Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

JUDTEM ENGINEERING : ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

โดย : บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด (JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.)

ปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดขี้นจากอัคคีภัย (ไฟไหม้) เห็นได้ว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้งและเพิ่มขึ้นทุกๆปี ซึ่งสังเกตุได้จากข่าวอยู่เป็นประจำ ทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพฯ ทั้งในส่วนภาคเอกชนและรวมไปถึงสถานที่ราชการและสถานที่อื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่าง มหาศาล อุบัติเหตุเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุหลายๆประการ แต่ทั้งนื้และทั้งนั้นไม่ว่าสาเหตุเกิด จากอะไรก็ตาม เราจะต้องรู้จักวิธีการป้องกันและรู้จักการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ในการป้องกันให้ ถูกต้องและเข้าใจวิธีการใช้งานอย่างถูกวิธี

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด เล็งเห็นความสำคัญในส่วนนี้เป็นอย่างมาก จึงมุ่งมั่นให้ความรู้ เกี่ยวกับระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย, ระบบดับเพลิง โดยจะจัดทำข้อมูลต่างๆ ลงใน Web Site เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้ ผู้ประกอบการได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของอุปกรณ์ดังกล่าว โดยมุ่งหวังว่าข้อมูลในแต่ละบทความอาจมีประโยชน์ และอาจนำไปใช้ในการบริหารจัดการป้องกันหรือยับยั้งการเกิดเหตุที่อัคคีภัยเราคาดไม่ถึง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันเพื่อมิให้เกิดความสูญเสียด้านชีวิต และทรัพย์สิน โดยบทความในตอนนี้ จะกล่าวถึง ระบบป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น

ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ, อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูง ต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาดแม้แต่ในอาคารพักอาศัยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยตามสมควรไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยแก่ ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยหรือผู้ให้บริการ การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active คือการป้องกันโดยใช้ระบบเตือนภัย,การควบคุมควันไฟ, ระบายควันไฟและระบบดับเพลิงที่ดี

1. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)

คือ ระบบที่มีไว้สำหรับแจ้งเตือนเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ โดยจะใช้อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ ที่ติดตั้งตามความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ ซึ่งเมื่ออุปกรณ์ตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ ก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม และระบบจะทำการแจ้งเหตุผ่านในรูปของเสียงหรือแสง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เราได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบผ่านแผนภาพด้านล่าง ที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนีไฟ หรือดับไฟ

ขั้นตอนการทำงานของระบบ

  1. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) หรือ ความร้อนได้ (Heat Detector)
  2. ส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel)
  3. ตู้ควบคุมส่งสัญญาณแจ้งเหตุผ่านอุปกรณ์ กระดิ่ง ไฟสัญญาณ หรือ ไซเรน เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่ได้รับรู้ว่ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นแล้ว

โดยหลักระบบ Fire Alarm System มีทั้งแบบอัตโนมัติ และแมนนวล แบบอัตโนมัติที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีอุปกรณ์ในการเตือนภัย 2 แบบ คือ อุปกรณ์ ตรวจจับเพลิงไหม้ (Fire Detector) อันได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่งคือแบบแมนนวล เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ โดยอุปกรณ์ที่ให้ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือ ก็มีนิยมใช้กัน 2 แบบ คือแบบดึงและแบบผลัก

ในปัจจุบันระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ได้พัฒนาจนสามารถพ่วงต่อเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (Smart Fire-Alarm) โดยจะแจ้งสัญญานไปที่โทรศัพท์มือถือที่ตั้งใว้ หรือแจ้งไปสถานีดับเพลิงโดยตรงก็ได้ ดังภาพ

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีประโยชน์อย่างไร?

หากเรามีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ดี  เมื่อเกิดเหตุการเพลิงไหม้ ระบบจะทำการตรวจจับ และแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในพื้นที่นั้นได้ทำการอพยพ หลบหนี ไปยังสถานที่ปลอดภัย ได้ทันท่วงที หรือรีบทำการแก้ไขไม่ให้ไฟไหม้นั้นลุกลาม ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างได้

ดังนั้นถ้าเรามีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้เราลดความเสียหายและความสูญเสียต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของท่านและองค์กรได้

2. ระบบดับเพลิง (Fire Suppression System)

ระบบดับเพลิงมีหลายประเภท มีตั้งแต่ดับเพลิงตามบ้านเรือน อาคารสูง ดับไฟป่า ดับเพลิงในเรือดำน้ำ ไปจนถึงระบบดับเพลิงในจรวดหรือยานอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงระบบดับเพลิงในอาคารโรงงานและอาคารสูงเท่านั้น โดยระบบส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

  • ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler Systems)  
    ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง จะสามารถทำงานได้ทันทีโดยอัตโนมัติ จากการแตกของหัวกระจายน้ำเมื่อเกิดเพลิงไหม้หรือความร้อนจากเพลิงไหม้ เป็นระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการควบคุมเพลิงไหม้ได้ดีมาก สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ทันทีขณะที่เพลิงยังมีขนาดเล็ก ทำให้หยุดการขยายตัวลุกลาม การเกิดควันไฟน้อยและเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นอยู่ในพื้นที่จำกัด ระบบนี้จะทำให้คนในอาคารมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการอพยพหนีไฟ ทั้งนี้ในการออกแบบและติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง สำหรับอาคาร โรงงานใดๆ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ เช่น มาตรฐาน NFPA 13 Standard for Installation of Sprinkler Systems ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ของทีมวิศวกร เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ
    อย่างไรก็ตาม การติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอาจไม่เหมาะสมในบางพื้นที่ เช่น ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากน้ำดับเพลิงอาจทำให้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าภายในพื้นที่ เหล่านั้นเสียหายได้

  • ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Systems)  
    ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง เป็นระบบที่มีไว้ทั้งสำหรับผู้ที่อยู่ในอาคารเพื่อใช้ในการดับเพลิงขนาดเล็ก และสำหรับพนักงานดับเพลิงหรือผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมในการใช้สายขนาดใหญ่ ใช้ดับเพลิง และจำกัดการขยายตัวของเพลิง  ในการออกแบบ ติดตั้ง จะต้องคำนึงถึงอัตราการส่งน้ำดับเพลิง ปริมาณน้ำสำหรับดับเพลิงต้องมี เพียงพอให้การส่งน้ำตามอัตราการไหลที่ต้องการ และอาจจะต้องมี การติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิง (Fire Department Connection) ชนิดข้อต่อสวมเร็ว เพื่อใช้สำหรับรับน้ำดับเพลิงจากภายนอก เช่น จากรถดับเพลิง ตำแหน่งในการติดตั้งหัวรับน้ำดับเพลิงต้องเป็นตำแหน่งที่สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกในเวลาที่เกิดเพลิงไหม้

  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ (Gas Suppression Systems) (Novec TM 1230, FM200, CO2)
    ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ จะใช้น้ำยาดับเพลิงชนิดสะอาด หลังจากใช้งานแล้ว ไม่ทิ้งคราบสารให้ทำความสะอาด นิยมใช้กับพื้นที่ที่ไม่มีคนอยู่ และต้องการดับเพลิงเป็นพิเศษ ทรัพย์สินมูลค่าสูง ไม่ต้องการให้วัสดุ หรืออุปกรณ์ในห้องนั้นเกิดความเสียหายจากน้ำยาเคมีที่ใช้ดับเพลิง เช่น ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  • ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยโฟม (Foam Systems)
    ระบบโฟมดับเพลิงอัตโนมัติซึ่งเหมาะกับพื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ สารเคมี น้ำมัน ที่เป็นของเหลว สามารถลุกติดไฟได้โดยง่าย เมื่อได้รับความร้อนหรือประกายไฟ ที่ไม่สามารถใช้น้ำดับเพลิงได้โดยตรง เหมาะสำหรับโรงกลั่น คลังน้ำมัน โรงงานผลิตสารเคมี ฯลฯ

  • ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Systems) 
    รับออกแบบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำดับเพลิง สำหรับระบบดับเพลิง การส่งน้ำให้กับระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ให้มีอัตราการไหลและความดันตามต้องการนั้น สามารถทำได้โดยใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง โดยเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสามารถขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล หรือขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
    โดยทั่วไปแล้วเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ติดตั้งตามมาตรฐาน ในประเทศไทยจะมี 2 ลักษณะ คือ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Fire Pump) และ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเทอร์ไบน์แนวดิ่ง (Vertical Turbine Pump) ซึ่งจะติดตั้งต่างกันไปตามในลักษณะที่ระดับผิวน้ำจากแหล่งเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำดับเพลิงเมื่อเทียบกับตัวเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

3. เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ (Mobile Fire Extinguisher)

เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ อาจฟังกันไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่า "ถังดับเพลิง" ก็คงจะร้องอ๋อกันทันที ทั้งนี้ ถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก สะดวกในการเคลื่อนย้าย ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงแบบต่าง ๆ ในกรณีที่กองเพลิงมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหยุดยั้งการลุกลามของไฟได้ ถังดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ดับเพลิงที่เกิดขึ้นในขั้นต้น ซึ่งเพลิงไหม้นั้นยังไม่มีความรุนแรงมากนัก ฉะนั้นการเลือกใช้ประเภทของสารดับเพลิงที่บรรจุอยู่ภายในถังดับเพลิงแบบมือถือให้ถูกต้องตรงกับประเภทของไฟที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดับเพลิงขั้นต้น

ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้ ถังดับเพลิงจึงถือเป็นอุปกรณ์ดับเพลิงยามฉุกเฉินที่เราสามารถหยิบมาใช้ได้ใกล้ตัวที่สุด ก่อนที่รถดับเพลิงจะมาถึง โดยบนตัวถังดับเพลิงจะระบุประเภทของไฟที่เหมาะกับชนิดของถังดับเพลิงเอาไว้บนตัวถังดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเลือกใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเกิดประโยชน์และถูกประเภทของการใช้งาน ในการติดตั้งถังดับเพลิงจะต้องติดตั้งในที่ๆเหมาะสม มองเห็นง่าย สะดวกในการใช้งาน รวมไปถึงต้องแนะนำสมาชิกในบ้านหรือในอาคารให้ศึกษาและทำความเข้าใจวิธีใช้งานด้วย

ตารางแสดงความสามารถในการดับเพลิงของสารดับเพลิงแต่ละประเภท 

ประเภทของสารดับเพลิง

(Fire   Extinguishing Agents)

ประเภทของไฟ

(Fire   Classification)

(A)

(B)

(C)

(D)

 

  น้ำ

 

  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   (CO2)

 

  โฟม   (Foam) เช่น   AFFF, AR-AFFF   เป็นต้น

 

  ผงเคมีแห้งเอนกประสงค์   (Multipurpose-ABC)

 

  ผงเคมีแห้งกลุ่มโปแตสเซียม

 

  ผงเคมีแห้งกลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต

 

  แก๊สดับเพลิง   เช่น Halotron-1 เป็นต้น

 

  สารดับเพลิงพิเศษ (Dry   Powder)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ที่มา: NFPA 10 Standard for Portable Fire Extinguishers (2002)

ประเภทของสารเคมีแห้งดับเพลิง

ประเภทของสารเคมีแห้งดับเพลิง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ

  • โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate Based) สารเคมีกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพในการดับเพลิงที่เกิดกับไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C) แต่โดยทั่วไป จะใช้ในการดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร
  • โปแตสเซียม (Potassium Based) สารเคมีดับเพลิงประเภทนี้มีคุณสมบัติในการดับเพลิงสำหรับไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C)ได้ดีกว่ากลุ่มโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (Mono Ammonium Phosphate) หรือเรียกว่าสารเคมีแห้งดับเพลิงเอนกประสงค์ (ABC Multi-Purpose Dry Chemical) เหมาะสำหรับไฟประเภททก (Class A) ไฟประเภท ข (Class B) และไฟประเภท ค (Class C) แต่ไม่เหมาะกับการดับเพลิงน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากอาจเกิดการลุกไหม้ซ้ำได้ รวมทั้งไม่ใช้ในการดับเพลิงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูงเนื่องจากจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นเสียหายได้

ทั้งนี้ในการใช้งาน หลังติดต้องใว้แล้วต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ดับเพลิงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน อย่าให้กลายเป็นเพียงถังเหล็กไร้ค่า เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ถังดับเพลิงจะเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่นำทางรอดมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ในที่นั้นๆ 

4. ลิฟต์พนักงานดับเพลิงสำหรับอาคารสูง (Fireman Lift)

คงเคยได้ยินกันว่า ห้ามใช้ลิฟต์ในขณะไฟใหม้ กันมาบ้าง คือลิฟต์ในอาคาร มีกฏหมายกำหนดให้สำหรับพนักงานดับเพลิงควบคุมพิเศษได้ใช้งานในขณะเกิดเหตุอาคารสูง กฎหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงทำงานในกรณีไฟไหม้ โดยแยกจากลิฟต์ใช้งานปกติทั่วไป แต่ถ้าอาคารไหนลิฟต์ดับเพลิงไม่ได้ถูกแยก (ใช้เป็นลิฟต์โดยสารปกติ) ก็ต้องห้ามใช้เมื่อเกิดเหตุ เพื่อละใว้ให้พนักงานดับเพลิงได้ใช้ ซึ่งจะทำให้การผจญเพลิง และการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ทั้งนี้ โดยตามกฎกระทรวงฉบับ 33 หมวด 6 ระบบลิฟต์ กำหนดใว้ดังนี้
ข้อ 43 ลิฟต์โดยสารและลิฟต์ดับเพลิงแต่ละชุดที่ใช้กับอาคารสูงให้มีขนาดมวลบรรทุกไม่น้อยกว่า 630 กิโลกรัม
ข้อ 44 อาคารสูงต้องมีลิฟต์ดับเพลิงอย่างน้อยหนึ่งชุด ซึ่งมีรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้

  • ลิฟต์ดับเพลิงต้องจอดได้ทุกชั้นของอาคาร และต้องมีระบบควบคุมพิเศษสำหรับพนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
  • บริเวณห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องติดตั้งตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงหรือหัวต่อสายฉีดน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอื่น ๆ
  • ห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงทุกชั้นต้องมีผนังหรือประตูที่ทำด้วยวัตถุทนไฟปิดกั้นมิให้เปลวไฟหรือควันเข้าได้ มีหน้าต่างเปิดออกสู่ภายนอกอาคารได้โดยตรง หรือมีระบบอัดลมภายในห้องโถงหน้าลิฟต์ดับเพลิงที่มีความดันลมขณะใช้งานไม่น้อยกว่า 3.86 ปาสกาลเมตร ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้
  • ระยะเวลาในการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของลิฟต์ดับเพลิงระหว่างชั้นล่างสุดกับชั้นบนสุดของอาคารต้องไม่เกินหนึ่งนาที

ทั้งนี้ ในเวลาปกติ ลิฟต์ดับเพลิงสามารถใช้เป็นลิฟต์โดยสารได้ อาคารปกติก็จะใช้เป็นลิฟต์โดยสารทั่วไป ดังนั้นเวลาเกิดเหตุจึงห้ามใช้ลิฟต์ในขณะไฟใหม้

ข้อ 45 ในปล่องลิฟต์ห้ามติดตั้งท่อสายไฟฟ้า ท่อส่งน้ำ ท่อระบายน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เว้นแต่เป็นส่วนประกอบของลิฟต์หรือจำเป็นสำหรับการทำงานและการดูแลรักษาลิฟต์
ข้อ 46 ลิฟต์ต้องมีระบบและอุปกรณ์การทำงานที่ให้ความปลอดภัยด้านสวัสดิภาพและสุขภาพของผู้โดยสารดังต่อไปนี้

  • ต้องมีระบบการทำงานที่จะให้ลิฟต์เลื่อนมาหยุดตรงที่จอดชั้นระดับดินและประตูลิฟต์ต้องเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ
  • ต้องมีสัญญาณเตือนและลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อบรรทุกเกินพิกัด
  • ต้องมีอุปกรณ์ที่จะหยุดลิฟต์ได้ในระยะที่กำหนดโดยอัตโนมัติเมื่อตัวลิฟต์มีความเร็วเกินพิกัด
  • ต้องมีระบบป้องกันประตูลิฟต์หนีบผู้โดยสาร
  • ลิฟต์ต้องไม่เคลื่อนที่เมื่อประตูลิฟต์ปิดไม่สนิท
  • ประตูลิฟต์ต้องไม่เปิดขณะลิฟต์เคลื่อนที่หรือหยุดไม่ตรงที่จอด
  • ต้องมีระบบการติดต่อกับภายนอกห้องลิฟต์ และสัญญาณแจ้งเหตุขัดข้อง
  • ต้องมีระบบแสงสว่างฉุกเฉินในห้องลิฟต์และหน้าชั้นที่จอด
  • ต้องมีระบบการระบายอากาศในห้องลิฟต์ตามที่กำหนดในข้อ9 (2)

