Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

กระทรวงอุตฯบุกเกาหลี ดึงต้นแบบนวัตกรรมพัฒนา SMEs ไทย

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้นำคณะผู้บริหารและสื่อมวลชน เดินทางไปศึกษาดูงานการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของเกาหลี

“สาธารณรัฐ เกาหลีใต้” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (MOU) ในด้านต่าง ๆ และเมื่อวันที่ 21-24 ก.ย. 2560 นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้นำคณะผู้บริหาร และสื่อมวลชน

เดินทางไปศึกษาดูงานการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยมุ่งเป้าที่จะหยิบยกนำโมเดลการปั้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (startup) ศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรม รวมถึงแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งหมดของเกาหลีมาสู่ประเทศไทย

ดึง “ซัมซุง” ต้นแบบนวัตกรรม

รัฐบาลเกาหลีโดยกระทรวงเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัพ (Ministry of SMEs & Startup : MSS) มีเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการใหม่ สนับสนุนวิสาหกิจขนาดเล็กอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม ซึ่ง นายพสุ โลหารชุน

อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) บอกว่า ประเทศไทยเคยลงนาม MOU กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจขนาดกลาง (Small and Medium Business Administration : SMBA) ในการจับคู่ธุรกิจ (business matching) ระหว่าง SMEs ไทย-เกาหลี รวมถึงจัดตั้ง Thai-Korea Technology Center (TKTEC) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน ผลิตภัณฑ์/กระบวนการผลิต

ขณะเดียวกัน SMBA มีความโดดเด่นในการเป็นศูนย์บ่มเพาะ (Innovation Center) ที่ไทยจะใช้เป็นต้นแบบ ตั้งศูนย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Industry Transformation Center : ITC) แห่งแรกที่กล้วยน้ำไท กรุงเทพฯ จากนั้นจะนำโมเดลดังกล่าวกระจายไปยังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่ง และจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) รวมถึงแนวคิดในการจัดตั้งกองทุนไทย-เกาหลีเพื่อสนับสนุน SMEs และเน้นแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรม การชักจูงการลงทุนจากเกาหลีใต้ให้เข้ามามีส่วนร่วมในเขตพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

นอกจากนี้ ไทยจะมีการนำ “พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมซัมซุง” (Samsung Innovation Museum : SIM) ไปเป็นต้นแบบด้านนวัตกรรมมาพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และนำข้อมูลจากสถาบันขั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี (Korea Advanced Institute of Science & Technology : KAIST) ไปใช้เป็นต้นแบบศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อโรงงานและการผลิต (Smart Factory) โดยเฉพาะการผลิตนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรขั้นสูง

ขีดเส้นดัน startup ถึงฝั่ง

สำหรับ รูปแบบการบริหารของแต่ละหน่วยงาน รัฐบาลเกาหลีจะให้เงินสนับสนุนเพื่อการพัฒนา SMEs เช่น ศูนย์บ่มเพาะ(Innovation Center) ที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ มีงบฯสนับสนุน 300,000 ล้านบาทต่อปี ในรูปแบบ coworking space ให้บริษัทเอกชนมาใช้พื้นที่ฟรี โดยจัดผู้เชี่ยวชาญให้ 1 คน ที่ต้องผ่านการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด อาจใช้นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเป็นพี่เลี้ยง โดยรัฐจะมีแผนงาน รวมถึงงบประมาณที่ให้แต่ละปี โดยกำหนดตารางการทำงานตลอดทั้งปีว่าจะต้องเสร็จสิ้นเมื่อไร และจะประเมินผลเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ ซึ่งตามสถิติพบว่า อัตราที่ SMEs เข้ามาบ่มเพาะมีโอกาสเกิดเป็น startup ถึง 80% นั่นแสดงให้เห็นว่า ทั้งรัฐและเอกชนมีความตื่นตัวที่จะนำไอเดีย มีการสร้างผลงานให้เป็นรูปธรรมจริง เพื่อนำไปสู่การขายเชิงพาณิชย์ได้

BOI รุกดึงเกาหลีลงทุนไทย

นอกจาก ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ แล้ว ไทยเองสนใจที่จะดึงนักธุรกิจเกาหลีใต้ไปลงทุนในไทยด้วย โดยนางสาววรรณนิภา พิภพไชยาสิทธิ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ด้านการลงทุน) สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุน ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (บีโอไอโซล) เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ” ว่า นักลงทุนเกาหลีขณะนี้ให้ความสนใจกับประเทศไทยมาก เนื่องจากไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ ดังนั้น บีโอไอจึงได้เริ่มปรับนโยบายเชิงรุกใหม่มาระยะหนึ่ง เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายของรัฐบาลไทย ที่ต้องการให้เกิดการลงทุนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีขั้นสูง อย่าง S-curve ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้มอบให้ที่ปรึกษาชาวเกาหลีเขียนรายชื่อบริษัทต่าง ๆ และอุตสาหกรรมในแต่ละเมืองที่น่าสนใจ รวมถึงเข้าไปสำรวจข้อมูลที่บ่งชี้ว่า นักลงทุนแต่ละรายต้องการหรือมีแผนที่จะขยายการลงทุนอะไรในประเทศไทย จากนั้นบีโอไอจะเริ่มจัดกิจกรรมเดินสายโรดโชว์ในแต่ละเมือง

ปัจจุบันสัดส่วนหรือจำนวนนักลงทุนเกาหลีที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย คาดว่ายังไม่ถึง 1,000 ราย แต่ล่าสุดการที่กลุ่มธุรกิจการค้าออนไลน์ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ แต่ไม่ได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษี และยังปลดล็อกสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติในไทย ที่สามารถให้ธุรกิจบางประเภทลงทุนได้เต็มพิกัด อย่าง อีเลฟเว่นสตรีท และบริษัทพอสโก้ ที่เข้ามาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร รวมถึงขยายโครงการใหม่ที่เคยลงทุนอยู่เดิมอย่างธุรกิจประเภทโครงสร้างงาน ก่อสร้าง

“เราโชคดีที่มีกลุ่มแฟนคลับไทยซึ่งเป็นคนเกาหลี นี่คืออีกช่องทางหนึ่งที่บีโอไอใช้ในการเจาะเข้าไปทั้งหาข้อมูล ศึกษาตลาด จึงพบว่าไทยคือประเทศที่ถูกมุ่งมาด้านการท่องเที่ยว ด้านบริการ ทำให้เรารู้ว่ามีนักลงทุนบางกลุ่มสนใจลงทุนอะไรที่ไทย”

ครึ่งปีเกาหลีลงทุนเฉียด 3 พัน ล.

จากการรายงานสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศช่วง 6 เดือนแรกปี 2560 (มกราคม-มิถุนายน) พบว่า เกาหลีใต้มียอดการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 17 โครงการ มูลค่า 2,983 ล้านบาท จากยอดทั้งหมด 612 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน คิดเป็นร้อยละ 44 ของมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้นที่ยื่นขอส่งเสริม 291,790 ล้านบาท อยู่ที่อันดับ 6 รองจากญี่ปุ่นที่ลงทุนในไทยอันดับ 1 ด้วยจำนวน 117 โครงการ มูลค่า 65,435 ล้านบาท ตามมาด้วย สิงคโปร์ 45 โครงการ มูลค่า 15,260 ล้านบาท จีน 35 โครงการ มูลค่า 7,134 ล้านบาท ฮ่องกง 13 โครงการ มูลค่า 3,346 ล้านบาท และไต้หวัน 19 โครงการ มูลค่า 3,074 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ประเทศเกาหลีใต้ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโต อย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสูง จนหลายประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐ จีน และญี่ปุ่น เริ่มหวาดหวั่น ซึ่งแหล่งข่าวในแวดวงนักลงทุนที่ได้คลุกคลีกับตลาดเกาหลีได้วิเคราะห์ถึง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจว่า ขณะนี้เกาหลีกำลังประสบภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะถูกบีบจากประเทศจีน ทั้งการกีดกันทางการค้า รวมถึงการลงทุน ทำให้เกาหลีจำเป็นต้องมองหาฐานการผลิตในประเทศใหม่ที่เหมาะสมกว่า จึงนับว่าเป็นช่วงจังหวะดีของไทย นโยบายไทยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ขณะที่รัฐบาลเกาหลีสนับสนุนการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ความลงตัวทำให้ไม่ยากที่จะเห็นการเข้ามาของนักลงทุนเกาหลี แต่ในทางกลับกัน ไทยประกาศความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ญี่ปุ่นมีความขุ่นข้องหมองใจกับเกาหลีไม่น้อย เมื่อไทยทั้งผลักทั้งดันญี่ปุ่นเต็มกำลัง แน่นอนว่าเกาหลีก็จับตามองเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นพิเศษ ทำให้นักลงทุนบางรายที่เรียกว่า “ชาตินิยม” ต้องหันไปมองการลงทุนที่ประเทศเวียดนามแทน นี่จึงไม่ใช่การค้าการลงทุน ที่รัฐบาลไทยจะมองเพียงว่า นักลงทุนชาติใดจะมาตั้งฐานการผลิต แต่ต้องมองด้วยว่านักลงทุนเหล่านั้นจะเข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีตามที่รัฐบาล ต้องการให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:34
นุสรา ฟ้าผ่องอำไพ

Author : เกาะติดข่าวเกาหลี, สุขภาพและความงาม, เครื่องสำอาง, ยา, โรงพยาบาล, สินค้าอุปโภคบริโภค ฯลฯ

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM