Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
AEC

Grab ร่วม มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เปิด ‘AI Lab’ พลิกโฉมเมืองและระบบขนส่งใน ASEAN

แกร็บ หนึ่งในผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline) ที่มีการเรียกใช้งานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เปิดตัวห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) เพื่อคิดค้นแนวทางแก้ไขระบบขนส่งในเมือง

ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป โดยห้องปฏิบัติการ แกร็บ-เอ็นยูเอส เอไอ (Grab-NUS AI) เป็นโครงการลงทุนร่วมซึ่งมีมูลค่าการลงทุนตั้งต้นที่ 6 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์  และนับเป็นการลงทุนใหญ่สำหรับการสร้างห้องปฏิบัติการ AI แห่งแรกของแกร็บ รวมถึงเป็นห้องปฏิบัติการ AI แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ลงทุนร่วมกับพันธมิตรจากภาคธุรกิจ

ห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI ซึ่งมีสถานที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ข้อมูลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS Institute of Data Science) จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนแพลตฟอร์มของแกร็บเพื่อพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหาอันซับซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลซึ่งรวบรวมจากบริการรับส่งผู้โดยสารกว่าสองพันล้านเที่ยวของแกร็บนั้นมีความสำคัญ และจะช่วยให้นักวิจัยมีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการเดินทางของผู้คนในแต่ละวันทั่วทั้งภูมิภาค และเมื่อข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ถูกนำมาผนวกเข้ากับความเชี่ยวชาญด้านงานวิจัยเอไอของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ทั้งสองฝ่ายก็จะสามารถพัฒนาแบบแผนต่าง ๆ ด้านการจราจร ตลอดจนคิดค้นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเดินทางและการใช้ชีวิตของคนในเมืองต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายแอนโทนี่ ตัน  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งแกร็บ ชี้ให้เห็นว่านับจากนี้เป็นต้นไป ข้อมูลเชิงลึกที่จะได้รับจากห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI จะสามารถสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับเมืองเช่น กรุงเทพฯ ได้อย่างไร “ข้อมูลจากแพลตฟอร์มแกร็บ สามารถนำมาใช้สร้างแบบแผนด้านการจราจรและการเดินทางของคนเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลของเราระบุได้ว่า เราสามารถร่นเวลาในการเดินทางจากตลาดประตูน้ำไปสนามบินดอนเมืองได้อย่างมีนัยสำคัญ หากเราสามารถใช้เส้นทางเดิมด้วยวิธีการที่ดีกว่า อาทิ ระบบขนส่งที่ใช้ร่วมกันได้ เช่น รถเมล์ รถไฟ บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอพ และบริการทางเดียวกันไปด้วยกัน เราจะสามารถประหยัดเวลาการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนได้ถึง 25% หรือจาก 45 นาที เหลือเพียง 34 นาที โดยแกร็บหวังว่าเราจะสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลของแต่ละประเทศในภูมิภาคนี้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI แห่งนี้มาใช้ในการร่วมแก้ไขปัญหาให้กับเมืองต่าง ๆ ได้”

ห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI จะมุ่งพัฒนาประสิทธิภาพและความเสถียรของระบบขนส่งบนแพลตฟอร์มแกร็บที่ใช้ในเมืองต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะขยายผลการวิจัยไปสู่ระดับการแก้ไขปัญหาใหญ่ ๆ ที่หลายเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญอยู่ เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด และคุณภาพการใช้ชีวิตของคนเมือง โดยทีมนักวิจัยประจำห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI จะสร้างแพลตฟอร์มเอไอที่ชาญฉลาดเพื่อรองรับระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้เองและแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล จนสามารถแปลงชุดข้อมูลมหาศาลของแกร็บ พัฒนาเป็นรูปแบบการใช้งานใหม่ ๆ ได้ โดยห้องปฏิบัติการแห่งนี้จะช่วยให้แกร็บเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้งานและพันธมิตรได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปสู่การคาดการณ์ความต้องการล่วงหน้าได้ในที่สุด

ศาสตราจารย์ ตัน เอ็ง ชี อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในการเปิดแล็บเอไอแห่งแรกที่มีความสำคัญของแกร็บครั้งนี้  ห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI นับเป็นความร่วมมือที่ยอดเยี่ยม ที่จะทำให้ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ  มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลของแกร็บ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมต่าง ๆ จากข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้คนในเอเชียและทั่วโลก นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยและนักศึกษาของเราจะมีโอกาสได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตจริง ผ่านการทำวิจัยด้านการวิเคราะห์ผลข้อมูลและเอไออีกด้วย ในอนาคตเราหวังว่าจะสามารถพัฒนานักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและนักวิจัยด้านเอไอที่มีคุณภาพ เพียบพร้อมด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสิงคโปร์และประเทศอื่น ๆ ต่อไป”

แกร็บมุ่งมั่นช่วยแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะปัญหาจราจรที่ส่งผลกระทบต่อเมืองต่าง ๆ  ที่ผ่านมาการทำงานของเราก้าวหน้าไปมาก

"โดยเรามุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านข้อมูลเชิงลึกที่สุดและมากที่สุดที่ได้จากข้อมูลนับล้านที่เกี่ยวข้องกับเส้นทาง การเดินทาง และสถานที่ที่ผู้คนสนใจ ซึ่งแล็บเอไอแห่งนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากความมหัศจรรย์ของข้อมูลเหล่านี้และระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้ได้เองของแกร็บ รวมถึงงานวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันชั้นนำระดับโลกแห่งนี้ เพื่อสร้างเครื่องมือที่รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถนำไปใช้สร้างระบบขนส่งอัจฉริยะให้เกิดขึ้นในเมืองของตนได้” นายแอนโทนี่ กล่าวสรุป

นอกจากนี้แล็บเอไอยังมีส่วนช่วยส่งเสริมศักยภาพให้กับบุคลากรที่มีความสามารถด้านเอไอของสิงคโปร์ ผ่านการฝึกอบรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกที่ลงเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board - EDB) โครงการอบรมในหลักสูตรระดับปริญญาเอกจะช่วยสร้างทักษะที่จำเป็นให้กับนักศึกษา อีกทั้งยังสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงผ่านแพลตฟอร์มของแกร็บได้อีกด้วย 

ห้องปฏิบัติการ Grab-NUS AI ตั้งอยู่ที่อาคารนวัตกรรม 4.0 ภายในวิทยาเขตเคนท์ริดจ์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประกอบด้วยทีมนักวิจัยจำนวน 28 คน ที่จะประจำการอยู่ที่แล็บเอไอแห่งนี้ เพื่อดำเนินโครงการด้านเอไอหลายโครงการด้วยกัน

เกี่ยวกับ Grab

Grab (แกร็บ) คือ แพลตฟอร์ม O2O (Online to Offline) ที่ให้บริการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของลูกค้าในการเดินทาง รับประทานอาหาร ส่งของ รวมไปถึงชำระเงินผ่านมือถือและโมบายวอลเล็ต ซึ่งได้รับการเรียกใช้งานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แกร็บ เชื่อว่าชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทุกคนควรได้รับประโยชน์จากการเข้าสู่เศรษฐกิจแบบดิจิทัล จึงได้ให้บริการที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมการเดินทาง การรับส่งอาหาร การจัดส่งพัสดุสินค้า รวมไปถึงการชำระเงินผ่านมือถือและบริการทางการเงินต่าง ๆ ในปัจจุบัน แกร็บให้บริการใน 8 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย เวียดนาม เมียนมาร์ และกัมพูชา

 

เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS)

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางทวีปเอเชีย โดยเป็นมหาวิทยาลัยสำคัญของชาติ ที่มอบวิทยาการระดับโลกในการศึกษาและการค้นคว้า โดยมุ่งเน้นด้านทัศนะและความเชี่ยวชาญในภูมิภาคเอเชีย

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ประกอบด้วยสามวิทยาเขต ซึ่งมีคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งสิ้น 17 สาขา โดยมุ่งปฏิรูประบบการศึกษาด้วยหลักสูตรรวมวิชา ที่สร้างเสริมโดยวิชาสหวิทยาการ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคณะ  นักศึกษาจำนวนกว่า 38,000 คนจากกว่า 100 ประเทศ ได้ร่วมสร้างสังคมด้วยมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ยังพยายามสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนและสร้างความแปลกใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ใช้ระบบบูรณาการและสหวิทยาการในการทำวิจัย ร่วมงานกับพันธมิตรทั้งจากภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสถาบันทางวิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความสำคัญและซับซ้อนทั้งในเอเชียและในระดับโลก นักวิจัยในคณะและวิทยาลัย สถาบันและศูนย์วิจัย 30 แห่งที่เทียบเท่าระดับมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศ (Research Centres of Excellence) ได้ทำการศึกษาหัวข้อต่างๆ นับตั้งแต่ด้านพลังงาน ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและเมือง การรักษาและป้องกันโรคที่พบบ่อยในประชากรเอเชีย พฤฒพลัง วัสดุขั้นสูง  การบริหารความเสี่ยง และเสถียรภาพของระบบการเงิน สำหรับหัวข้อการศึกษาล่าสุดที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นสำหรับงานวิจัย คือ การใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูล การวิจัยการปฏิบัติการ และความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เพื่อให้สอดคล้องกับการก้าวสู่ความเป็นชาติอัจฉริยะ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์

ที่มา : M Report

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 15:39
บงกชธร บวรปิติภูวดล

Author : เกาะติดข่าวในยุโรป

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM