IM สื่ออุตสาหกรรม เป็นสื่อสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำเสนอข่าวสารด้านบวก ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ธุรกิจ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม SMEs ได้มีที่ยืน ได้มีโอกาสได้ใช้ช่องทางเคียงคู่ไปกับผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยได้เติบโตไปพร้อมๆ กัน อย่างยั่งยืน
บริษัท สื่ออุตสาหกรรม จำกัด | 02 11 585 22 | an6n@yahoo.com
ความแตกต่างระหว่างการเคลือบพื้นด้วยอีพ็อกซี่และโพลียูรีเทน
พื้นอีพ็อกซี่และโพลียูรีเทน เป็นรูปแบบของยาง ที่ทำมาใช้ทำพื้นในทางอุตสาหกรรมมากที่สุด สารเหล่านี้จึงเหมาะสำหรับปกป้องพื้นของคุณจากคราบสกปรก, สารเคมีน้ำมัน และการสึกหรอ อีกทั้งยังให้แสงสะท้อนที่ดี, ทำความสะอาดง่าย และติดทนนาน นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ทำให้เกิดคำถามเดิมๆ ว่า อะไรคือความแตกต่างของพื้นทั้ง 2 ชนิด? และเราควรจะเลือกแบบไหนดี?
คำตอบสั้นๆ สำหรับการใช้งานส่วนใหญ่ คือการใช้พื้นทั้งสองนั่นเอง มาดูกันว่าเพราะเหตุใด
ประโยชน์ของการเคลือบพื้นด้วยอีพ็อกซี่
พื้นอีพ็อกซี่นั้นมีความแข็งแรงทนทาน และมีความต้านทานแรงอัดสูงกว่าโพลียูรีเทน นี่คือเหตุผลที่มันเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมของหนัก, คลังสินค้า และศูนย์โลจิสติกส์ที่มีการจราจรหนาแน่น
อีพ็อกซี่เป็นโพลิเมอร์เทอร์โมเซ็ตติ้ง ซึ่งมีอยู่ใน 3 สูตรที่แตกต่างกัน สำหรับการเคลือบพื้นโรงรถและเครื่องซีล มีทั้งรูปแบบน้ำ, รูปแบบตัวทำละลาย และรูปแบบของแข็ง 100% สูตรเหล่านี้ช่วยให้เกิดความหนาที่แตกต่างกัน จาก 3 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10 มิลลิเมตร ในการทาเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ อีพ็อกซี่ยังง่ายต่อการใช้งาน ด้วยลักษณะการยึดเกาะแบบพิเศษ และการพิจารณาค่า VOC อีพ็อกซี่จะยึดติดกับคอนกรีตที่เตรียมไว้อย่างดี และบางครั้งสามารถใช้เป็นสารปรับสภาพผิวสำหรับคอนกรีตเก่าหรือสึกหรอ ที่ต้องการพื้นผิวใหม่เอี่ยม
สูตรอีพ็อกซี่ที่ดีที่สุดคือแบบของแข็ง 100% โดยจะให้พื้นผิวที่แข็งมาก, หนา และทนต่อแรงกระแทก ความหนาที่ปรับระดับได้ด้วยตนเองนี้ จะช่วยเติมเต็มในส่วนของรอยแตกเล็ก รวมถึงป้องกันพื้นผิวโดยรวม นอกจากนี้ยังทำงานได้ดีกับความร้อน ป้องกันรอยขีดข่วนและการสึกหรอจากการเสียดสี แม้ว่าบางสูตรของอีพ็อกซี่ จะมาพร้อมกับสารป้องกันรังสี UV แต่มันก็อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองบริเวณผิวด้านบนขึ้นได้ เมื่อถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ดังนั้น การนำไปใช้จึงนิยมในที่ร่ม เช่น การใช้ทาพื้นโรงจอดรถ
ประโยชน์ของการเคลือบพื้นด้วยโพลียูรีเทน
พื้นโพลียูรีเทนมักจะมีความนุ่มและยืดหยุ่นมากกว่า ซึ่งทำให้พื้นห้องมีความทนทานต่อการขีดข่วนมากขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นของโพลียูรีเทนมีแนวโน้มที่จะดูดซับแรงกระแทกได้ ความยืดหยุ่นของพื้นโพลียูรีเทน ยังทำให้สารชนิดนี้เป็นตัวเลือกที่นิยมในการเคลือบพื้นของช่องแช่แข็ง ที่อุณหภูมิการเก็บรักษาอาจลดลงได้ถึง -30 องศาเซลเซียส (-22 องศาฟาเรนไฮต์) อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับพื้นของโรงจอดรถแบบหลายชั้น เนื่องจากการเคลือบด้วยโพลียูรีเทน สามารถทำหน้าที่เป็นชั้นกันซึมและกันรอยแตกร้าวได้
โพลียูรีเทนเป็นโพลิเมอร์เทอร์โมเซ็ตติ้ง เช่นเดียวกับอีพ็อกซี่ และถือว่าเป็นสารเคลือบผิวประสิทธิภาพสูง ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อว่า ยูรีเทนสายสั้น ถึงแม้ว่ามันจะไม่ถูกต้องทางเทคนิค และมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างโพลียูรีเทนและยูรีเทน ถ้าหากมีคนโฆษณาว่านั่นคือสารเคลือบพื้นยูรีเทน จริงๆ แล้วมันคือโพลียูรีเทนนั่นเอง
สูตรสารเคลือบแบบต่างๆ อะลิฟาติกโพลียูรีเทนเป็นทางเลือกที่ต้องการสำหรับพื้นโรงรถ แม้ว่าจะมีส่วนประกอบเป็นของแข็งประมาณ 60 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต แต่การเคลือบโพลียูรีเทนนั้นมีความหนาเพียง 2-3 มิลลิเมตร และไม่สามารถปรับได้เหมือนกับอีพ็อกซี่
อย่างไรก็ตาม อะลิฟาติกโพลียูรีเทนจะมีความยืดหยุ่นมากกว่าอีพ็อกซี่ และเป็นความยืดหยุ่นที่ช่วยในการดูดซับแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ ยังทนต่อการขัดถูได้ดีอีกด้วย ในความเป็นจริง ผู้ผลิตบางรายอ้างว่า ความทนทานต่อการสึกหรอของโพลียูรีเทนนั้น มีมากกว่าอีพ็อกซี่มีค่าเกือบ 3 ต่อ 1 รวมถึงความทนทานต่อสารเคมีนั้นดีกว่าอีพ็อกซี่เช่นกัน นั่นหมายถึงการทนทานต่อสารละลายหลายๆ ชนิดด้วย
ข้อดีอีกอย่างของโพลียูรีเทนที่มีต่ออีพ็อกซี่ก็คือ U.V มีเสถียรภาพ ซึ่งหมายความว่าจะไม่เป็นสีเหลืองเหมือนอีพ๊อกซี่เมื่อสัมผัสกับแสงแดดเล็กน้อยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง พื้นผิวของโพลียูรีเทนไม่แข็งเหมือนอีพ็อกซี่ แต่ทนต่อการขีดข่วนได้ดีขึ้น และสามารถทนต่ออุณหภูมิแบบสุดขั้วได้ และจัดการกับความชื้นได้ดีกว่ามาก มันยังมีรูปแบบของผิวสัมผัสให้เลือกหลายแบบ ตั้งแต่ผิวหยาบไปจึงถึงผิวมันวาว
แม้ว่าโพลียูรีเทนจะมีข้อดีมากกว่าอีพ็อกซี่ แต่ก็ไม่สามารถยึดติดกับคอนกรีตได้ดี และความหนาค่อนข้างต่ำ ไม่สามารถเคลือบสีแบบเพิ่มระดับได้ จึงไม่สามารถปกปิดรอยแตกที่เกิดขึ้นก่อนหน้าหรือภายหลัง อีกประการหนึ่งคือ โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นตัวทำละลาย ซึ่งหมายความว่ามันมีค่า VOC สูง และอาจต้องใช้เครื่องกรองอากาศในขณะทาลงพื้น
บทสรุป
อีพ็อกซี่และโพลียูรีเทน จะมีคุณลักษณะการแสดงออกต่อสารเคมีที่แตกต่างกัน เช่น โพลียูรีเทน เป็นตัวเลือกที่ดีในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักมีกรดแลกติกอยู่ในสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นเหตุที่อุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำงานเกี่ยวกับนม, ผลิตภัณฑ์จากนม และชีส จึงเลือกใช้โพลียูรีเทน ในขณะที่อีพ็อกซี่หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมดังกล่าว จะถูกกัดกร่อนและซีดเหลือง
แล้วคุณควรจะใช้แบบใด? ตามหลักการแล้ว เชื่อว่าคุณจะได้รับประสิทธิภาพสูงสุด โดยการใช้ทั้งโพลียูรีเทนและอีพ็อกซี่ สำหรับการเคลือบพื้นโรงรถของคุณ ไม่ว่าคุณจะใช้การเคลือบด้วยตัวเองหรือจ้างมืออาชีพมาทำ อีพ็อกซี่เหมาะสำหรับการสร้างความหนาให้กับพื้น จากนั้นจึงทาตามด้วยโพลียูรีเทน เพื่อการเคลือบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อปกป้องพื้นผิว มันจะช่วยปกป้องอีพ็อกซี่จากการซีดเหลือง และจะช่วยให้พื้นผิวทนต่อการสึกหรอและรอยขีดข่วนได้นาน
หากคุณกังวลเกี่ยวกับการซีดเหลือง คุณสามารถใช้โพลียูรีเทนสีเป็นสีเคลือบได้ทันที โพลียูรีเทนยังเป็นสื่อนำที่ดีกว่าอีพ็อกซี่ ในการผสมเพื่อใช้ทาพื้นกันลื่น จึงเหมาะสมมาก หากคุณต้องการพื้นผิวกันลื่นอย่างแท้จริง หรือต้องการพื้นสีทึบโดยไม่ต้องเคลือบสี
อย่างอื่นที่ควรพิจารณาคือ อีพ็อกซี่ส่วนใหญ่จะไม่ใสเหมือนยูรีเทน แม้ว่ามันจะไม่มีสี แต่ก็มีสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อยจากการตกกระทบของแสง โพลียูรีเทนจึงเหมาะกับการทำให้พื้นผิวมันวาว โดยไม่ทำให้พื้นผิวเปลี่ยนสี
ดังนั้น ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าควรจะทำการเคลือบพื้นด้วยอีพ็อกซี่หรือไม่ การรวมกันของอีพ็อกซี่และโพลียูรีเทน มักจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจาก 2 สิ่ง ผลลัพธ์คือการเคลือบพื้นที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะทนต่อแรงกดทับ และอยู่ได้ในอีกหลายปีข้างหน้า
แหล่งที่มา:
https://www.linkedin.com/pulse/epoxy-floor-coating-vs-polyurethane-michael-wang
http://learncoatings.com/wordpress/what-are-the-differences-between-epoxy-and-polyurethane-floors