November 24, 2024

Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

‘พพ.’ลงพื้นที่นิคมฯหนองแค ศึกษาโซลาร์ลอยน้ำ

พพ. นำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชนลงพื้นที่ ศึกษาศักยภาพระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและบนหลังคา ในการผลิตน้ำประปานิคมฯ ต้นแบบพลังงานทดแทนใช้พื้นที่เปล่าประโยชน์ผลิตไฟ

พพ. นำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชนลงพื้นที่ ศึกษาศักยภาพระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและบนหลังคา ในการผลิตน้ำประปานิคมฯ หนองแค สระบุรี ต้นแบบความสำเร็จ คว้ารางวัล ไทยแลนด์ เอเนอร์จี อวอร์ด 2019 ด้านพลังงานทดแทนประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า นำพื้นที่ไร้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานพร้อมเข้าชิงรางวัลในเวทีอาเซียนเอเนอร์จีอวอร์ดปลายปีนี้ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยระหว่างการนำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชม “โครงการระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและบนหลังคา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตน้ำประปา” ของ บริษัท เอส ซี จี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมหนองแคว่า โครงการดังกล่าวได้รับรางวัลดีเด่นThailand Energy Awards 2019 ด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid)

และเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าชิงรางวัลในเวทีประกวดอาเซียนเอเนอร์จี อวอร์ด (ASEAN Energy Awards 2019 ) ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพเนื่องจากเป็นโครงการที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน

 

“ ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ไม่เพียงมีส่วนสำคัญต่อการดูแลด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด แต่ยังมีส่วนช่วยในการยกระดับการพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้มากขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งติดตั้งแผงโซลาร์ในน้ำก็นับเป็นนวัตกรรมที่เอสซีจี พัฒนาขึ้นที่จะเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าให้กับแสงอาทิตย์ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการส่งเสริมพลังงานทดแทนเป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หรือ AEDP 2015” นายยงยุทธกล่าว

ทั้งนี้การพัฒนาโครงการดังกล่าวได้มีการนำพื้นที่ที่ไม่เกิดประโยชน์มาใช้เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น พื้นที่บนหลังคา บ่อน้ำ โดยการติดตั้งระบบไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในโครงการระบบผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์บนหลังคาและแบบลอยน้ำที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นและยังลดการระเหยน้ำจากบ่อได้ถึง 7% ซึ่งทำให้บริษัทสามารถลดการใช้ไฟฟ้าจากระบบสายส่งได้ถึง 14% ด้วยกำลังการผลิตติดตั้งทั้งสิ้น160 Kw สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปา ได้ประมาณ 236,512 หน่วยต่อปี รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 134 ตันต่อปี

การดำเนินโครงการนี้ให้ผลตอบแทนด้านการลงทุนสูงถึง (IRR) 18% ตลอดระยะเวลา 25 ปี สามารถลดต้นทุนได้สูงถึง 20.4 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 3,365 ตัน ระยะเวลาคืนทุน 5-6 ปี ถือว่าโครงการนี้ เป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพ และเป็นต้นแบบที่สามารถขยายผลไปใช้กับโครงการอื่นๆของบริษัท ทั้งในและต่างประเทศถึง 5โครงการ คิดเป็นมูลค่า 200 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตได้ถึง 199 ล้านหน่วยต่อปี ทำให้โรงงานทั้งหมดสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึง 30 ล้านบาทต่อปี

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Monday, 05 August 2019 07:28
กัลยรัตน์ กิจศิริวัชรโชติ

Author : เกาะติดข่าวพลังงาน พลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานสะอาด โรงไฟฟ้า น้ำมัน ก๊าช การขนส่งพลังงาน นโยบายรัฐ สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงาน ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM