Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

เกษตรฯ ลงพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฤดูทำนา จ.อุตรดิตถ์

รมต.เกษตรฯลงพื้นที่เกี่ยวข้าวโพดในพื้นที่นำร่องอุตรดิตถ์ ชี้สำเร็จตามเป้า ผลผลิตต่อไร่เกิน 1200 กก. เกษตรกรขายข้าวโพดฝักสด กก.ละ 7-8 บาท มีกำไรหลังหักต้นทุนไร่ละ 4,555 บาท กลไกสหกรณ์ช่วยบริหารจัดการผลผลิตและเชื่อมโยงตลาดกับโรงงานอาหารสัตว์ ส่งผลทำให้ต้นทุนลดลงและราคาข้าวโพดปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดตามผลสำเร็จการดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาในพื้นที่นำร่องอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เริ่มเพาะปลูกไปเมื่อต้นเดือนกันยายน 2561 ซึ่งใช้ระยะเวลา 4 เดือนจึงเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงมือเกี่ยวฝักข้าวโพดในแปลงของเกษตรกรตัวอย่าง ก่อนจะตรวจเยี่ยมความพร้อมจุดรับซื้อผลผลิตของสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด ซึ่งมีอุปกรณ์การตลาดที่พร้อมรองรับผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่

ทั้งนี้ จากสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปีนี้ประสบกับปัญหาการขาดแคลน ขณะที่ตลาดภายในประเทศยังมีความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลทำให้ราคาผลผลิตปรับตัวสูงขึ้น

 

โดยเฉพาะผลผลิตข้าวโพดที่จะออกมาในเดือนมีนาคม คาดว่าจะมีราคารับซื้อที่สูงขึ้นและเป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้ที่กิโลกรัมละ 8-10 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ และการดำเนินโครงการได้ยึดหลักการตลาดนำการผลิต มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อสร้างความสมดุล สิ่งสำคัญคือ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรควบคู่กับการเชื่อมโยงการตลาดไปสู่ภาคเอกชน โดยใช้สหกรณ์เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ก็จะส่งผลทำให้โครงการนี้สำเร็จได้ตามเป้าหมาย

ด้าน นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้คัดเลือกอำเภอพิชัยเป็นพื้นที่นำร่องในการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังนา เนื่องจากมีสภาพพื้นที่เหมาะสมตาม Agri – Map โดยมีเกษตรกรในพื้นที่ 221 ราย และมีเกษตรกร 67 รายเพิ่งหันมาลองปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาเป็นครั้งแรกในปีนี้ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดเป็นสมาชิกสหกรณ์ 4 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านโรงหม้อ จำกัด สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านโคกหม้อ จำกัด และสหกรณ์การเกษตรพิชัย จำกัด พื้นที่เพาะปลูก 3240 ไร่ 

ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มต้นของโครงการนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ประสานความร่วมมือกับ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สมาคมผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ร่วมกันทำงานในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์สภาพดินเพื่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างละเอียด ตลอดจนได้ถ่ายทอดเทคนิคการปลูก การดูแลรักษา การลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนการตลาดกับสหกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตและเชื่อมโยงกับภาคเอกชนผู้ผลิตอาหารสัตว์เข้ามารับซื้อข้าวโพดของเกษตรกร โดยสหกรณ์จะทำหน้าที่ในการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร

นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า ผลการดำเนินงานพื้นที่นำร่องในจังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วประมาณ 3,800 ตัน สหกรณ์รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด และส่งต่อให้สหกรณ์การเกษตรเมืองตรอน จำกัด ซึ่งเป็นแม่ข่ายในการรับซื้อผลผลิตจากทั้ง 4 สหกรณ์ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพอบลดความชื้นให้อยู่ที่ 14.5% และส่งจำหน่ายให้กับบริษัท CPF และบริษัท เบทาโกร จำกัด ซึ่งราคาขณะนี้อยู่ที่กิโลกรัมละ 9.80 บาท 

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจะมีต้นทุนในการผลิตเฉลี่ย 3,810 บาท/ไร่ ซึ่งสหกรณ์จะรับซื้อข้าวโพดฝักสดจากสมาชิก ระดับความชื้น 27-30 % ราคา 7-8 บาทต่อกก. โดยเกษตรกรจะมีรายได้จากการขายข้าวโพดเฉลี่ย 8365 บาท/ไร่ และเมื่อหักต้นทุนแล้วจะมีกำไรเฉลี่ยไร่ละ 4555 บาท ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ จากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ วงเงิน 10.3 ล้านบาท เพื่อให้สหกรณ์กู้ยืมไปจัดหาปัจจัยการผลิต และรวบรวมผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ด้วย

อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงตัวอย่างความสำเร็จในแปลงนำร่อง ซึ่งเป็นของนายสมพร แตงน้อย เนื้อที่ 10 ไร่ เพาะปลูกเดือนสิงหาคม 2561 และเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.61 ขายให้กับสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด ในระดับความชื้นที่ 28% ราคา 7.20 บาท/กก. ทำให้มีรายได้ 86,400 บาท และมีกำไรเฉลี่ยไร่ละ 4,850 บาท ส่วนแปลงของนายทองเหลือ มูลนิล สมาชิกสหกรณ์ ที่ รมว.กษ. เป็นประธานในการเก็บเกี่ยวข้าวโพดในแปลงนี้ มีเนื้อที่ปลูก 3 ไร่ ลงทุนไป 11,370 บาท เริ่มเพาะปลูกเมื่อวันที่ 3 กันยายน 61 และจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จทั้งหมดในวันนี้ คาดว่าจะได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ประมาณ 1,200 กก. ความชื้นประมาณ 27% ซึ่งสหกรณ์จะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ 8 บาท ทำให้นายทองเหลือ มีรายได้ทั้งสิ้น 28,800 บาท เมื่อหักต้นทุนในการเพาะปลูกผลิต 11,370 บาท จะมีกำไร 17,430 บาท และได้กำไรเฉลี่ย 5,810 บาทต่อไร่

"ในอำเภอพิชัยซึ่งเป็นพื้นที่นำร่อง มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 221 ราย พื้นที่รวม 3,240 ไร่ ผลผลิตข้าวโพดที่ได้โดยเฉลี่ยไร่ละ 1.2 ตัน และในบางรายได้ผลผลิตสูงถึง 1.8 ตันต่อไร่ และหากขายได้ในราคากิโลกรัมละ 8 บาท จะทำให้เกษตรกรในพื้นที่นำร่องมีรายได้รวมกว่า 31 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่วางไว้ทั้งเรื่องปริมาณผลผลิตต่อไร่ คุณภาพของข้าวโพดและราคาที่รับซื้อจากเกษตรกร ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชนและสหกรณ์ในพื้นที่ ในการร่วมกันปฏิรูปภาคการเกษตร ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เพื่อช่วยดูแลและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และคาดว่าข้าวโพดจะเป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรจะเพาะปลูกได้หลังเสร็จสิ้นจากฤดูทำนา" นายพิเชษฐ์ กล่าว

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 13 January 2019 07:55
บุษบากร เลิศปกรณ์โยธา

Author : เกาะติดข่าวโรงงาน, ข่าวธุรกิจรักษาความปลอดภัย, ธุรกิจบัญชีและการตรอบสอบต่างๆ, ข่าวจากภาครัฐ, สัตว์เลี้ยง, อาหารสัตว์, เทคโนโลยีการเกษตร, ปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM