Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
STG-Chemical & Paints-Strip-Head

เทรนด์สินค้าอีพ็อกซี่เรซิ่น ความต้องการ Semi-Conductor พุ่ง เอื้อโอกาสสร้างโรงงานใหม่

แนวโน้มความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นสำหรับผลิตเป็นวัสดุเคลือบเซมิคอนดัคเตอร์และแผ่นกระดานเคลือบยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเซมิคอนดัคเตอร์ที่มีความก้าวหน้าในการผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กลงและ IoT นั้น ก่อให้เกิดความต้องการอีพ็อกซี่เรซิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจีนได้กระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถตั้งโรงงานภายใต้ความร่วมมือของ SMIC และ Fujian Jinhua Integrated Circuit ภายในปี 2018 ผู้เกี่ยวข้องมองว่า “นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะส่งเสริมการทำธุรกิจกับผู้ผลิตจีน นอกเหนือจากบริษัทในชาติอื่น ๆ เช่น อินเทลของสหรัฐฯ ซัมซุงของเกาหลีใต้ และ TSMC ของไต้หวัน”

สำหรับความสำคัญของอีพ็อกซี่เรซิ่นนั้น นับว่าเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมากจากการนำไปใช้ในเซมิคอนดัคเตอร์ของสมาร์ทโฟน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าในยานยนต์ ซึ่งในตลาดจีน เกาหลีใต้ และไต้หวันมีการแข่งขันที่รุนแรง และบริษัทต่าง ๆ ก็มีกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเพื่อหาจุดยืนให้กับตน

ท่ามกลางการทะยานตัวของราคาน้ำมันดิบ ทำให้เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนที่ผ่านมามีการขึ้นราคาของอีพ็อกซี่เรซิ่นหลังจากที่หยุดนิ่งมา 4 ปี ทางผู้รับผิดชอบของผู้ผลิตรายใหญ่ได้เปิดเผยว่า “ได้รับความเข้าใจจากทางลูกค้า และราคาใหม่นี้ก็ได้รับการพิจารณาและยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ

ในส่วนงานวิศวกรรมโยธานั้น การฟื้นฟูเมืองหลวงกรุงโตเกียวเพื่อรองรับโตเกียวโอลิมปิคและพาราลิมปิคนั้นก็เป็นดั่งเชื้อไฟที่ดี ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา ส่งผลให้คาดการณ์ได้ว่าจะมีการเติบโตอีก 3% แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการจะเข้าร่วมการแข่งขันในภาคสินค้าทั่วไป ทั้งในด้านกำลังผลิตและราคากับบริษัทต่างๆ นั้นยังเป็นไปในทางลบอยู่ ต่อให้มีโครงสร้างพื้นฐานเหมือนกัน “ความต้องการก็จะมุ่งไปยังสินค้าคุณภาพเสมอ แม้จะเป็นแค่งานซ่อมบำรุงก็ตาม

หากอ้างอิงจากสถิติการผลิตโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (ข้อมูลทุติยภูมิ) แล้ว จะพบว่าปริมาณการผลิตในเดือนกรกฎาคมลดลง 5% หรือ 10,341 ตันหลังจากไม่ตกลงมา 2 เดือน ส่วนปริมาณการขายในเดือนเดียวกันนั้นลดลง 9.1% คิดเป็น 9,985 ตัน ส่วนมูลค่าการขายนั้น ลดลง 9.2% คิดเป็นมูลค่าถึง 4,724,104,000 เยน และมีจำนวนคงเหลือถึง 3.3% หรือ 16,768 ตัน

อย่างไรก็ตาม ในเดือนสิงหาคม (ข้อมูลปฐมภูมิ) ปริมาณการผลิตลดลง 5.5% หรือ 9,777 ตัน ปริมาณการขายมากขึ้น 8.8% หรือ 10,868 ตัน และจำนวนคงเหลือลดลง 0.6% หรือ 16,701 ตัน

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 12:47
รสริน พัชรโยธิน

Author : ขาลุย นักข่าวภาคสนาม เกาะติดข่าวสารด้าน Manufacturing ทั้งอุสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ สี เคมีภัณฑ์ กระดาษ พลาสติก แร่และโลหะ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักร และการก่อสร้างต่างๆ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM