Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้เทรนด์อุตฯชิ้นส่วนตั้งรับรถอีวี

อุตสาหกรรมยานยนต์ถือเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และทราบกันดีว่าทิศทางแนวโน้มของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเครื่องยนต์ สันดาปภายในไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV รวมทั้งยานยนต์ไร้คนขับ

ดังนั้น การตั้งรับและการปรับตัวกลุ่มผู้ผลิตในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์จะปรับตัวและตั้งรับอย่างไรนั้น วันนี้ผู้บริหารสาวมากความสามารถ “ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ” รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโต พาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่เมืองไทย สะท้อนมุมมองในงานเสวนาเกี่ยวกับหัวข้อ Transformation : เกมแห่งอนาคต ในงานสัมมนาแห่งปี THAILAND 2018 จุดเปลี่ยนและความท้าทาย จัดโดยหนังสือพิมพ์ “ประชาชาติธุรกิจ” เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ที่ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

“ชนาพรรณ” กล่าวว่า ถ้าจะพูดถึงเกมแห่งโลกในอนาคต…ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในวันนี้ คงจะพูดถึงเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจาก “รถยนต์ไฟฟ้า”

ก่อนจะพูดเรื่องของอนาคตนั้น เราต้องมองภาพในปัจจุบันก่อน

รู้จักรถยนต์ประเภทต่าง ๆ

ประเภทรถที่เรามีในปัจจุบัน คือ 1 กลุ่มรถที่พึ่งพาเครื่องยนต์เป็นหลัก หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ (Internal Combustion Engine : ICE) 2.เครื่องยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicles : HEV) หรือรถที่มีทั้งเครื่องยนต์และแบตเตอรี่อยู่ในคันเดียวและสลับการใช้งาน 3.ปลั๊ก-อินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicles : PHEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่เหมือนกับรถยนต์ไฮบริด เพียงแต่ว่ามีสายสำหรับการชาร์จไฟ

4.รถไฟฟ้า (Battery Electric Vehicles : BEV) ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ไม่มีเครื่องยนต์แล้ว และรถยนต์เทสล่า ทุกรุ่นอยู่ในกลุ่มนี้ ก็อยู่ในรถกลุ่มนี้แล้ว นิสสัน ลีฟ ก็คือรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในโลกสำหรับรถยนต์กลุ่มนี้ และมิตซูบิชิ ไอ-มีฟ ก็อยู่ในกลุ่มนี้

5.รถยนต์พลังงานไฮโดรเจนในการขับเคลื่อน หรือ (Fuel Cell Electric Vehicles : FCEV) ซึ่งค่ายรถยนต์ที่สนใจจะเป็นเฉพาะค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่น คือ โตโยต้า และฮอนด้า

 

ไฮบริดตัวเชื่อมเพื่อส่งผ่าน

ส่วนกลุ่มประเทศที่มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายแล้ว จากข้อมูลการเก็บสถิติ ระหว่างปี 2553-2559 จะเห็นว่า กลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งอังกฤษ, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, เยอรมนี จะเป็นกลุ่มประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ ปลั๊ก-อิน ไฮบริด มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ส่วนกลุ่มประเทศที่นิยมใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากกว่ารถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด ได้แก่ จีน, นอร์เวย์, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอื่น ๆ ขณะที่อเมริกาและกลุ่มประเทศอื่น ๆ นั้น สัดส่วนการใช้รถยนต์ระหว่าง 2 ประเภท ยังก้ำกึ่งและบอกไม่ได้ว่าจะเลือกไปในทิศทางใด

จากข้อสิ่งสำคัญที่สุด คือนโยบายของรัฐบาลมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะกระตุ้นให้รู้ว่าประชาชนควรจะเลือกใช้พลังงานประเภทใด เช่น จีน ชัดเจนจะไปที่รถยนต์ไฟฟ้าเลยไม่ใช่ไฮบริด ดังนั้นสัดส่วนที่ออกมาจึงเป็นรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า

แต่ส่วนที่อยากให้จับตามองคือกลุ่มประเทศอื่น ๆ เฉพาะปี 2559 มียอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ใช่กลุ่มประเทศเหล่านี้ทั่วโลกมีเพียง 50,000 คันเท่านั้น บ่งบอกว่าการส่งผ่านระหว่างการใช้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ ไปสู่รถยนต์ไฟฟ้านั้น จะเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด หรือว่าจะมีเครื่องยนต์ไฮบริดมาเป็นตัวส่งผ่านหรือเป็นตัวคั่นกลาง

สำหรับประเทศไทยเท่าที่ดูจากนโยบายของรัฐบาล และค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ก็ดี เชื่อว่า จะมีการส่งผ่านโดยไฮบริด

ข้อมูลชี้รถยนต์ไฟฟ้ามาแน่

การที่เราจะทรานส์ฟอร์มเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกของรถยนต์ไฟฟ้านั้นมีตัวเลขที่น่าสนใจ จากผลสำรวจ 58% ของคนที่ได้รับการสำรวจเมื่อปี 2558 นั้นอยากที่จะลองนั่งรถยนต์แบบที่สามารถขับขี่อัตโนมัติ โดยไม่มีคนขับ ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2558 อยู่ที่ 746,000 คัน เท่านั้น ซึ่งต้องยอมรับว่าข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นมาเร็วมาก 2 ปีที่แล้ว ข้อมูลและยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ยังน้อยมากสำหรับคนทั่วไปอยู่ แต่ว่าคนเกินครึ่งนั้นต้องการที่จะทดลองนั่ง

ดังนั้นคาดการณ์ตัวเลขยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2583 ทั่วโลกจะมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าถึง 65 ล้านคันทั่วโลก ถือเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญมาก เนื่องจากยอดขายรถยนต์ทุกประเภทปัจจุบันมี 90 ล้านคัน แปลว่าใน 20 ปีข้างหน้ายอดตรงนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบจะ 100% เป็น 60 ล้านคัน และ 90 ล้านคัน จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า นั่นแปลว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมาแน่นอน

แรงขับให้เกิดขึ้นจริงไม่ใช่แค่ฝัน

มุมมองที่จะทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นจริง 1.การส่งเสริมของรัฐบาล การให้สิทธิประโยชน์ มาตรการต่าง ๆ เช่น อังกฤษกับฝรั่งเศส ชัดเจนแล้วว่าจะห้ามขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปี 2583 นั่นแปลว่าคนที่ทำเฉย ๆ จะไม่ได้รับอะไรจากรัฐบาล คนที่ไม่ทำตามจะมีบทลงโทษ มีความผิด ในขณะที่อีกหลาย ๆ ประเทศเลือกใช้การให้รางวัลแทนบทลงโทษ เช่น ชักชวนผู้ผลิตมาลงทุน ชักชวนให้คนใช้

เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า ประเทศที่ใช้นโยบายการควบคุมและการลงโทษจะเห็นผลทางการเติบโตของรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า นโยบายที่จะทำให้คนใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้ โดยที่รัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องสนับสนุน หรือช่วยเหลือผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้ใช้งาน เป็นตัวเงิน สิ่งแรกที่ง่าย ๆ เลย เช่นถ้าคุณใช้รถยนต์ไฟฟ้า สามารถวิ่งในบัสเลนได้ ก็ไม่ต้องเผชิญปัญหารถติด, ใจกลางกรุงลอนดอนซึ่งรถติดมาก ถ้าเราเข้าไปในเขตนั้นจะต้องเสียภาษีเป็นค่าใช้ถนน แต่สำหรับคนใช้รถไฟฟ้าวิ่งเข้าไปไม่ต้องเสียภาษี ถัดมาเป็นการส่งเสริมซื้อแบบฟลีต

อาทิ หน่วยงานของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มปริมาณรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณมาก และการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น ตำรวจของแคลิฟอร์เนีย เลือกซื้อรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ยี่ห้อซีโร่ มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ขนาดตำรวจยังใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในการจับผู้ร้าย ดังนั้นรถจะต้องมีความเร็ว แรง และเสถียรพอสมควร หรืออีกตัวอย่างในจีนจะส่งเงินสนับสนุน 1.2 พันล้านในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาของคนที่ทำอีโคซิสเต็มทั้งหมด โดยมีเป้าหมายให้จุดชาร์จ 5 ล้านคัน ในปี 2563 และช่องจอดพิเศษให้กับที่จอดรถยนต์ไฟฟ้า

สร้างมาตรฐานเดียวกัน

การลงทุนในเรื่องระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับต่าง ๆ การกำหนดมาตรฐานของหัวชาร์จไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ใช้ไฟสูง กลาง ต่ำ มีไฟกี่ประเภท รวมทั้งจุดมาตรฐานการจ่ายไฟ ให้เป็นมาตรฐานจากนั้นไปสู่สเต็ปที่ 3 จุดร่วมไฟแต่ละจุดจะเชื่อมไปสู่จุดจ่ายไฟหลักจากอาคาร บ้านเรือน หรือท้องถนนนั้น จะรักษาบาลานซ์อย่างไร เนื่องจากรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีการชาร์จในช่วงเวลาเดียวจากสถิติ คือช่วง 20.00-06.00 น. ไฟบ้านปกติใช้เวลาชาร์จราว ๆ 6 ชั่วโมง ต้องมาดูว่ากระแสที่ใช้จะเป็นอย่างไร มาตรฐานไฟของตัวรถไฟฟ้าในปัจจุบันไม่มีมาตรฐาน เนื่องจากต่างคนต่างทำ ของแต่ละประเทศ ซึ่งเพิ่งจะเริ่มมีมาตรฐานใหม่ออกมา เป็นมาตรฐานไฟในรถเรียกว่ามาตรฐาน CCS แต่ก็ยังมีความเชื่อมั่นว่าถ้ารถไฟฟ้ามีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการส่งออกไปยังทั่วโลกได้ด้วยยังไม่นับถึงแบตเตอรี่ ที่วันนี้รีไซเคิลได้ยากมาก และมีต้นทุนค่อนข้างสูง

ดังนั้นผู้ผลิตแบตเตอรี่ จึงบอกว่าจะช่วยได้มาก หากมีการตั้งมาตรฐาน การออกแบบไฟฟ้า และแบตเตอรี่ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบแบตเตอรี่และไฟฟ้า รวมถึงทำต้นทุนให้ต่ำลง ถ้าแบตเตอรี่ มีราคาลดลงจะทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่สามารถจับต้องได้ง่ายมากขึ้น อีกอย่างคือ มาตรฐานรถยนต์ ออโตเมชั่น หลายคนไม่ทราบว่ารถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานเหมือนกันทั่วโลกคือ มาตรฐาน 5 ระดับ

ปัจจุบันเราอยู่ในระดับที่ 2 แต่ระดับที่ 5 นั้นจะออกมาราวปี 2563 ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่า แต่ละค่ายจะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าจะหลังปี 2563 ทั้งนั้นทำให้เชื่อได้ว่าค่ายรถยนต์ต่างรอเรื่องกฎระเบียบตัวนี้อยู่ คนทั่วไปมักจะพูดคำว่ารถยนต์ไฟฟ้า กับยานยนต์ไร้คนขับสลับกัน เสมือนเป็นเรื่องเดียวกัน จริง ๆ เหตุผลก็คือไม่มีค่ายรถยนต์ค่ายไหนที่พัฒนายานยนต์ไร้คนขับบนแพลตฟอร์มของเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่เข้าพัฒนาบนแพลตฟอร์มของรถยนต์ไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้น จุดปลายของถนนจึงกลายเป็นเรื่องเดียวกัน

ยันรถยนต์ไฟฟ้าไม่นานเกินรอ

สิ่งที่ถูกถามบ่อยมากคือ รถยนต์ไฟฟ้าจะทำได้จริงหรือไม่ ดูจากค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เช่น วอลโว่ ตั้งเป้า 1 ล้านคันในปี 2563, เรโนลต์-นิสสัน 1.5 ล้านคัน ในปี 2563, เทสล่า 1 ล้านคัน ในปี 2563, ฮอนด้า 1 ล้านคัน ในปี 2573 โฟล์คสวาเกน3 ล้านคันในปี 2568 และแบรนด์จีนทุกแบรนด์รวมกัน 4.52 ล้านคัน ในปี 2563 ถ้าเราพูดถึงการลงทุนที่เยอะขนาดนี้ นั่นหมายถึงการลงทุนของชิ้นส่วนที่มากมายมหาศาล ไม่นับเฉพาะค่ายรถยนต์แต่เราพูดถึงซัพพลายเชนทั้งระบบ เราพูดถึงกำลังคน มันสมอง เทคโนโลยี ไม่ต้องพูดถึงเรื่องจำนวนเงิน เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนลงทุนมากมายขนาดนี้ แล้วรถไฟฟ้าจะไม่มาได้หรือ ?

