Login to your account

Username *
Password *
Remember Me

Create an account

Fields marked with an asterisk (*) are required.
Name *
Username *
Password *
Verify password *
Email *
Verify email *
Captcha *
Reload Captcha

Graforce เปิดตัวเทคโนโลยี Plasmalysis เพื่อการเดินทางและระบบคมนาคมแบบคาร์บอนต่ำ

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Climate Change Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ (COP24) นั้น ทำให้ประชาคมนานาชาติได้ร่วมกันอภิปรายเพื่อหาแนวทางในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ในขณะที่การคมนาคมถือเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงราว 1 ใน 5 ของปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ 



Graforce บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติเยอรมัน ได้พัฒนาเทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ไม่ส่งผลเสียต่อสภาพภูมิอากาศ โดยผลิตจากน้ำเสียภาคอุตสาหกรรมและพลังงานหมุนเวียน ด้วยต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนที่ต่ำ แหล่งน้ำเสียที่หลากหลาย และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดน้อยลงอย่างมาก เทคโนโลยี Plasmalysis (พลาสมาไลซิส) ของ Graforce จึงมีส่วนช่วยในการเข้ามาแทนที่เชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้เป็นอย่างดี



Dr. Jens Hanke ผู้ก่อตั้งบริษัท Graforce กล่าวว่า "เรายังอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศอยู่มาก

ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องคว้าทุกโอกาสที่ผ่านเข้ามา เชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์อาจเป็นหนทางสำคัญในการปกป้องสภาพอากาศ โดยเฉพาะในภาคการคมนาคมขนส่ง

 

น้ำมันเบนซิน ดีเซล ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันก๊าด : การผลิตเชื้อเพลิงที่ไม่ส่งผลเสียต่อสภาพอากาศเป็นจริงได้

Graforce ได้ดำเนินการเพื่ออนาคตของการจัดหาพลังงานมาตั้งแต่ปี 2553 ในโรงงาน Power2X ของบริษัท Graforce ได้ผลิตไฮโดรเจนโดยใช้กระบวนการพลาสมาไลซิสที่พัฒนาขึ้นเอง และต่างจากกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสซึ่งต้องใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์ กระบวนการพลาสมาไลซิสสามารถผลิตไฮโดรเจนจากสารประกอบเคมีพลังงานสูงที่อยู่ในน้ำเสีย กระบวนการดังกล่าวช่วยลดต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงลงได้ถึงครึ่งหนึ่งและให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ



แรงตึงความถี่สูง ซึ่งเรียกว่า "พลาสมา" นั้น สร้างขึ้นจากพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมเหนือน้ำเสีย ซึ่งน้ำเสียดังกล่าวเกิดจากกระบวนการผลิตในโรงงานก๊าซชีวภาพ โรงบำบัดน้ำเสีย หรือโรงงานอุตสาหกรรม โดยพลาสมาจะแยกคาร์บอนและสารประกอบไนโตรเจน (สารยูเรีย กรดอะมิโน ไนเตรท และแอมโมเนียม) ที่อยู่ในน้ำให้เป็นอะตอมเดี่ยวซึ่งจะเกาะยึดกันใหม่ กระบวนการดังกล่าวจึงสร้างไฮโดรเจนขึ้นมาและสามารถผลิตก๊าซคาร์บอน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซมีเทนได้ตามความต้องการหรือข้อกำหนด



ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอน และไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจะสามารถนำมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงของเหลวสังเคราะห์โดยใช้กระบวนการฟิสเชอร์โทรป (Fischer-Tropsch) ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง เชื้อเพลิงดังกล่าวจะช่วยให้การขนส่งทางไกล การบิน และการขนส่งสินค้าเป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศมากขึ้นโดยไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขหรือมีข้อจำกัดใดๆ



การใช้ก๊าซมีเทนหรือการผสมไฮโดรเจนกับก๊าซชีวภาพจะก่อให้เกิด HCNG ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานพาหนะที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอน ไฮโดรคาร์บอน ไนโตรเจนออกไซด์) ได้ 20 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นของเสียที่คงเหลืออยู่จะมีเพียงน้ำบริสุทธิ์และออกซิเจนเท่านั้น ในการนี้ บริษัท Graforce ยังได้ร่วมมือกับบริษัทผลิตรถยนต์อย่าง Audi บริษัทสาธารณูปโภค Berliner Wasserbetriebe รวมทั้งบริษัทอื่นๆ

 

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Tuesday, 11 December 2018 08:59
ปองภพ เจนกิจโสภณ

Author : เกาะติดข่าวเทคโนโลยีและอิเลคทรอนิกส์, ทุกเรื่องราว IT, Software และ Gadget, IoT, AI, EV, วิทยาศาสตร์, โทรคมนาคม, Artificial Intelligence, Machine Learning ฯลฯ

Related items

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.


  

Tweet Feed

Post Gallery

“คุณภาพของงาน การบริการที่ดี ตอบสนองทันใจ” คือหัวใจความสำเร็จของบริษัท พรีเมี่ยม ดีไซน์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

เลือกผู้รับเหมาอย่างไรให้ได้งานสำเร็จ

ESC ปิดหีบสำเร็จตามเป้า มุ่งรณรงค์ลดการเผาอ้อย ชูแนวคิด Full Integrated System เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

Zoomlion ประเทศไทยฉลองครบรอบ 9 ปี เปิดตัวศูนย์บริการสาขานครสวรรค์อย่างยิ่งใหญ่!

ซีพี ติดอันดับความยั่งยืนโลก ระดับ “Top 5 %” จาก S&P Global ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ชูจุดเด่นเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน

STEC ปรับกลยุทธ์ “Move To The Next Chapter” มุ่งพัฒนาต่อยอด New S-Curve เน้น Backlog แสนล้าน วางนโยบายองค์กร ตอบแทนสังคม มอบอาคารชาญวีรกูลที่ 71

Thaifoods Fresh Market โตสวนกระแส ครบ 350 สาขาตามเป้า, TFG จับมือ CooperL ตั้ง TFNG ดำเนินธุรกิจฟาร์มสุกรปู่ทวดพันธุ์ ด้วยงบลงทุนกว่า 746 ล้านบาท

TTA ต่อยอดธุรกิจขนส่งทางเรือ เข้าถือหุ้น 100% "ไทแทน แทงเกอร์" รุกธุรกิจผลิตน้ำมันดิบ เข้าถือหุ้น 10.14% "แวลูร่า เอ็นเนอร์ยี่" Q3/66 กำไร 374.8 ล้านบาท

AWC เผย Q3 ลงทุน 1 หมื่นล้าน กำไรพุ่ง 1.13 พันล้าน เชื่อมั่นพลังขับเคลื่อนความยั่งยืนกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ร่วมสร้างไทยให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก

X

ลิขสิทธิ์ของ IM

ห้ามผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง จัดเผยแพร่ เรียกดึงข้อมูล บันทึก ส่งผ่าน หรือกระทำการใดๆ ที่ละเมิดสิทธิและทรัพย์สินทางปัญญาของ IM