ข้อ 47 ให้มีคำแนะนำอธิบายการใช้ การขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือ และข้อห้ามใช้ดังต่อไปนี้

  • การใช้ลิฟต์และการขอความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องลิฟต์
  • การให้ความช่วยเหลือ ให้ติดไว้ในห้องจักรกลและห้องผู้ดูแลลิฟต์
  • ข้อห้ามใช้ลิฟต์ ให้ติดไว้ที่ข้างประตูลิฟต์ด้านนอกทุกชั้น

ข้อ 48 การควบคุมการติดตั้งและตรวจสอบระบบลิฟต์ต้องดำเนินการโดยวิศวกรไฟฟ้า หรือวิศวกรเครื่องกล ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตั้งแต่ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม

 

5. ระบบควบคุมควันไฟ (Smoke Control)

ระบบควบคุมควันไฟ การสำลักควันไฟเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุไฟไหม้ อาคารจึง ต้องมีระบบที่จะทำให้มีการชะลอ การแพร่ ของควันไฟ โดยมากจะใช้การอัดอากาศลงไปในจุดที่ เป็นทางหนีไฟ, โถงบันได และโถงลิฟต์ โดยไม่ให้ควันไฟลามเข้าไป ในส่วนดังกล่าว เพิ่มระยะเวลา การหนีออกจากอาคาร และมีการดูดควันออกจากตัวอาคารด้วย

การควบคุมควันไฟเป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันอันตรายจากการเสียชีวิตในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัย เนื่องจากควันเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตมากกว่าความร้อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทความที่แล้วเรื่อง “ควันไฟ” เพราะควันสามารถแพร่กระจายตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถไหลผ่านช่องเปิดต่างๆได้ รวมทั้งยังลดความสามารถในการมองเห็นจึงทำให้ไม่สามารถหาทางออกจากอาคารเมื่อเกิดอัคคีภัย ดังนั้นจุดมุ่งหมายของระบบควบคุมควันไฟ คือป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้าสู่บริเวณบันได โถงลิฟต์และชะลอการแพร่กระจายของควันไฟรวมทั้งการระบายควัน ก๊าชพิษและความร้อนออกจากบริเวณที่เกิดอัคคีภัย ในขั้นต้นคาดว่าการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยสาเหตุเกิดจากควันไฟ เนื่องจากองค์ประกอบของควันจะมีก๊าซพิษอยู่หลายชนิดด้วยกัน อย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนต์ ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซแอมโมเนีย เขม่าควัน และควันไฟ เป็นต้น จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าก๊าซที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเสียชีวิตของการเกิดอัคคีภัยในอาคารสำนักงานทั่วไป คือ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเขม่าและควันไฟ

  • ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นก๊าซพิษที่มีอันตรายอย่างสูงต่อคนและเกิดขึ้นได้มากเสมอในการเผาไหม้ในบริเวณจำกัดก๊าซนี้มีอันตรายต่อคน คือ ถ้าผสมอยู่ในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ถ้ามีอยู่ 0.16 เปอร์เซนต์ทำให้หมดสติ ใน 2 ชั่วโมง ถ้ามีอยู่ 1.26 เปอร์เซนต์จะหมดสติภายใน 1 ถึง 3 นาที นอกจากความเป็นพิษแล้วก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 12 ยังเป็นก๊าซเชื้อเพลิงอีกด้วย เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศปริมาณมากสามารถลุกไหม้และเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide) เกิดจากการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ไม่เป็นเชื้อเพลิงและไม่ก่ออันตรายแก่ร่างกายโดยตรง แต่จะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนถ้าก๊าซนี้มีความเข้มข้นในอากาศเกินกว่า 5.0 เปอร์เซนต์โดยปริมาตรจะมีอันตรายและทำให้ผู้สูดดมหมดสติได้
  • เขม่าและควันไฟ (Soot and Smoke) เขม่า คือ ก้อนหรือเศษของวัสดุที่ยังเผาไหม้ไม่หมดจะมีลักษณะเป็นผงหรือละออง ส่วนควันไฟ เป็นสารผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้าและวัสดุต่าง ๆที่เกิดมาจากกองเพลิง รวมทั้งพวกก๊าซและไอต่าง ๆ ด้วยผลของเขม่าและควันไฟ คือทำให้ผู้ป่วยสำลักและอาจถูกเผาที่ผิวหน้าหรือตามตัวรวมทั้งปิดบังทางออกต่าง ๆ ทำให้หนีออกจากบริเวณเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้

การควบคุมควัน (Smoke Control) มีหลักการพื้นฐาน อยู่ 2 แบบคือ 

A. การควบคุมควันด้วยการไหลของอากาศ ใช้ในกรณีที่ความเร็วของอากาศโดยเฉลี่ยมีขนาดมากเพียงพอ แสดงตามภาพที่ 1

ภาพที่ 1 การควบคุมควันด้วยการไหลของอากาศเอง

ที่มา: Klote (1995)

 

ฺB. การควบคุมควันด้วยระบบความดันอากาศ คือการสร้างความแตกต่างของความกดดันอากาศตลอดแนวเครื่องปิดกั้น (Across Barriers) ความดันอากาศจะก่อให้เกิด การไหลของอากาศในช่องว่างเล็กๆ ณ บริเวณรอบๆประตูที่ถูกปิด และช่องแคบอันเป็นผลจากการก่อสร้างช่องว่างเล็กๆเหล่านี้จะช่วยป้องกันการไหลย้อนกลับของควัน (Smoke Backflows) ผ่านช่องเหล่านี้ได้แสดงในภาพที่ 2

 

ภาพที่ 2 การควบคุมควันด้วยระบบความดันอากาศ

ที่มา: Klote (1995) 

หากเปิดประตูที่เครื่องปิดกั้นออก อากาศก็จะไหลผ่านประตูที่เปิด และถ้าความเร็วของอากาศน้อยเกินไปควันก็จะเคลื่อนที่ย้อนทวนทิศทางการไหลของอากาศเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยหรือเส้นทางหนีภัยเช่นบันไดหนีไฟได้แสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ความเร็วของอากาศน้อยเกินไปควันก็จะเคลื่อนที่ย้อนทวนทิศทางการไหลของอากาศ

ที่มา: Klote (1995) 

การไหลย้อนกลับของควันสามารถป้องกันได้ ถ้าความเร็วของลมสูงมากเพียงพอและขนาดความเร็วของลมที่สามารถป้องกันการไหลย้อนกลับของควันได้ จะขึ้นอยู่กับอัตราการปล่อยพลังงานของการเผาไหม้เชื้อเพลิงนั้น

การไหลผ่านช่องเปิด (Vent Flows)

เมื่อเพลิงปล่อยความร้อนออกมาก๊าซร้อนจะมีการขยายตัว การขยายตัวของก๊าซร้อนจะผลักดันให้ก๊าซบางส่วนเคลื่อนที่ออกจากห้องได้ ในห้องที่เกิดอัคคีภัยช่องเปิด อาจเป็นประตูหน้าต่าง และ ท่อระบายอากาศที่ช่วยให้ก๊าซร้อนไหลผ่านแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆโดยทั่วไปห้องในอาคารส่วนมากประตูหน้าต่างจะปิดหมด ก๊าซก็จะไหลซึมออกจากช่องว่างแคบๆ รอบประตู หน้าต่างที่ปิด หรือจากช่องโหว่ที่วางท่อและเดินสายไฟภายในอาคารได้ด้วยเช่นกัน หากห้องถูกปิดกั้นอย่างสนิทไม่มีช่องเปิดใดๆ การเกิดเพลิงไหม้ขนาดเล็กก็สามารถเพิ่มความกดดันในห้องให้สูงมากขึ้นจนทำให้หน้าต่างประตูและผนังพังได้ การเคลื่อนที่ของก๊าซหรือควันนั้นจะต้องอาศัยปัจจัย 2 อย่างคือ ความกดดันของก๊าซ (Gas Pressure) และแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) แรงโน้มถ่วงของโลกจะผลักดันในแนวตั้ง โดยปกติแล้วจะทำให้ก๊าซไหลผ่านช่องว่างที่พื้นและเพดานเท่านั้น การไหลของก๊าซที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการไหลแบบลอยตัว (Buoyant Flow) ซึ่งการเกิดความกดดันที่แตกต่างกัน ของไหลไม่ว่าจะเป็นของเหลวหรือก๊าซจะถูกผลักดันให้ไหลผ่านช่องเปิด 

วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการระบายควันและก๊าซร้อน

  • เพื่ออำนวยความสะดวกในการหนีภัยของผู้อาศัยในอาคาร โดยการจำกัดการแพร่กระจายของควันและก๊าซร้อนไม่ให้เข้าสู่เส้นทางหนีภั
  • เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการดับเพลิงโดยช่วยให้พนักงานดับเพลิงเข้าสู่อาคารและสามารถมองเห็นฐานเพลิงได้
  • เพื่อลดความเสียหายอันเกิดจากควันและก๊าซร้อน

ดังนั้นถ้าหากอาคารสำนักงานต่างๆมีระบบควบคุมควันไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถป้องกันและลดอันตรายจากการเสียชีวิตของพนักงานหรือเจ้าที่ที่เกิดจากควันไฟในกรณีของการเกิดเหตุอัคคีภัยลงได้ แต่ถ้าหากระบบควบคุมการถ่ายเทควันหรือระบบควบคุมควันไม่มีประสิทธิภาพ จะทำให้ผู้อยู่ในเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยเกิดการสำลักควันจนเสียชีวิตอีกกรณีหนึ่งก็เป็นได้

 

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด (JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.) ประกอบธุรกิจให้บริการทางด้านวิศวกรรมงานป้องกันอัคคีภัยแบบครบวงจร ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการออกแบบ ติดตั้งระบบดับเพลิง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ รวมไปถึงทดสอบตรวจเช็คระบบดับเพลิง พร้อมด้วยบริการบำรุงรักษาหลังการขาย ซึ่งได้แก่ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System), ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic sprinkler system), ระบบท่อยืนสายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose System), ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยก๊าซ (Fire Suppression System: CO2, NOVEC TM 1230, FM200), ระบบดับเพลิงอัตโนมัติด้วยโฟม (Foam Sprinkler System), ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)  เป็นต้น  

ยินดีให้คำปรึกษา สำหรับอาคาร โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความต้องการติดตั้งระบบดับเพลิง ที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามมาตรฐาน มุ่งเน้นรูปแบบการทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดในทุกๆขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การออกแบบระบบดับเพลิงเพื่อวางงบประมาณ ติดตั้งระบบจนกระทั่งการทดสอบระบบเพื่อส่งมอบงาน โดยคัดสรรสินค้าและระบบดับเพลิงที่มีคุณภาพภายใต้มาตรฐานสากล (NFPA) ควบคู่ไปกับ หลักกฎหมาย และข้อบังคับภายในประเทศ เพราะความปลอดภัยของท่านคือสิ่งที่เราคำนึงถึงมากที่สุด สนใจโปรดติดต่อ

บริษัท จัดเต็ม วิศวกรรม จำกัด
JUDTEM ENGINEERING CO., LTD.
50/75 หมู่ที่ 2 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
โทร : 090-356-0259, 089-766-7920
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.judtem-engineering.com 

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Thursday, 21 May 2020 09:55
พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Author : เกาะติดข่าวสารความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่ ยาง การประกันภัย มอเตอร์โชว์ นวัตกรรมยานยนต์ และทิศทางในอนาคตของวงการยานยนต์

Latest from พงษ์ธีระ เจียรสกุล

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

Zoomlion ประเทศไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์งานเหมืองครบวงจร ชูการบริการหลังการขายที่เข้าใจลูกค้ายิ่งกว่าเดิม

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM