November 21, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
amatatanee-strip-Steel-Strip-Head

TSS เน้นเป้ากลุ่มสื่อสาร-พลังงาน

“บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล จำกัด” (TSS) ผู้นำระดับแนวหน้ารุกการพัฒนาเสาโครงเหล็กสำหรับเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาสื่อสารโทรคมนาคม ประกาศความพร้อมรองรับการเติบโตในธุรกิจพลังงานทางเลือกและการสื่อสารของไทย เร่งผลักดันอุตสาหกรรมไทยรองรับเศรษฐกิจยุค 4.0

แหล่งข่าว บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล หรือ (TSS) บริษัทในเครือ (BJC Group) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ดำเนินงานก้าวสู่ปีที่ 30 โดยล่าสุดได้จัดกิจกรรมพิธีทำบุญครบรอบ 28 ปี วันสถาปนาบริษัท และจัดกิจกรรม เช่น ร่วมทำบุญใส่บาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ พิธีมอบประกาศเกียรติพนักงานปฏิบัติงานครบ 10 ปี. ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิตและชุบสังกะสี โครงสร้างเหล็กเพื่อใช้กับเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมทั่วไป จนได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

 

โดยบริษัทฯมีโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ด้วยเทคโนโลยีระดับสูงในการเขียนและออกแบบ รวมถึงการนำหุ่นยนต์สำหรับงานเชื่อมมาช่วยในการผลิต และติดตั้งเครื่องจักรที่ควบคุมการทำงานด้วยสมองกล (Computer Numercial Control – CNC) จึงทำให้โครงสร้างที่ออกแบบมีคุณภาพสูง ลดต้นทุนการผลิต และสามารถตอบความต้องการลูกค้าได้เป็นอย่างดี จนได้รับการยอมรับจากลูกค้าทั่วโลก ด้วยกำลังการผลิตกว่า 25,000 ตันต่อปี ยอดขายกว่า 300,000 ตัน

ด้วยความต้องการของลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมและกลุ่มไฟฟ้าที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากโครงการของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้บริษัทฯ พัฒนากำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

รวมถึงรองรับธุรกิจด้านพลังงานทางเลือก (Solar Roof) ของบริษัทฯ ที่ถือเป็นธุรกิจใหม่ซึ่งได้ลงทุนและได้รับการยอมรับจากลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี

บริษัท ไทย-สแกนดิค สตีล หรือ ทีเอสเอส เป็นบริษัทในเครือกลุ่มบริษัทเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ดำเนินธุรกิจด้านเหล็กโครงสร้างการ์วาไนซ์ เสาส่งไฟฟ้า เสาการสื่อสารโทรศัพท์ สถานีพลังงานขนาดย่อยและโครงสร้างอุตสาหกรรมทั่วไป ด้วยการผลิตระดับมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 และ ISO 14001 : 2015 เป็นมาตรฐานสากลระดับโลกด้านการบริหารจัดการและด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ลูกค้ามั่นใจในการบริหารการจัดการเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัท อีกทั้งบริษัทยังให้ความสำคัญยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกโรงงานอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ คือเสาสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เสาสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงงานก่อสร้างสถานีย่อยต่างๆ โดยมีลูกค้าหลักคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯได้ส่งมอบงานเพื่อพัฒนาโครงการสายส่งไฟฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง และจากการทาง กฟผ.ขอโฟกัสการลงทุนโรงไฟฟ้าใหม่และระบบสายส่งไฟฟ้าช่วง 10 ปีแรก ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ (PDP2018) ซึ่งโครงการดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับอานิสงส์สำหรับการใช้เสาส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์เสาสื่อสารโทรคมนาคม และงานก่อสร้างโครงการต่างๆ อีกด้วย

โดยนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า การลงทุนของกฟผ.ตามแผน PDP2018 ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าหลักในแต่ละภูมิภาคที่ตามแผนแบ่งออกเป็น 7 ภาค โดยเน้นการรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้า ซึ่งในช่วง 10 ปีแรกของแผน(2561-2570) ถือว่ามีความชัดเจนว่า กฟผ.จะต้องลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า จำนวน 8 โรง กำลังการผลิตรวมประมาณ 5,400 เมกะวัตต์  ประเมินเบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท  และการลงทุนระบบสายส่งอีกประมาณ3แสนล้านบาท รวมเป็นเงินลงทุนประมาณ 6 แสนล้านบาท

 

โครงการลงทุนโรงไฟฟ้าโรงใหม่ของกฟผ. จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ยกเว้นโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่จะใช้ลิกไนต์ และจะต้องอยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม เช่น โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ โรงไฟฟ้าบางปะกง  โรงไฟฟ้าน้ำพอง  ส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซที่สุราษฏร์ธานี นั้น กำลังดูในรายละเอียดว่าจะมีการซื้อพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการเตรียมความพร้อมด้านการเงินนั้น กฟผ.กำลังพิจารณาในหลายๆรูปแบบเพื่อหาเครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการเงินสมัยใหม่ ที่เหมาะสม มาใช้ในการลงทุน  เพื่อให้มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ

นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า การลงทุนตามแผน PDP2018 ในช่วง 10 ปีแรก จะทำให้สัดส่วนการผลิตของกฟผ. ลดลง เหลือประมาณ 31% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 35% โดยในช่วง 10 ปี หลังของแผน ที่จะมีโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบ จะต้องรอการกำหนดนโยบายจากกระทรวงพลังงาน ว่าจะให้ กฟผ. เป็นผู้ลงทุนในโรงไฟฟ้าโรงใดอีก ซึ่งหากรัฐให้เอกชน ลงทุนแทนกฟผ.ทั้งหมด  สัดส่วนกำลังการผลิตของกฟผ  ก็จะลดลงเหลือประมาณ 24% ในปี 2580

“แผน PDP2018 ยังจะต้องมีการทบทวนปรับปรุงใหม่ ทุกๆ 5 ปี จึงอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรได้อีกเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์  ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเน้นไปที่ช่วง 10 ปีแรกของแผนซึ่งค่อนข้างจะมีความชัดเจน โดย สัดส่วนกำลังการผลิต ของกฟผ.ที่จะลดเหลือประมาณ 31% จาก 35% ในปัจจุบัน ก็ยังถือว่าเพียงพอสำหรับการดูแลภาพรวมการรักษาความมั่นคงไฟฟ้าของประเทศ” นายวิบูลย์ กล่าว


Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Thursday, 09 January 2020 05:20
กำจัด ชื่นคชลักษณ์

Author : เกาะติดทุกข่าวในอุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ สถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อาคารเขียว  วิศวกรรม กฏหมายก่อสร้าง ข่าวสถาปนิก ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Taiwan Excellence นำเสนอมิติใหม่แห่งวงการอุตสาหกรรมโลหการ  ชูวิสัยทัศน์เด่น "Innovate for Green Metalwork"  ที่ Metalex 2024

ไต้หวัน เดินหน้านโยบายมุ่งใต้ใหม่ ยกระดับความร่วมมือไทย-ไต้หวัน พร้อมโชว์นวัตกรรมอัจฉริยะ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

“เมทัลเล็กซ์ 2024” พร้อมโชว์ผลงานชิ้นเอกจาก 3,000 แบรนด์ จัดเต็มพื้นที่ศูนย์ไบเทคเตรียมรับนักอุตสาหกรรมจาก 50 ประเทศ

Taiwan Excellence ยกขบวนนวัตกรรมเครื่องจักรสุดล้ำ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่ Net-Zero

Taiwan Expo 2024 พร้อมมอบโอกาสทางธุรกิจให้คนไทยอีกครั้ง 21-23 พ.ย. นี้ อัพเดทเทรนด์ ชมนวัตกรรม เทคโนโลยี โซลูชัน ที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม

AP THAILAND – CPAC  ผนึกกำลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อการอยู่อาศัยไทยสู่ความยั่งยืน  ก้าวสู่ยุคใหม่ด้วยคอนกรีตคาร์บอนต่ำ และรถโม่เล็กซีแพค

“บางกอกเคเบิ้ล” ฉลองเส้นทางผู้นำธุรกิจสายไฟ 60 ปี มุ่งพลิกโฉมความปลอดภัย-อนาคตเมือง พัฒนา Smart Factory-รุกตลาดพลังงานสะอาด รับความต้องการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกโต 3 เท่า

นวพลาสติก คว้ารางวัล Thailand Kaizen Award 2024 ตอกย้ำองค์กรที่มุ่งมั่นด้านการลดการใช้พลังงาน และตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม

พสบ.ทภ.2 มอบบ้าน ตามโครงการ "พสบ.ฮักเลย สร้างบ้านให้ผู้ไร้ที่อยู่อาศัย"

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM