IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
นายธนะชัย บัณฑิตวรภูมิ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ผู้นำด้านธุรกิจพลังงานสะอาดของไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ทำการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) นั้น บริษัทย่อยของ ACE ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 18 บริษัท รวม 18 โครงการ (1 บริษัทย่อยต่อ 1 โครงการ) คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 59.00 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตเสนอขายรวม 50.00 เมกะวัตต์ ตามลำดับ โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวเป็นโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) ทั้ง 18 โครงการ สำหรับขั้นตอนต่อไปจะเป็นการศึกษาเงื่อนไขการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภายใน 120 วัน หลัง กกพ. ประกาศรายชื่อฯ โดย กกพ. กําหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ภายใน 36 เดือน นับจากวันลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ ภายในวันที่ 21 มกราคม 2568
การได้รับคัดเลือกประมูลโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าสำคัญของบริษัทฯ ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านการเป็นผู้นำพลังงานสะอาด
"ซึ่งจะช่วยเสริมให้เป้าหมายการเพิ่มกำลังผลิตมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์รุดหน้ามากยิ่งขึ้น โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการประมูลครั้งนี้ มาจากการที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และความสำเร็จในการพัฒนาและดำเนินงานโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในหลายพื้นที่ และการมีเครือข่ายเกษตรกรและวัตถุดิบชีวมวลและชีวภาพ ตลอดจนความเชี่ยวชาญในการวิจัยพัฒนาพืชพลังงาน รวมถึงข้อเสนอที่เชื่อว่าจะช่วยสร้างให้เกิดประโยชน์กับชุมชนแต่ละพื้นที่ได้สูงสุด” นายธนะชัย กล่าว
ACE ส่งต่อความห่วงใย มอบถุงสู้โควิด-19 แก่พนักงานและชาวบ้านรอบโรงไฟฟ้า รวม 10,000 ชุด
อนึ่ง นอกจากการดำเนินธุรกิจแล้วที่ผ่านมา ACE ยังตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนความช่วยเหลือแก่พนักงาน ชาวบ้าน หน่วยงานราชการ โรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่อยู่รอบพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดของ ACE ทั่วทุกภูมิภาคมาต่อเนื่อง ทั้งการมอบถุงสู้โควิด จำนวน 10,000 ชุด ซึ่งภายในประกอบด้วยอุปกรณ์ป้องกันทั้งหน้ากากอนามัยและขวดสเปรย์แอลกอฮอล์ มอบเตียงสนาม จำนวน 2,000 เตียง มอบอุปกรณ์เครื่องนอนเตียงสนาม เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องมือทางการแพทย์ อาทิ เครื่องสแกนวัดอุณหภูมิ เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพอัตโนมัติ ฯลฯ โดยจะยังคงมุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือเคียงคู่คนไทยสู้ภัยโควิด-19 จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และพร้อมเป็นกำลังใจให้ทุกคนพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
นอกจากนี้ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด (“ทริสเรทติ้ง”) ได้ประกาศผลการจัดอันดับเครดิตองค์กรของ ACE เป็นครั้งแรกต่อสาธารณชน โดยอยู่ที่ระดับ “BBB+” พร้อมแนวโน้มอันดับเครดิตที่ระดับ “คงที่ (Stable)” โดยการจัดอันดับเครดิตครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและมุมมองเชิงบวกต่อธุรกิจและสถานะทางการเงินของ ACE ที่มีความแข็งแกร่ง รวมถึงการมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจและแผนการขยายธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเติบโตของรายได้และกำไรอย่างมั่นคง
“การจัดอันดับเครดิตองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเตรียมความพร้อมด้านแหล่งเงินทุนของบริษัทฯ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและการลงทุนในอนาคตของกลุ่มบริษัทฯ โดยเป็นการเพิ่มทางเลือกของแหล่งเงินทุนให้บริษัทฯ สามารถที่จะพิจารณาจัดหาเงินทุนด้วยการออกตราสารหนี้ประเภทต่างๆ เช่น หุ้นกู้ หรือ ตั๋วเงิน เป็นต้น ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ต่อไปในอนาคต”
ทั้งนี้ ACE มีการขยายกิจการและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเพิ่งได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง) รวม 18 โครงการ คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวม 59.00 เมกะวัตต์ และกำลังการผลิตเสนอขายรวม 50.00 เมกะวัตต์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มการมุ่งสู่เป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งไม่น้อยกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ในปี 2567รวมถึงได้รับคัดเลือกให้เข้าคำนวณในดัชนี SET100 รวมถึงดัชนีระดับสากลอย่าง FTSE SET Mid Cap และ FTSE SET Shariah Index โดยองค์กรระดับโลกอย่าง FTSE Russell ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้รับการจัดอันดับบริษัทจดทะเบียนที่มีการกำกับดูแลกิจการ อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” หรือ ระดับ 4 ดาว จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยการสนับสนุนจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ทั้งหมดนี้สอดรับตามวิสัยทัศน์ของ ACE ในการตั้งเป้าเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานสะอาดและยั่งยืนต้นแบบของโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้ถือหุ้น ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
กลุ่มบริษัท ACE มีโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว กำลังการผลิตติดตั้งรวม 245.91 เมกะวัตต์ บริษัทได้เตรียมแผนการลงทุนไว้พร้อมแล้ว โดยคาดว่าการลงทุนจะเกิดในช่วงปี 2564-2565 มีมูลค่ารวมประมาณ 13,000 ล้านบาท โดยแหล่งเงินทุนที่เตรียมไว้ อาทิเช่น เงินทุนที่ได้รับจากการขายหุ้น IPO สินเชื่อโครงการจากสถาบันการเงิน กระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัท วงเงินสินเชื่อของกลุ่มบริษัทที่มีกับสถาบันการเงิน รวมทั้งการออกหุ้นกู้ในอนาคต เป็นต้น
แผนภาพแสดงกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากขยะแบบ Direct Incineration ของ ACE
นอกจากนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโชคชัย จ. นครราชสีมา ได้ประกาศให้ บริษัท แอ๊บโซลูท เพาเวอร์ แพลนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯ ถือหุ้น 90% เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการบริหารและจัดการขยะมูลฝอยชุมชนโดยการแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้าระบบปิดแบบ Waste to Energy (WTE) ขนาดรองรับปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนไม่น้อยกว่า 466.96 ตันต่อวัน ภายใต้สัญญาโครงการแบบ Build-Own-Operate (BOO) มีอายุ 25 ปี โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตเสนอขายตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) 8.0 เมกะวัตต์
“การได้มาซึ่งสัญญาการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชน 2 แห่งนี้จะช่วยเพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้าในกลุ่มโรงไฟฟ้าขยะชุมชนของบริษัทฯ เป็น 4 แห่ง รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 31.8 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ธุรกิจที่มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดของบริษัทฯ ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตรวมให้กับบริษัทฯ แล้ว ยังสามารถช่วยจัดการปัญหาขยะตกค้างให้กับชุมชนและประเทศชาติได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พยายามดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งโรงไฟฟ้าขยะชุมชนเชียงหวาง และโรงไฟฟ้าขยะชุมชนโชคชัย หากได้รับสัญญา PPA ตามที่คาดไว้คือ 8 เมกะวัตต์ ในราคาแบบ FiT (5.78 บาทต่อหน่วย) คาดจะช่วยเพิ่มรายได้จากการขายไฟฟ้าให้กับบริษัทฯ ได้อีกปีละประมาณ 380 ล้านบาทต่อโรงไฟฟ้า ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการขยะตามสัญญา”
โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ทั้งนี้ ปัจจุบัน ACE มีโรงไฟฟ้าขยะชุมชนที่ทำการ COD จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เรียบร้อยแล้วจำนวน 2 แห่ง คือ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กำลังการผลิตติดตั้งรวม 9.9 เมกะวัตต์ และ โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน เทศบาลเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งสองแห่งถือเป็นโมเดลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับอย่างสูงจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนี้ ยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดอุบลราชธานี ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยเทคโนโลยีกังหันไอน้ำ ในการขับเคลื่อนกำเนิดไฟฟ้า และใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำประเภท Multi Fuel Type แบบ High Moisture Content สามารถรองรับเชื้อเพลิงแบบผสมผสานได้หลากหลาย บริหารและดำเนินงานภายไต้บริษัทย่อย คือ บริษัท อัลไลแอนซ์ คลีน เพาเวอร์ จำกัด โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้ ถือเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบนำความร่วมมือชุมชนกับผู้ประกอบการ อีกด้วย