 

ซัพพลายโลกยานยนต์เปลี่ยน

การผลิตแบตเตอรี่มีแร่หลักอยู่ 2 อย่างคือ ลิเทียม และโคบอลต์ ซึ่งลิเทียมมีอยู่มากใน 3 ประเทศ คือ โบลิเวีย, ชิลี และอาร์เจนตินา ดังนั้น เมื่อรถยนต์ไม่ใช้น้ำมันแล้วความสำคัญของโลกจะเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ 3 ประเทศนี้ ดังจะเห็นได้ว่าเสียงของโอเปกในโลกนี้ไม่ค่อยดังเหมือนเมื่อก่อน

อีกสิ่งหนึ่งที่เราอาจได้เห็นเมื่อแบตเตอรี่ยังเป็นต้นทุนที่สูง ก็น่าจะมีธุรกิจใหม่คือ ลีสซิ่งแบตเตอรี่ ซึ่งถ้ามีก็จะทำให้คนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องแบกภาระเรื่องการกำจัดแบตเตอรี่ และอนาคตการเปลี่ยนแบตเตอรี่ในรถก็ง่ายเหมือนกับการเปลี่ยนถ่าน 3 เอ จุดเปลี่ยนที่จะเกิดกับอุตสาหกรรมอีกอย่างหนึ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เมื่อรถยนต์ไฟฟ้ามาก็น่าจะมีผู้ร่วมวงการได้ล้มหายจากไป เพราะชิ้นส่วนที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าจะน้อยลง หลัก ๆ คือเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย คาร์บูเรเตอร์ หัวฉีด ฯลฯ หรือไม่บางรายอาจจะต้องปรับตัว โดยหันไปผลิตให้อุตสาหกรรมอื่น ๆ ทดแทน หรือพลิกตัวไปสู่ชิ้นส่วนยานยนต์อื่น ๆ ชดเชย เช่น สายไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ มอเตอร์ไฟฟ้า

ดังนั้นเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าจะมีผู้ร่วมวงการรายใหม่ ๆ ซึ่งเป็นคนสำคัญในซัพพลายเชนมากขึ้นด้วย อีกส่วนที่ต้องคำนึงคือ น้ำหนักของตัวรถ ทุกค่ายพยายามพัฒนาทำให้มีน้ำหนักเบามากที่สุด เพราะถ้าตัวถังเบาลงจะทำให้ระยะทางวิ่งต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้งไปได้ไกลที่สุด ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนการผลิตบางส่วนรวมถึงระบบซัพพลายเชนด้วย วัตถุดิบใหม่ ผู้ที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้นั้นจะต้องปรับตัว

ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้หัวใจที่ทำให้รถขับเคลื่อนได้จะเป็นซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชั่น ซอฟต์แวร์จะมีความสำคัญที่สุด เราคงได้เห็นความร่วมมือระหว่างค่ายรถยนต์และบริษัทซอฟต์แวร์เพิ่มมากขึ้น และจะมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา

สุดท้ายธุรกิจดีลเลอร์จะถูกลดบทบาท เมื่อพัฒนาไปถึงรถยนต์ไร้คนขับ หรือคาร์แชริ่งที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของรถยนต์อีกต่อไป เพราะลูกค้าเปลี่ยนความคิดและไม่ต้องการซื้อรถยนต์ จำนวนรุ่นของรถยนต์จะน้อยลง รวมทั้งออปชั่นที่มีมาให้ในรถ ลูกค้าจะเข้าโชว์รูมน้อยลง การซ่อมบำรุงรักษาจะน้อยมาก เนื่องจากเป็นระบบซอฟต์แวร์ การเกิดอุบัติเหตุการชนจะลดลง และบุคลากรในอุตสาหกรรมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะน้อยลง เปลี่ยนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์มากกว่า

และนี่คือสิ่งที่จะเปลี่ยนไปในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ “ชนาพรรณ” เชื่อว่าเราจะได้เห็น new normal ของอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ในอีกไม่นานเกินรอ

Rate this item
(2 votes)
Last modified on Friday, 09 November 2018 18:51

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

โครงการการพัฒนาระบบควบคุมการยิงเพื่อการดำรงสภาพยุทโรปกรณ์ ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ขนาด 40 มิลลิเมตร แอล 70

Double A เผยกำไรโตต่อเนื่อง 3 ไตรมาสแรก พุ่งขึ้นกว่า 2.5 เท่า เดินหน้าสู่ Net Zero ด้วย ESG ในปี 2050 วางโรดแมป ขับเคลื่อนธุรกิจ ลดโลกร้อน สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM