Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

น้ำตาลและอ้อยตะวันออก รับรางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น 2563 ต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน

บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด(มหาชน) ได้รางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น ประจำปี 2563 และรางวัลบริษัทน้ำตาลที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน (ที่ 4 จากซ้าย), นายสุขกาญจน์ วัธนเวคิน (ที่ 3 จากซ้าย), นายประกอบ คณูวัฒนา (ที่ 2 จากซ้าย) คณะกรรมการบริการ ES GROUP ถ่ายรูปร่วมกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม ในงานมอบรางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น ประจำปี 2563

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด(มหาชน) และ นายสุขกาญจน์ วัธนเวคิน (กรรมการผู้จัดการใหญ่) และนายประกอบ คณูวัฒนา กรรมการบริหารและ ผู้อำนวยการโรงงานฯ เข้าร่วมงานรับมอบรางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น ประจำปี 2563 และรางวัลบริษัทน้ำตาลที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้มอบรางวัลอันทรงเกียรติในครั้งนี้ ทั้งนี้โรงงานน้ำตาลของบริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 1

ด้าน นายกิตติศักดิ์ วัธนเวคิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาล ด้วยสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยยึดหลักแนวคิด Fully Integrated System ด้วยการนำผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายทุกส่วนกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร

ระบบธุรกิจวงจรสมบูรณ์ของ ES GROUP ได้แก่ ธุรกิจโรงงานน้ำตาล ธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอทานอล ก๊าซชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี โดยให้มีส่วนเหลือทิ้งเป็นศูนย์ หรือ Zero-waste Discharge Systems กระบวนการเกี่ยวเนื่องเริ่มจากการนำชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยจากโรงงานน้ำตาล รวมถึงน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต รวมถึงก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการผลิตเอทานอล ทั้งหมดนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เหลือเป็นกากก็นำไปผลิตเป็นปุ๋ย จึงไม่มีส่วนใดเหลือทิ้งเลย

ชานอ้อยที่ผ่านกระบวนการหีบอ้อยจากกระบวนการผลิตน้ำตาล จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้นำกากน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการหีบอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง อีกทั้งนำน้ำกากส่าที่มาจากการขั้นตอนการผลิตเอทานอลมาปรับสภาพเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ และลดต้นทุนด้านเชื้อเพลิง รวมทั้งนำน้ำที่ออกจากการผลิตก๊าซชีวภาพและกากหม้อกรองที่มาจากการผลิตน้ำตาลมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เคมี และวัสดุปรับปรุงดิน เพื่อจำหน่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมของบริษัทฯ ทำให้ บมจ.อ้อยและน้ำตาลตะวันออก สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการกระบวนการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย

ระบบบำบัดน้ำเสียที่ดีมีมาตรฐานสูงของบริษัท เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รับรางวัลบริษัทน้ำตาลที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน 

บริษัท น้ำตาลและอ้อยตะวันออก จำกัด(มหาชน) หรือ ESC เดิมดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้บริษัท น้ำตาลตะวันออก จำกัด (ES) ซึ่งจดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2502 ณ ปัจจุบัน ESC ดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายเป็นหลัก และดำเนินธุรกิจที่นำผลิตภัณฑ์พลอยได้ จากการผลิตน้ำตาลทราย มาทำให้เป็นประโยชน์ อาทิเช่น ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเอทานอล ธุรกิจผลิตและจำหน่ายก๊าซชีวภาพ และธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ย

โดยบริษัทฯมุ่งเน้นในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ได้แก่ น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง (Very High Polarization Sugar -- VHP) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นหนึ่งในโรงงานน้ำตาลเพียง 8 แห่งที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน Bonsucro อีกด้วย ทั้งนี้ น้ำตาลที่มีคุณภาพสูงช่วยทำให้บริษัทได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกทั้งยังช่วยดึงดูดลูกค้าเพิ่มมากขึ้น บริษัทเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ส่วนโรงงานผลิตน้ำตาลอื่นๆ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี เนื่องจากบริษัทเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว บริษัทจึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นเพื่อให้ได้วัตถุดิบอ้อยที่เพียงพอเพื่อป้อนโรงงาน นอกจากนี้ บริษัทยังมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยอีกด้วย บริษัทให้การสนับสนุนชาวไร่อ้อยอย่างครบวงจรทั้งด้วยการให้เงินสดล่วงหน้าและสนับสนุนปุ๋ย รวมไปถึงการพัฒนาวิธีปลูกอ้อยที่มีประสิทธิภาพ การใช้ระบบชลประทานที่ก้าวหน้า ตลอดจนการสนับสนุนพันธุ์อ้อยและเครื่องมือในการเก็บเกี่ยว

บริษัทได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอ้อยและน้ำตาล เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้าและธุรกิจผลิตเอทานอลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากอ้อยอีกด้วย มีกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าโดยรวมที่ขนาด 123.6 เมกะวัตต์ บริษัทใช้กากอ้อยจากกระบวนการผลิตน้ำตาลเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพในการผลิตไฟฟ้า บริษัทจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าที่ขนาด 40 เมกะวัตต์ภายใต้โครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer -- SPP) ในขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รับซื้อไฟฟ้าที่ขนาด 11 เมกะวัตต์ภายใต้โครงการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมาก (Very Small Power Producer -- VSPP) มีกำลังการผลิตเอทานอลมากถึง 150,000 ลิตรต่อวันและมีลูกค้าเป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันรายใหญ่ในประเทศ

ด้านปริมาณอ้อยในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว 2563/2564 คาดว่าจะใกล้เคียงกับในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว 2562/2563 (ปริมาณอ้อยรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 75 ล้านตัน) ภายใต้สมมติฐานกรณีพื้นฐานของทริสเรทติ้งคาดว่าราคาน้ำตาลโลกจะอยู่ที่ประมาณ 14 เซ็นต์ต่อปอนด์ในปี 2563 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 14.5 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2564-2565 ซึ่งจะส่งผลให้รายได้ของบริษัทลดลง 21% เหลือประมาณ 5.8 พันล้านบาทในปี 2563 และ 5.9 พันล้านบาทในปี 2564 หลังจากนั้น รายได้ของบริษัทคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับในปี 2561 ที่ 8.2 พันล้านบาทในปี 2565 ทั้งนี้ กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 860 ล้านบาทในปี 2563 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 980 ล้านบาทในปี 2564 และ 1.3 พันล้านบาทในปี 2565

ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้อยู่ที่ 3.5 พันล้านบาท และ กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายอยู่ที่ 490 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 60% ของประมาณการของทั้งปี 2563 แม้ว่ารายได้จะลดลงเนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยในประเทศที่ตกต่ำและราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ลดลง อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทก็คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 15%-16% ในช่วงปีประมาณการ

ES GROUP ลงทุนติดตั้งระบบ CHUTTING & FOG CANON มาตรฐานระดับโลกในโรงงาน โดยระบบดังกล่าวทำหน้าที่สร้างหมอกและละอองน้ำเป็นฝอยรวมถึงคอนโทรลทิศทางลม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณฝุ่นและอนุมูลกลิ่น ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน

อนึ่ง ES GROUP ให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในการดำเนินกิจการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยผู้บริหารทุกระดับและพนักงานทุกคนมีปณิธานมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ข้อบังคับและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯ เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และอุบัติภัยต่าง ๆ จากการดำเนินกิจการต่อสังคมและชุมชนซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการและทบทวนแผนการทำงานต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้กลุ่มบริษัทยังตระหนักถึงลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้น้ำ โดยใช้อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่สำคัญกลุ่ม ES GROUP มุ่งปฏิบัติอย่างจริงจังและแน่วแน่ต่อการลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิตในทุกระบบการผลิตของกลุ่มน้ำตาลและอ้อยตะวันออก เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและอนาคตของลูกหลานเรา



รับข่าวสารก่อนใคร ฉับใวถึงมือคุณ
เพิ่มเราเป็นเพื่อน แอดไลน์ @610nusdc
เพิ่มเพื่อน

Rate this item
(1 Vote)
Last modified on Sunday, 26 September 2021 13:45
พาณิชย์ ชินนาค

Author : เกาะติดข่าววงการก่อสร้าง แวดวงอุตสาหกรรมหนัก เคมีภัณฑ์และพลาสติก การกลั่นน้ำมัน โรงเหล็ก การทำเหมือง การสร้างเขื่อน สนามบิน ทางรถไฟ ถนน อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทาน ฯลฯ

Latest from พาณิชย์ ชินนาค

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM