Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha
JPJ_Gif3-Tech-Strip-Head

รุกตลาดด้วยบริการด้าน IoT

การใช้งาน IoT (Internet of Thing) ได้กลายเป็นคลื่นลูกใหญ่แห่งโลกอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งภายในงานแสดงเครื่องจักรกลนานาชาติแห่งยุโรป (Exposition Mondiale de la Machine-Outil, EMO) แบรนด์ชั้นนำในเครือญี่ปุ่นก็ได้ร่วมนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ภายในงานด้วย

นากานิชิ มาซาซุมิ กรรมการผู้จัดการของ Yamazaki Mazak ได้แสดงความมั่นใจต่อเทรนด์งานบริการด้าน IoT ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุโรปว่า “ยุโรปเป็นพื้นที่ที่ให้ความสนใจใน IoT มากกว่าภูมิภาคอื่นๆ” ซึ่งทางบริษัทได้ร่วมกับ Cisco Systems ประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเน็ตเวิร์ค “สมาร์ท บ็อกซ์” และนำเสนอเป็นครั้งแรกที่งานนี้

นอกจากนี้ ทางบริษัทมีแผนในการส่งทีมวิจัยไปยังประเทศอังกฤษ หวังเพิ่มประสิทธิภาพของข้อเสนอต่างๆ ทั้งบริการตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักร และซอฟท์แวร์สำหรับงานวิเคราะห์ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

ในส่วนของ JTEKT นั้น ได้เปิดตัว “TOYOPUC-AAA” อุปกรณ์สำหรับรวบรวม เก็บบันทึก และวิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องจักรเป็นครั้งแรก ซึ่งมีแผนติดตั้งอุปกรณ์นี้ให้เป็นมาตรฐานในเครื่องจักร โดยจะเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงนี้เป็นต้นไป และคาดว่าจะมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ด้านรองประธาน อิซากะ มาซาคาซุ ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของอุปกรณ์ว่า “หากไม่สามารถเก็บข้อมูลจากเครื่องจักรได้ทุกเครื่องก็ไร้ค่า” ซึ่งภายในบูธที่จัดแสดงนั้น ได้มีการสาธิตการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานของเครื่องจักรผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อแสดงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งของ IoT ที่กำลังพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวล โดยผู้จัดการของ Brother Industries คาวานาเบะ ทาสุคุได้ให้ความเห็นว่า “จำเป็นต้องมีการจัดระบบใหม่เสียก่อนว่าการเชื่อมต่อกับเครื่องจักรนั้นให้ประโยชน์อะไรบ้าง” ซึ่งทางบริษัทเองก็ได้มีการเชื่อมต่อเครื่องจักรที่ใช้กับระบบเน็ตเวิร์ค และยังแสดงความเห็นต่อท้ายว่า “ใช้ในการประเมินความเสียหายได้ดี แต่หลังจากนี้ไปจะใช้ทำอะไรได้อีก”

ซึ่งแม้ว่าจะมีความจำเป็นถึงการคาดการณ์ถึงอนาคต IoT แต่อย่างไรก็ตาม การประเมินความเสียหายและการเพิ่มความแม่นยำในการทำงานนั้นก็เป็นเรื่องหลักของ IoT ในปัจจุบัน

ถัดมาคือซอฟท์แวร์บำรุงรักษาระบบของ Okuma Corporation ซึ่งติดตั้งระบบการตรวจสอบด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เอาไว้ ซึ่งเมื่อเกิดการทำงานผิดปกติ AI จะเก็บบันทึกและจะเพิ่มความแม่นยำในการทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่การคาดการณ์ความเสียหายล่วงหน้าได้

อีกทั้งภายในบูธจัดแสดง ยังมีการพนักงานที่เป็นล่ามแปลได้หลายภาษามาคอยอำนวยความสะดวกคู่กับผู้บรรยายเรื่องซอฟท์แวร์ ผู้จัดการอิเอคิ จุน ได้เน้นถึงข้อดี คือ “ความสามารถในการลดเวลาที่เครื่องจักรต้องหยุดทำงาน”

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอื่นๆ ได้นำผลงานด้าน IoT ที่พัฒนาขึ้น ไปร่วมจัดแสดงในงาน EMO ครั้งนี้

เนื่องจากเยอรมันเป็นชาติที่นำเสนอนโยบายอุตสาหกรรม “อิสดัสทรี 4.0”  จึงส่งผลให้ยุโรปเป็นพื้นที่ที่มีความสนใจและยอมรับ IoT เป็นอย่างมาก และคาดว่าการแข่งขันทางด้าน IoT ระหว่างบริษัทต่างๆ ในพื้นที่นี้จะรุนแรงขึ้นในอนาคต

(Hanover: โทมุระ จิยูกิ, มุคาสะ โทโมคาซุ, นิชิซาวะ เรียว)

ที่มา : Nikkan Kogyo Shimbun

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 23 October 2018 11:25
อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Author : เกาะติดข่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive อากาศยาน อิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์ เครื่องจักร การแปรรูปโลหะ วิศวกรรม เครื่องมือแพทย์ และหุ่นยนต์

รวมถึงเทคโนโลยีในด้านนั้นๆ

Latest from อดิพันธ์ อภิชาติทนงกุล

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  
X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM