไป จากที่เดิมเป็นเรื่องความสามารถในการทำคอนเทนต์ให้ถูกใจ และช่องทางในการเข้าถึง หากสามารถเข้าใจช่องทางดิจิทัล ก็จะสามารถอยู่ได้โดยอาศัยความสามารถในการทำคอนเทนต์

“คนที่อยู่ได้คือนำคอนเทนต์ดี ๆ มาอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์ม ดังนั้นสื่อที่จะอยู่เป็นหลักต่อไปคือ สื่อดิจิทัล และสื่อ out of Home ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ แต่รวมถึงผู้ประกอบการทุกรายที่ต้องการเข้าถึงตลาด”

ผู้บริโภคคาดหวังสูงขึ้น

“ไมเคิล จิตติวาณิชย์” Head of Marketing กูเกิล ประเทศไทย ระบุว่า mission ของกูเกิลตลอด 20 ปีที่ผ่านมา คือ การจัดเรียบเรียงข้อมูลทั่วโลกแล้วจัดระเบียบเพื่อให้คนเข้าถึงได้ง่ายและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ง่าย เวลาเปลี่ยนไปทำให้ลักษณะของข้อมูลก็เปลี่ยนไปไม่ใช่แค่ตัวหนังสือ จุดสำคัญคือเข้าใจว่าข้อมูลคืออะไรเพื่อทำให้คนใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้น ๆ ได้

ยุทธศาสตร์ของบริษัทที่ประกาศในปีที่แล้วคือ “Mobile First to AI First” เนื่องจากกูเกิลมองว่า 10 ปีที่ผ่านมาโมบายเฟิรสต์เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ธุรกิจ และ 10 ปีข้างหน้าคือ AI

โลกยุคโมบายทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ที่เห็นชัดคือยอดขายสมาร์ทโฟนก้าวกระโดดปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 15 ล้านเครื่อง เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของประชากรไทยซื้อมือถือใหม่ทุกปี

ผลที่ตามมาคือ พฤติกรรมผู้บริโภคที่ทำให้ช่องทางการเข้าถึงคอนเทนต์ รวมถึงใคร ๆ ก็สามารถเป็นคนสร้างคอนเทนต์ดี ๆ ที่คนเข้าถึงจำนวนมากได้ และ 3-4 ปีที่ผ่าน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ “การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เข้มข้น และรุนแรง”

“ในอดีต วิทยุ ตู้เย็น ใช้เวลา 20-30 ปี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่แพร่หลาย ทีวีใช้เวลา 13 ปี แต่อินเทอร์เน็ตใช้เวลา 4 ปี เฟซบุ๊กใช้เวลา 3.5 ปีวีแชตภายในปีเดียว โปเกมอนโกลด์ใช้เวลาแค่ 19 วัน ทุกวันนี้แค่ข้ามคืนมีโอกาสที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ บริการใหม่ ๆ ที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว”

คนไทยเป็นกลุ่มที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเปิดโอกาสให้เข้าไปใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ และเมื่อเปลี่ยนแล้วก็ใช้งานอย่างหนักหน่วง ผลวิจัยพบว่า 62% คนไทยดูยูทูบผ่านมือถือแล้ว และยอดใช้งานสูงสุดติด 1 ใน 10 ของโลก และยังมีการสำรวจพบว่าคนไทยติดมือถือมากที่สุดในโลก และใช้งานหน้าจอ ๆ หลากหลายพร้อมกันมากที่สุดในโลก

AI พื้นฐานแก้ปัญหา-สร้างโอกาส

“การเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้บริโภคสร้างมาตรฐานความคาดหวังต่อสินค้าและบริการ มากกว่าเดิม เร็วขึ้นกว่าเดิม จากข้อมูลกูเกิล เวลาคนค้นหาข้อมูลผ่านการเสิร์ช ปัจจุบันมีถึง 53% ถ้ากดลิงก์แล้วแค่ 3 วินาที ถ้าเว็บไม่ขึ้นคือจะทิ้งไปหาเว็บใหม่แทนทันที จากเดิมที่มีแค่ 40% ฉะนั้นคนต้องการสิ่งที่ดีขึ้นเสมอ หยุดพัฒนาไม่ได้”

ขณะที่ AI จะเป็นพื้นฐานในการคิดสิ่งใหม่ ที่ทำให้ทุกสิ่งฉลาดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาแทรกอยู่ในเทคโนโลยีต่าง ๆ มานานแล้ว ซึ่งจำนวนการใช้ AI ในการโปรแกรมมิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีการก้าวกระโดดขึ้นไปถึง 4 เท่าตัว

“ไม่มีใครตอบได้ว่าแต่ละเทคโนโลยีจะมาเร็วแค่ไหน แต่เชื่อว่าธุรกิจในอนาคตจะประสบความสำเร็จได้ต้องอยู่บน AI”

ตัวอย่างของ AI ในบริการของกูเกิลคือการนำแมชีนเลิร์นนิ่งมาพัฒนาให้การแปลผ่าน “Google Translate” เวอร์ชั่นใหม่ ลดความผิดพลาดในการแปลลดลงมากกว่าครึ่ง โดยเฉพาะในประโยคยาวๆ การใช้สำหรับบริการเสิร์ชด้วยเสียง หรือแม้แต่การเปิดให้บริการ ML fo everyone แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างโค้ดโปรแกรมสำหรับแมชีนเลิร์นนิ่ง ซึ่งมีเกษตรกรที่ญี่ปุ่นนำไปใช้เพื่อแบ่งประเภทแตงกวาที่ปลูกในฟาร์มให้ดีขึ้นกว่าเดิม

ล้วนเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า AI จะเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาและสร้างโอกาส

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:26
อัญชลี ปรีชาธนพันธ์

Author : ประสบการณ์งานข่าวภาคสนามร่วมสิบปี เชี่ยวชาญงานข่าวสด งานสัมภาษณ์ สอบถาม เข้าร่วมฟังในที่ประชุมแถลงข่าว การสัมมนา ติดตามเหตุการณ์ คดีต่างๆ หรือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำข่าว

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM