Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ และงบการพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้าที่บานปลาย

ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์เป็นหนึ่งส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้วยยุคแห่งเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและระบบขับขี่อัตโนมัติ ทำให้ธุรกิจยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของตน

ซึ่ง Isuzu มีแผนเพิ่มงบประมาณการลงทุนในไตรมาสแรกปี 2019 ขึ้นจากเดิม 10.0% หรืออยู่ที่ 191,000 ล้านเยน ในขณะที่ Hino ประกาศลงทุนเพิ่ม 21.9% หรือเท่ากับ 147,000 ล้านเยนในไตรมาสเดียวกัน รวมไปถึงค่ายอื่น ๆ เอง ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มการลงทุนมากขึ้นหลังจากนี้ไป

ในงบประมาณการลงทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการพัฒนาระบบส่งกำลัง เนื่องจากยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบรรทุกนั้น จำเป็นต้องวิ่งเป็นระยะทางยาวโดยบรรทุกน้ำหนักปริมาณมาก

ทำให้ที่ผ่านมา ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ส่วนใหญ่เลือกใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นหลัก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การพัฒนาต่อเป็นรถยนต์ไฟฟ้าทำได้ยากกว่ารถยนต์นั่งเป็นอย่างมาก

เมื่อปี 2017 Mitsubishi Fuso Truck and Bus  ได้กลายเป็นรายแรกของโลกที่ส่งรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็กแบบผลิตจำนวนมากเข้าสู่ตลาด ส่วนรายถัดมานั้น คาดการณ์ว่าจะเป็น Isuzu ซึ่งมีแผนวางจำหน่ายรถบรรทุกไฟฟ้าขนาดเล็กเช่นเดียวกันภายในปี 2018 นี้ ส่วนทางด้าน UD Truck นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ และตั้งเป้าทดสอบวิ่งในปี 2019 ส่วน Hino นั้น ประธาน Yoshio Shimo กล่าวว่า “เนื่องจากปัจจัยทางเทคโนโลยี เราจึงจะเปิดตัวรถที่ใช้ได้จริงหลังปี 2020 เป็นต้นไป” โดยได้รองประธาน Shin Endo กล่าวเสริมว่า “รถของเราจะเป็นรุ่นผลิตจำนวนมากจริง ๆ ที่ไม่ใช่การทดลองวางขายแต่อย่างใด”

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าจำนวนรถบรรทุกไฟฟ้าในตลาดนั้นจะมีจำนวนที่ไม่สู้ดีนัก โดย Mr. Koichi Iguchi จาก KMPG FAS คาดการณ์ว่า จากปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จไฟ และต้นทุนของแบตเตอรี่แล้ว คาดว่า “รถบรรทุกขนาดใหญ่จะเป็นรถไฮบริด (HV) ไปจนถึงช่วงปี 2030 และกว่ารถบรรทุกไฟฟ้าจะกลายเป็นที่แพร่หลายหลังปี 2050 เป็นต้นไป” นอกจากนี้ Mr. Masato Kawakatsu ผู้ดูแลแผนกยานยนต์ญี่ปุ่นจากบริษัทให้คำปรึกษา Ernst & Young Global ยังได้กล่าวแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า “ความต้องการรถบรรทุกดีเซลจะยังคงมีต่อไป”

ด้วยเหตุนี้เอง การพัฒนายานยนต์เพื่อการพาณิชย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเครื่องยนต์เดิม ซึ่งสิ่งที่แต่ละค่ายให้ความสำคัญนอกเหนือจากการพัฒนาประสิทธิภาพ คือการลดขนาดเครื่องยนต์ให้เล็งลง ซึ่งจะช่วยในการประหยัดน้ำมัน และลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถนำไปใช้กับรถ HV ได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 9 ลิตรของ “Profia” รถบรรทุกขนาดใหญ่ของ Hino ได้ถูกพัฒนาต่อ และลดขนาดเพื่อนำไปใช้กับ “Profia Hybrid” ซึ่งมีกำหนดออกสู่ตลาดในปี 2019 ที่จะถึงนี้

ด้วยเหตุนี้เอง Hino จึงไม่มีนโยบายยุติการจำหน่ายยานยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซลจนกว่าจะถึงปี 2050 อย่างไรก็ตาม ค่ายรถบรรทุกญี่ปุ่นอื่นยังไม่ได้แสดงแนวทางที่ชัดเจนออกมา นอกจากนี้ ในการพัฒนายังจำเป็นต้องแบ่งงบประมาณให้กับเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติ และ Connected Car อีกด้วย ส่งผลให้การพัฒนาระบบส่งกำลังเป็นไปได้ยากเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละค่ายจะทุ่มเทให้กับการพัฒนาในส่วนใดมากน้อยแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป

ที่มา : M Report

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Wednesday, 12 December 2018 17:20
บุญส่ง พัฒนรัตนาภพ

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้างและอุตสากรรมหนัก Discover Megadyne Industries, ข่าวเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ก่อสร้าง, ตลอดจนเรื่องราวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการขุดอุโมงค์, การปล่อยของเสีย, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM